วันอาทิตย์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2557

เทรนด์ใหม่มาแรง การออกกำลังแบบ T25 คืออะไรกัน

เทรนด์ใหม่มาแรง การออกกำลังแบบ T25 คืออะไรกัน







การ ออกกำลังแบบ T25 คืออะไร แล้ว T25 เป็นการออกกำลังกายที่เห็นผลแบบสุดยอดขนาดไหน ถึงได้ฮอตฮิตในหมู่คนรักสุขภาพ รวมทั้งในหมู่ดาราชื่อดัง วันนี้เรามาเจาะลึกการออกกำลังกายแบบ T25 กันค่ะ

ใคร ที่กำลังสนใจอยากลดน้ำหนักหรือฟิตเฟิร์มสุขภาพให้แข็งแรง เชฟบ๊ะและมีกล้ามเนื้อพอให้ดูเป็นสาวเฮลธ์ตี้ อาจจะเคยได้เห็นผ่านตามาบ้างว่า ตอนนี้การออกกำลังแบบ T25 นั้นฮอตฮิตขนาดไหน และด้วยรีวิวของคนที่ได้ลองออกกำลังแบบ T25 ซึ่งเห็นผลลัพธ์ที่น่าพอใจจนเหมือนเปลี่ยนไปเป็นคนละคนในเวลาไม่กี่เดือน ก็ยิ่งกระตุ้นต่อมอยากรู้อยากลองการออกกำลัง T25 ได้ไม่น้อยเลยเหมือนกัน ถ้าอย่างนั้นเรามาทำความรู้จักกับการออกกำลังแบบ T25 กันเลยดีกว่า

การออกกำลังแบบ T25 คืออะไร ?

การออกกำลังกายแบบ T25 มีชื่อเต็ม ๆ ว่า Focus T25 คิดค้นโดย Shaun T เทรนเนอร์มากประสบการณ์ผู้เป็นเจ้าของโปรแกรมออกกำลังกายแบบอินแซนนิตี (Insanity) หรือการออกกำลังกายแบบเต้นไปเต้นมา ใช้การเคลื่อนไหวของร่างกายเยอะ ๆ ติดต่อกันเป็นเวลา 60 วัน ซึ่งก็เป็นการออกกำลังกายที่ฮิตในหมู่คนไดเอตและคนรักสุขภาพมาก่อนหน้านี้

แต่หลังจากส่งโปรแกรมอินแซนนิตี (Insanity) ในรูปแบบ DVD ออกมาเขย่าวงการออกกำลังกายได้สักระยะ ทาง BEACHBODY (http://www.beachbody.com) และ Shaun T ก็ส่ง Focus T25 ออกมาอีกชุดเพื่อตอกย้ำว่าเวลาไม่ใช่ปัญหาของคนอยากมีหุ่นสวยสุขภาพดีอีกต่อ ไป เนื่องจากการออกกำลังกายแบบ T25 เป็นการออกกำลังอย่างหนักติดต่อกันเพียง 25 นาทีต่อวันเท่านั้น และในอีก 50 วันเจ้าโปรแกรม T25 จะเปลี่ยนคุณเป็นคนละคนแบบที่ต้องตะลึงงัน !

T25 เป็นการออกกำลังด้วยวิธีไหน ?

การออกกำลังแบบ T25 จะเน้นการออกกำลังแบบคาร์ดิโอ เคลื่อนไหวกล้ามเนื้อทุกสัดส่วนต่อเนื่องนาน 25 นาทีโดยไม่หยุดพัก และออกกำลังแค่ 5 วันต่อสัปดาห์เท่านั้น ซึ่งเทรนเนอร์หนุ่มเจ้าของต้นตำรับก็แอบกระซิบมาว่า การออกกำลังกายแบบ T25 เพียงแค่ 25 นาที ก็จะได้ผลลัพธ์เหมือนเราออกกำลังกายนานถึง 1 ชั่วโมงเต็มเลยล่ะ แหม...ประสิทธิภาพของการออกกำลังกายเทียบเท่ากันอย่างนี้ สาว ๆ จะเสียเวลาไปออกกำลังกายนานถึง 1 ชั่วโมงทำไมล่ะเนอะ

