วันอาทิตย์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

มารู้จักโรคสะเก็ดเงิน ( Psoriasis ) กันดีกว่า

 

โรคสะเก็ดเงิน

มารู้จักโรคสะเก็ดเงิน ( Psoriasis ) กันดีกว่า


ผมเคยพูดถึงเรื่องโรคสะเก็ดเงินกันไปแล้วนะครับ แต่วันนี้เรามาทำความรู้จักกับเจ้าโรคสะเก็ดเงินนี้กัน  โรคสะเก็ดเงิน ( Psoriasis )หรือโรคเรื้อนกวาง เป็น โรคเรื้อรังที่เกิดการอักเสบบนผิวหนัง โรคนี้มักไม่ได้รับความสนใจและให้ความสำคัญมากนัก รวมทั้งคนส่วนใหญ่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับโรคนี้ ทั้งๆ ที่โรคนี้ส่งผลกระทบทางด้านจิตใจต่อผู้ป่วยและคนรอบข้างเป็นอย่างมาก ส่วนใหญ่พบว่าผู้ป่วยจะมีอาการเป็นผื่นปื้นแดง มีสะเก็ดขุยหนาหลุดลอก เนื่องจากผิวหนังมีวงจรการผลัดเซลล์ผิวที่สั้นลง ปัจจุบันพบว่ามีผู้ป่วยถึงร้อยละ 3 ของประชากรโลก องค์กรอนามัยโลกได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและปัญหาของโรคสะเก็ดเงินจึงจัดตั้งให้วันที่ 29 ตุลาคมของทุกปี เป็นวันสะเก็ดเงินโลก

โรคสะเก็ดเงิน พบได้ทั้งในเด็กและผู้ป่วย ทั้งหญิงและชาย แต่ส่วนใหญ่มักเกิดในผู้ใหญ่ตั้งแต่อายุ 20-50 ปี ซึ่งอันนี้ก็ตรงกับอาการของผมเลยนะครับ ผมเริ่มเป็นโรคนี้อายุ 20 กว่าๆ สาเหตุที่แท้จริงยังไม่ทราบแน่ชัด แต่มักพบว่าจะเกิดกับผู้ป่วยที่มีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคสะเก็ดเงิน รวมถึงมีปัจจัยบางอย่างที่มากระตุ้น เช่น ความเครียด การสูบบุหรี่ การบาดเจ็บของผิวหนัง การเปลี่ยนแปลงระดับ ฮอร์โมน (ผื่นมักเริ่มเกิดในช่วงแตกเนื้อหนุ่มหรือเป็นสาว) และยาบางชนิด ผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน จึงควรหลีกเลี่ยงปัจจัยต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น

ทำไมถึงเรียกว่า “โรคสะเก็ดเงิน”?
เหตุที่เรียกโรคนี้ว่า “โรคสะเก็ดเงิน” เพราะลักษณะของผื่นในโรคนี้จะเป็นปื้นหรือตุ่มสีแดงขอบเขตชัดเจน บนผิวของผื่นผิวหนังอักเสบของโรคนี้จะมีสะเก็ดสีขาวคล้ายเงินปกคลุมอยู่ ศาสตราจารย์กิติคุณนายแพทย์สุนิตย์ เจิมสิริวัฒน์จึงให้ชื่อโรคนี้ว่า“โรคสะเก็ดเงิน” เมื่อแกะเกาสะเก็ดให้หลุดลอกออกจากผิวหนังจะเห็นจุดเลือดออกบนผิวของผื่นที่ อักเสบแดง ซึ่งเป็นลักษณะจำเพาะของโรคนี้ ผู้ป่วยบางรายอาจไม่มีตุ่มหรือปื้นแดงที่มีสะเก็ดสีขาวให้เห็นก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นกับระยะของโรค

โดยทั่วไปผื่นสะเก็ดเงินมักไม่พบที่บริเวณใบหน้า นอกจากนี้เมื่อผื่น สะเก็ดเงินหายแล้ว จะไม่มีรอยแผลเป็นหลงเหลืออยู่ สำหรับอาการของโรคสะเก็ดเงิน แบ่งออกได้เป็น 4 ชนิด ได้แก่