ทั้งนี้ การออกกำลังกายแบบ T25 ยังตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของคนยุคใหม่ได้อย่างถูกเผง เพราะ T25 ไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ออกกำลังกายหลายชิ้น เพียงแค่ดัมเบลขนาดพอเหมาะกับยางยืดก็พอ ไม่ต้องใช้พื้นที่เยอะ สามารถออกกำลังกายได้เองที่บ้านโดยไม่ต้องเสียเวลาไปฟิตเนสที่ไหน อาศัยแค่รองเท้าผ้าใบที่ถูกกิจลักษณะกับใจที่มุ่งมั่นแน่วแน่เท่านั้น

โดย T25 จะแบ่งการออกกำลังเป็น 3 เฟส เริ่มจาก Alpha ซึ่ง เป็นเวอร์ชั่นสำหรับออกกำลังเสริมสร้างกล้ามเนื้อทุกสัดส่วนโดยพื้นฐานก่อน เป็นเวลา 5 สัปดาห์ เพื่อเตรียมพร้อมร่างกายให้แข็งแรงก่อนจะก้าวเข้าสู่เฟส Beta ในเดือนที่ 2 โดยเฟส Beta จะเน้นออกกำลังส่วนกลางของลำตัว ซึ่งก็คือส่วนหน้าท้องนั่นเองค่ะ สาวคนไหนอยากเสกให้พุงย้วย ๆ หายก็ต้องลองเฟส Beta นี้เลย และสุดท้ายกับเฟส Gamma เป็นการรวบรวมทั้ง 3 เฟสเข้าด้วยกัน จบคอร์สการออกกำลังกายแบบ T25 อย่างฟิตกระชับสุด ๆ

ทั้งนี้ ท่าออกกำลังกายในแต่ละเฟสก็จะแตกต่างกันไปในแต่ละวันตามตารางที่แถมมาให้ พร้อมแผ่น DVD และด้วยความหลากหลายไม่ซ้ำซากจำเจของท่าออกกำลัง เลยทำให้สาว ๆ หลายคนสนุกกับการออกกำลังกายแบบ T25 ที่แม้จะเหนื่อยแสนเหนื่อย เสียเหงื่อเป็นปี๊บ ๆ ก็ไม่ถอย โดยตามตารางแล้วการออกกำลังกายแบบ T25 ในแต่ละเฟส จะแบ่งออกได้ 6 พาร์ท (6 แผ่น) ดังนี้ค่ะ

Alpha Cycle

1. Cardio

เป็นการเคลื่อนไหวร่างกายด้วยการเต้นตามเทรนเนอร์ใน DVD เต้นอย่างหนักติดต่อกันนาน 25 นาทีโดยไม่หยุดพัก เซตนี้จะเน้นให้ขยับแขน-ขาอย่างเร็ว เพื่อให้หัวใจเต้นแรงขึ้น ตามแบบฉบับ cardio ที่เน้นการเต้นของหัวใจ ซึ่งจะช่วยบริหารกล้ามเนื้อหัวใจให้แข็งแรงขึ้น ที่สำคัญยังช่วยเบิร์นแคลอรี่ได้เป็นกอบเป็นกำเลยเชียว

2. Speed1.0

ท่าเต้นแบบคาร์ดิโอที่ว่าเร็วพอมาเจอแผ่น Speed1.0 ต้องบอกว่าเร็วกว่าแผ่นคาร์ดิโออีกค่ะ ถ้าใครที่ชื่นชอบการเคลื่อนไหวร่างกายแบบเร็ว ๆ มูฟเม้นต์เยอะ ๆ คงโปรดปราน Speed1.0 น่าดู ซึ่งนอกจากท่าออกกำลังกายแบบแดนซ์เซอร์มัน ๆ แล้ว การเต้นตามแบบ DVD นี้ยังพาให้คุณได้ขยับเขยื้อนร่างกายทุกสัดส่วน เบิร์นไขมันส่วนเกินออกไปแบบไม่รู้ตัว

3. Total Body Circuit

การบริหารร่างกายแบบเน้นความแข็งแรงของกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ลักษณะของท่าจะคล้ายแอโรบิกผสมโยคะ และยิมนาสติกเบา ๆ นั่นก็หมายความว่าไม่จำเป็นต้องใช้ดัมเบลหรืออุปกรณ์ออกกำลังกายใด ๆ อาศัยแค่ความอดทนของผู้เล่นเท่านั้นค่ะ และขอบอกตรงนี้เลยว่า การออกกำลังเซตนี้ช่วยบริหารกล้ามเนื้อท้องได้อย่างแจ่มจริง ๆ แต่เหนื่อยแบบทบทวีเลยเหมือนกันนะ

4. Ab Intervals

ชื่อก็บอกชัดอยู่แล้วว่าเน้นการบริหารกล้ามเนื้อท้อง (Ab) เป็นพิเศษ แต่ถ้าใครได้ลองออกกำลังกายตามเซตนี้ก็จะรู้ได้ว่า อัตราการเต้นของหัวใจจะแรงและเร็วมาก ทั้ง ๆ ที่ก็ไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกายมากมาย ซึ่งก็ไม่ต้องตกใจค่ะ เพราะเทรนเนอร์เขาต้องการให้เลือดสูบฉีดไปทั่วร่าง และบริหารกล้ามเนื้อหัวใจเราไปพร้อม ๆ กันด้วย
การออกกำลังแบบ T25

 

5. Lower Focus

เซตนี้เราจะมาเน้นบริหารกล้ามเนื้อส่วนล่าง ตั้งแต่สะโพกยันปลายเท้าเลยค่ะ เหมาะกับคนที่อยากลดต้นขา และกระชับขาให้เรียวเล็ก ซึ่งแต่ละท่าที่เทรนเนอร์เขาเต้นนำเรา จะทำให้สาว ๆ ปวดเมื่อยขาแบบสุดขีด แต่ก็อย่าท้อกันนะคะ ท่องไว้ว่าอนาคตเราจะเป็นสาวที่มีเรียวขาเพรียวสมส่วน
คลิปแนะนำ T25

 

6. Stretch

ท่ายืดกล้ามเนื้อเบา ๆ ในวันอาทิตย์ หลังจากที่ออกกำลังกายตามเทนเนอร์ใน DVD มาอย่างหนักหนาสาหัส ท่าออกกำลังเซตนี้จะช่วยผ่อนให้กล้ามเนื้อคลายความตึงเครียด โดยอุปกรณ์ก็มีแค่เบาะรองกับรองเท้าผ้าใบคู่โปรดเท่านั้นก็พอ แต่ผลลัพธ์ที่ได้การันตีได้เลยว่าจะคลายความเมื่อยล้า และเรียกเหงื่อได้ท่วมท้นเหมือนเดิม แม้เทรนเนอร์จะไม่ได้นำเรากระโดดโลดเต้นเลยก็ตาม

Beta Cycle

1. Cardio

เน้นการบริหารกล้ามเนื้อหัวใจเหมือนกับเฟส Alpha แต่มีท่าบริหารกล้ามเนื้อท้องเสริมเข้ามาด้วย พร้อมทั้งมีท่าทดสอบความเข็งแรงของร่างกายเพิ่มขึ้นมาอีกอย่าง อย่างท่า Plank Diagonal Lift ที่คล้าย ๆ ท่าวิดพื้น แต่ยกแขนและขาขึ้นอย่างละข้าง และพยายามทรงตัวให้ได้ ทำสลับกันไปสักพัก เป็นการเกร็งกระชับทั้งส่วนแขน ขา และหน้าท้องที่เจ๋งแต่เหนื่อยลิ้นห้อยมาก ๆ