1.ชนิดผื่นหนา (Plaque psoriasis) เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุดประมาณ 80% ของคนไข้ โดยจะเป็นผื่นแดงหนา ขอบเขตชัด ขุยหนา สีขาวหรือสีเงินจึงได้ชื่อว่า “โรคสะเก็ดเงิน” พบบ่อยบริเวณหนังศีรษะ ลำตัว แขนขา โดยเฉพาะบริเวณ ข้อศอก และหัวเข่าซึ่งเป็นบริเวณที่มีการเสียดสี

2.ชนิดผื่นขนาดเล็ก (Guttate psoriasis) จะเป็นตุ่มแดงเล็กคล้ายหยดน้ำขนาดเล็กไม่เกิน 1 เซนติเมตร มีขุย ผู้ป่วยมักมีอายุน้อยกว่า 30 ปี และอาจมีประวัติการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนนำมาก่อน

3.ชนิดตุ่มหนอง (Pustular psoriasis) จะเป็นตุ่มหนองกระจายบนผิวหนังที่มีการอักเสบแดง ในรายที่เป็นมากอาจมีไข้ร่วมด้วย ซึ่งพบได้น้อยมาก โดยส่วนใหญ่เกิดจากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง

4.ชนิดผื่นแดงลอกทั่วตัว (Erythrodermic psoriasis) เป็นสะเก็ดเงินชนิดรุนแรง ผิวหนังมีลักษณะแดงและมีขุยลอกเกือบทั่วพื้นที่ผิวทั้งหมดของร่างกาย อาจเกิดจากการขาดยาหรือมีปัจจัยบางอย่างมากระตุ้น

นอกจากนี้ ยังพบว่ามีผู้ป่วยบางรายพบการอักเสบของข้อร่วมอยู่ด้วย พบได้ทั้งที่เป็นข้อใหญ่ และข้อเล็ก อาจเป็นข้อเดียว หรือหลายข้อก็ได้ ส่วนใหญ่การอักเสบของมือจะเกิดที่ข้อนิ้วมือ ซึ่งหากเป็นเรื้อรังจะให้เกิดการผิดรูปได้

สำหรับแนวทางการรักษาโรคสะเก็ดเงิน ขึ้นกับความรุนแรงของโรค หากมีความรุนแรงน้อย จะใช้รักษาโดยใช้ยาทา แต่หากมีความรุนแรงมาก ให้รักษาโดยใช้ยารับประทาน หรือฉายแสงอาทิตย์เทียม หรืออาจใช้ร่วมกันระหว่างยารับประทานและฉายแสงอาทิตย์เทียม ทั้งนี้แพทย์จะเป็นผู้ประเมินความเหมาะสมในการรักษาแต่ละประเภทสำหรับผู้ ป่วยแต่ละคน

1. ยาทาภายนอก มีหลายชนิด ได้แก่ ยาทาคอติโคสเตียรอยด์ น้ำมันดิน แอนทราลิน อนุพันธ์วิตามินดี และยาทากลุ่ม calcineurin inhibitor (tacrolimus, pimecrolimus) เป็นยากลุ่มใหม่ที่นำมาใช้เพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงจากยาทาคอติโค สเตียรอยด์ แต่ยังไม่แพร่หลายเนื่องจากยามีราคาแพง

2. ยารับประทาน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทยมี 3 ชนิดได้แก่ เมทโทเทรกเสท อาซิเทรติน และ ไซโคลสปอริน

3. การฉายแสงอาทิตย์เทียม เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ได้ผลดีในการรักษาสะเก็ดเงิน โดยจะใช้รังสีอัลตราไวโอเลต ซึ่งปัจจุบันที่ใช้ในการรักษาโรคสะเก็ดเงินมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ รังสีอัลตราไวโอเลต A และรังสีอัลตราไวโอเลต B

4. ยาฉีดชีวภาพ เป็นการรักษามีใช้มาประมาณ 10 ปี เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนอง หรือมีผลข้างเคียงจากการรักษา 3 ชนิดข้างต้น

การดูแลรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคสะเก็ดเงิน

สำหรับคำถามที่ผู้ป่วยและญาติมักถามแพทย์ผู้ให้การรักษาบ่อยที่สุด คือ โรคสะเก็ดเงินเป็นโรคที่รักษาให้หายขาดได้หรือไม่ คำตอบที่ผู้ป่วยและญาติ ได้รับคือ "โรคนี้ไม่หายขาด จะเป็นตลอดชีวิต หรือเป็นๆ หายๆ" ซึ่งเป็นคำตอบที่สร้างความทุกข์ทรมานจิตใจให้แก่ผู้ป่วยและญาติ เป็นอย่างมาก ผู้ป่วยที่ได้รับคำตอบเช่นนี้บางรายล้มเลิกการรักษา สิ้นหวังหมดอาลัยตายอยากต่อชีวิต บางรายเปลี่ยนแพทย์ผู้รักษา เพื่อหาคำตอบที่มีความหวังมากกว่า และบางราย เปลี่ยนไปใช้การแพทย์ทางเลือก สิ่งที่ผู้ป่วยและญาติต้องพิจารณาคือ การเป็นโรคสะเก็ดเงิน เกิดจากเหตุปัจจัยหลายประการ ทั้งลักษณะทางพันธุกรรม และสภาพแวดล้อมผู้ป่วยที่จะทำให้โรคสะเก็ดเงินกำเริบขึ้น หรือสงบลง รวมทั้งจิตใจของผู้ป่วย แต่ละปัจจัยดังที่กล่าวนี้ เมื่อดูในรายละเอียดแล้ว จะมีปัจจัยย่อยอีกมากมาย เช่น ลักษณะทางพันธุกรรมของผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินแต่ละคนก็แตกต่างกัน ปัจจุบันเป็นที่ทราบกันว่า มียีนที่มีแนวโน้ม ที่จะเกิดโรคสะเก็ดเงิน มากกว่า ๙ ยีน โดยปัจจัยด้านยีนเป็นสิ่งที่แก้ไขไม่ได้ ต้องยอมรับ นอกจากนี้ โรคสะเก็ดเงินจะเกิดอาการกำเริบ เมื่อมีปัจจัยแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม มากระทบผู้ป่วย ดังนั้น ถ้าผู้ป่วยหลีกเลี่ยงปัจจัยดังกล่าวได้มากเท่าใด ผื่นผิวหนังอักเสบหรืออาการปวดกล้ามเนื้อ เอ็นและข้อจากโรคสะเก็ดเงิน ก็มีโอกาสหายหรือลดน้อยลง ผู้เกี่ยวข้องทั้งผู้ป่วย บิดามารดา ญาติพี่น้อง เพื่อนสนิท มิตรสหาย ผู้ร่วมงาน รวมทั้งแพทย์ผู้ดูแลผู้ป่วย จึงต้องเรียนรู้บทบาทของตัวเองว่า จะช่วยเหลือผู้ป่วยได้อย่างไร ดังนั้นคำถามที่ว่า โรคสะเก็ดเงินสามารถรักษาให้หายขาดได้หรือไม่ จึงไม่ใช่เพียงตอบว่า หายขาดหรือไม่ แต่เป็นคำตอบที่ขึ้นอยู่กับผู้ป่วย ญาติพี่น้อง และแพทย์ผู้ดูแลรักษาว่า มีความรู้เรื่องปัจจัยที่ทำให้โรคเกิดขึ้น หรือกำเริบ มากเพียงใด หากสามารถช่วยกันทำให้ปัจจัย ที่ทำให้เกิดโรค หมดไปอย่างต่อเนื่อง โรคสะเก็ดเงินก็จะหายไปได้ในที่สุด

ตอนที่ผมเป็นโรคสะเก็ดเงินแรกๆนั้น จะมีผื่นขนาดเล็กเป็นขุยๆ และตุ่มแดงๆ ตามลำตัว ข้อศอก ใบหู ศีรษะ หัวเข่า ก้น ซึ่งก็ถือว่าอาการไม่รุนแรงมากเท่าไหร่ แต่มันรำำคาญและอายคนอื่นครับ ก็ได้ไปหาหมอ หมอก็ให้ยามาทาบริเวณที่เป็น แต่มันจะมีอาการรุนแรงมากช่วงหน้าหนาวครับ ผื่นนี่ขึ้นเต็มเลย ผมมีเพื่อนคนนึงเป็นโรคนี้เหมือนกัน อาการหนักเลยครับ เป็นผื่นใหญ่มาก หมอต้องให้ยาทาและกินด้วย   ซึ่งปัจจุบันนี้ อาการโรคสะเก็ดเงินของผมก็ทุเลาลงมากครับ เพราะได้กินอาหารเสริมควบคู่กับการทายา อาหารเสริมที่ว่าคือ น้ำมันรำข้าวอมสตาร์ (Vital star)  ซึ่งประโยชน์ของน้ำมันรำข้างมีดังนี้