2. Speed 2.0

ยังคงเน้นท่าเต้นเร็ว ๆ เหมือนเดิม แต่มันกว่า สนุกกว่าจนอาจจะลืมเหนื่อยและเผลอทำให้ชีพจรเต้นแรงและเร็วเกินไปได้ง่าย ๆ โดยท่าส่วนใหญ่ที่เทรนเนอร์แนะนำจะเป็นท่าเต้นที่สนุกสนานเร้าใจ ลักษณะคล้าย ๆ ท่าเต้นของแดนเซอร์ สาวคนไหนที่ฝันอยากเต้นคัฟเวอร์เกาหลีแบบเก๋ ๆ น่าจะหลงรักแผ่น Speed 2.0 แน่ ๆ

3. Rip’T Circuit

ท่าออกกำลังที่ต้องใช้ดัมเบลขนาดเหมาะมือเข้าช่วย (ดัมเบลยิ่งหนักกล้ามยิ่งขึ้นนะจ๊ะสาว ๆ ) โดยเทรนเนอร์จะนำเต้นแบบคาร์ดิโอก่อน ต่อด้วยท่าบริหารกล้ามเนื้อแขน ขา และหน้าท้อง แล้วจึงวนกลับไปเต้นท่าคาร์ดิโออีกครั้งอย่างนี้เรื่อย ๆ จนครบ 25 นาที แผ่นนี้ไม่ค่อยเหนื่อยมากค่ะ แต่ก็เรียกเหงื่อและเบิร์นแคลอรี่ได้พอตัวเลยล่ะ

4. Dynamic Core

การออกกำลังกายแบบเน้นใช้พลังของร่างกายเป็นหลัก โดยเน้นบริหารกล้ามเนื้อส่วนกลางลำตัวทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เช่น มีท่า Side Plank ที่ต้องนอนตะแคงเท้าแขนไว้ข้างหนึ่ง เหยียดขาตรง และยกลำตัวขึ้นลงอย่างนั้นซ้ำ เหนื่อยใช้ได้เลยทีเดียวค่ะ

5. Upper Focus

เป็นแผ่นที่เน้นการบริหารกล้ามเนื้อส่วนบน เทรนเนอร์จะนำให้เราออกกำลังที่ต้องใช้แรงแขน เพื่อกระชับต้นแขนและส่วนไหล่ โดยใช้ดัมเบลน้ำหนักพอเหมาะเป็นอุปกรณ์เสริม ซึ่งสาว ๆ ก็อย่าโหมใช้ดัมเบลหนักเข้าล่ะ เดี๋ยวกล้ามโตขึ้นมาแล้วจะหาว่าไม่เตือน

6. Strecth

ไม่ค่อยต่างจากเฟส Alpha เท่าไรค่ะ เป็นการเน้นบริหารกล้ามเนื้อโดยยืดเส้นยืดสายคลายความตึงเครียดเป็นหลัก

ทั้ง นี้ ในสวนเฟส Gamma ก็จะมีลักษณะคล้าย ๆ กัน เพียงแต่ความเร็วในแผ่น Speed (ในเฟส Gamma เป็น Speed 3.0) จะเร็วขึ้น มันขึ้น ท่าก็ยากมากขึ้นด้วย แต่ ยังคงความสนุกได้เต็มแม็กซ์ และอาจจะหนักไปทางเวทเทรนนิ่งเป็นส่วนใหญ่ พร้อมทั้งยังได้ออกกำลังกายแบบ Upper Body และ Lower Body ไปด้วยกัน แต่ท่าจะยากขึ้นอีกระดับ บริการกล้ามเนื้อกันอย่างโหดขึ้น ซึ่งทั้งหมดนี้ก็อยู่ภายใต้การนำของเทรนเนอร์ใน DVD ตลอดทั้งคอร์สเลยนะจ๊ะ

ออกกำลังแบบ T25 แล้วจะได้อะไร ?