น้ำมันรำข้าวและจมูกข้าว

เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่สามารถดูแลสุขภาพแบบองค์รวมโดย รศ.ดร. สุรพจน์ วงศ์ใหญ่ คณะบดีคณะแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต และ 1 ใน 12 ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรของสหประชาชาติผู้วิจัยน้ำมันรำข้าวและจมูกข้าวจนโด่งดังขายดีมากใน U.S.A.และยุโรปโดยสรุปน้ำมันรำข้าวและจมูกข้าวดูแลสุขภาพ 4 เรื่อง ดังนี้

1. เรื่องเกี่ยวกับสมอง ช่วยลดอาการเครียด ปวดหัว ไมเกรน นอนไม่หลับ ความจำเสื่อมเสริมสร้างเซลล์สอง โดยรับประทานวันละ 4 แคปซูล (เช้า 2 แคปซูล,เย็น 2 แคปซูล)หลังอาหาร ภายใน 1-2 วันจะเห็นผลชัดเจนในเรื่องของความเครียดนอนไม่หลับ
*หากใครทาน 4 แคปซูลต่อวันแล้วมีอาการมืนงง ให้ลดเหลือ 2 แคปซูลเนื่องจากคนๆนั้นตอบสนองต่อน้ำมันรำข้าวและจมูกข้าวดีมากจนเส้นเลือดในสมองขยายตัวมากเกินไปจนเลือดไปเลี้ยงสมองมากเกินไป (แต่จำนวนน้อยมากๆที่มีอาการเช่นนี้)

2. โรคเสื่อม เช่น ไขมันในเส้นเลือด ความดัน เบาหวาน โรคหัวใจ เก๊า อัมพฤต มือเท้าชาอาการวัยทอง ให้ทานวันละ 4 แคปซูล (เช้า 2 แคปซูล, เย็น 2 แคปซูล) หลังอาหารใน 7 วันแรก หากยังไม่เห็นผล ให้เพิ่มเป็น 6 แคปซูลต่อวัน (เช้า,กลางวัน,เย็น)โรคมะเร็งขั้นที่ 1-2 รับประทานเป็น 9 แคปซูลในสัปดาห์ที่ 2

3. โรคอักเสบ เกี่ยวกับข้ออักเสบ ผิวหนังอักเสบ อื่นๆ รับประทานวันละ 4 แคปซูล (เช้า 2 แคปซูล, เย็น 2 แคปซูล) หลังอาหารใน 7 วันแรก หากยังไม่เห็นผลให้เพิ่มเป็น 6 แคปซูลต่อวัน (เช้า,กลางวัน,เย็น)

4. การต้านอนุมูลอิสระจะมีความสามารถต้านอนุมูลอิสระดีกว่าพวกน้ำมันตับปลาถึง 60 เท่าทำให้อาการที่เกิดจากอนุมูลอิสระไปทำลายจนโรคเสื่อมเกิดน้อยลง เช่นหากอนุมูลอิสระไปทำลายเซลล์ตับอ่อน ทำให้การสร้างอินซูลินบกพร่อง จึงเกิดเบาหวานหากไปทำลายผนังหลอดเลือด ทำให้เกิดรอยแผลที่ผิวหลอดเลือด ทำให้ไขมันไปเกาะง่ายจึงเกิดไขมันอุดตัน

ตอนแรกที่ได้กินน้ำมันรำข้าวก็เนื่องจากไปทำธุรกิจขายตรงของบริษัทนี้ ก็เลยต้องลองผลิตภัณฑ์ของเขา พอผมเลิกทำธุรกิจขายตรงก็เลยเลิกกิน แต่พอเลิกไปสักปี สังเกตตัวเองว่ามีอาการของโรคหนักขึ้นกว่าตอนที่เรายังกินน้ำมันรำข้าวอยู่ ก็เลยต้องกลับมากินเหมือนเดิมเพราะตอนนี้มันมีโรคมาเพิ่มในตัวเองอีก 2 อย่างคือ ภูมิแพ้และคลอเรสเตอรอลสูง เอาใว้ว่ากันบทความหน้านะครับ

 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น