อย่างแรกที่เห็นได้ชัดเจนเมื่อออกกำลังกายแบบ T25 ก็คือ รูปร่างของสาว ๆ จะกระชับขึ้น สัดส่วนเล็กลง หน้าท้องแบนราบ เรียกได้ว่าเฟิร์มขึ้นอย่างจับสังเกตได้ อีกทั้งเมื่อได้เสียเหงื่อบ่อย ๆ เลือดลมก็จะหมุนเวียนได้ดี ผิวพรรณก็ดูเปล่งปลั่งเหมือนเป็นสาวรักสุขภาพสุด ๆ

ส่วนในแง่สุขภาพก็แน่นอนอยู่แล้วว่าแค่เราขยับร่างกาย ออกกำลังให้หัวใจเต้นแรงและเสียเหงื่อ บวกกับควบคุมอาหารโดยหันมากินอาหารคลีนหรืออาหารเพื่อสุขภาพมากกว่าแต่ก่อน แค่นี้ก็เพียงพอจะป้องกันเราจากโรคภัยไข้เจ็บได้หลายโรค แถมยังฟิตสุขภาพของเราให้แข็งแรง มีภูมิต้านทาน ปรับสมดุลในร่างกายให้เข้าที่เข้าทาง ส่งผลให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งอย่างน้อยก็ช่วยให้เลือดลมไหลเวียนดีกว่าตอนที่ไม่ได้ออกกำลังกาย กล้ามเนื้อแข็งแรงและกระฉับกระเฉงขึ้นด้วยนะจ๊ะ

T25 เหมาะกับใครบ้าง ?

จริง ๆ แล้วการออกกำลังกายแบบ T25 จะค่อนข้างตอบโจทย์คนที่อยากลดสัดส่วนและลดน้ำหนัก เนื่องจาก T25 จะช่วยให้คุณรีดไขมันและเฟิร์มร่างกายได้ในเวลาอันรวดเร็ว โดยไม่ต้องอดทนออกกำลังกายเป็นเวลานานต่อเนื่องหลายเดือน เพราะเพียงแค่ออกกำลังแบบ T25 แค่ 2 เดือนตามตารางที่เขากำหนด ก็จะเห็นผลลัพธ์ที่น่าร้องว้าวแล้ว แต่กับคนที่มีโรคประจำตัวอย่างโรคหัวใจ โรคข้อเข่า อาจจะต้องเลี่ยงการออกกำลังกายในบางท่า เพราะท่าออกกำลังกายบางคอร์สจะเน้นการกระโดด การเคลื่อนไหวร่างกายแบบเร็ว ๆ ซึ่งอาจกระทบกับโรคประจำตัวของคุณได้

อย่างไรก็ดี การออกกำลังกาย T25 จะค่อนข้างเรียกเหงื่อและทำให้เราเสียพลังงานเยอะมาก หลายคนที่เริ่มเล่นช่วงแรก ๆ อาจจะเหนื่อยจนแทบขาดใจ แต่ก็อย่าท้อและอย่าหักโหมนะคะ เหนื่อยก็หยุดพักได้เป็นระยะ ค่อยเป็นค่อยไปจนกว่าจะทำตามในแต่ละท่าได้สำเร็จ อย่ากดดันตัวเองด้วยระยะเวลา แต่ก็อย่าเฉื่อยชาจนสร้างความขี้เกียจให้ตัวเองก็พอ และที่สำคัญพยายามควบคุมอาหารพร้อมกับเลือกกินผักผลไม้ อาหารเพื่อสุขภาพ และดื่มน้ำเยอะ ๆ ด้วย

cradit http://health.kapook.com

วันศุกร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2557

วิธีการปั่นจักรยานเพื่อการลดน้ำหนัก

วิธีการปั่นจักรยานเพื่อการลดน้ำหนัก


วิธีการปั่นจักรยานเพื่อการลดน้ำหนัก

การปั่นจักรยานเป็นทางเลือกที่ดีที่จะได้ออกไปทำกิจกรรมนอกบ้านเพื่อ ได้รับอากาศที่สดชื่น เเถมยังได้ท่องเที่ยวชมทัศนียภาพรอบข้างไปพร้อมกัน และยังถือว่าเป็นการเผาผลาญพลังงานและลดไขมันที่ดีทางนึง นอกจากนี้ จักรยานถือว่าเป็นพาหนะที่เหมาะในยุคนี้ เพราะมีคุณสมบัติ 3 ส. คือ สะดวก สิ้นเปลืองน้อย และ สุขภาพดี ทำให้เราผ่อนคลายและยังช่วยให้ระบบหายใจแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนเพื่อนำไป สร้างเม็ดเลือดขาวใน กระแสเลือดได้ดีขึ้น และส่งผลให้เราอารมณ์ดีจากการเพิ่มของระดับฮอร์โมนแอนเดอร์ฟินอีกด้วย

การปั่นจักรยานเป็นการออกกำลังกายแบบแอโรบิกที่ช่วยอย่างมากต่อการไหล เวียนของเลือด ซึ่งนั่นก็เท่ากับช่วยให้หัวใจของเราแข็งแรงไปด้วย ที่สำคัญคือตะกรันไขมันที่จับอยู่ตามเส้นเลือดของเราก็พลอยจะถูกกำจัดออกไป จึงสามารถป้องกันภาวะเส้นเลือดตีบตันได้อีกทางหนึ่ง ส่วนอวัยวะอื่นๆ ก็ไม่ต้องพูดถึง ย่อมส่งผลดีไปด้วยโดยเฉพาะปอด นอกจากนี้ยังสามารถช่วยพัฒนาระบบการทำงานต่างๆของร่างกาย สำหรับการปั่นจักรยานนั้นโดยปรกติจะสามารถเผาผลาญพลังงานได้ประมาณ 400-500 kcal ต่อหนึ่งชั่วโมง ทั้งนี้จะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวและความหนักของการปั่นด้วย

ด้านานกล้ามเนื้อ การปั่นจักรยานมีประโยชน์ทำให้กล้ามเนื้อขา โดยเฉพาะกล้ามเนื้อต้นขาหน้าและหลังมีความแข็งแรง เป็นการยืดเส้นยืดสาย โดย เฉพาะกล้ามเนื้อบริเวณเอว สะโพก ทำให้ป้องกันปัญหาปวดกล้ามเนื้อขาได้ นอกจากนี้ ยังช่วยในการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย ทำให้ลดอัตราการสะสมของไขมันที่ผนังหลอดเลือดได้เป็นอย่างดี และหากเราออก กำลังกายด้วยการปั่นจักรยานอย่างต่อเนื่อง ก็จะทำให้หัวใจแข็งแรง กล้ามเนื้อหัวใจทำงานได้ดีขึ้น

ปั่นจักรยานลดความอ้วน


การปั่นจักรยานให้ผลลัพธ์ที่ดีมากเพราะเป็นการออกกำลังกายแบบแอโรบิก หากทำอย่างค่อยเป็นค่อยไปและต่อเนื่องจะช่วยเผาผลาญไขมันได้เป็นอย่างดี ไม่เพียงแต่ส่งผลดีต่อช่วงขาเท่านั้นแต่ยังรวมถึงหน้าท้อง ก้น และหากใช้อุปกรณ์บางอย่างเพิ่มจะช่วยบริหารแขนได้ด้วยเพียงแค่มีแท่งยกน้ำ หนัก 1 คู่ ที่หนักไม่มากก็เพียงพอแล้ว

การปั่นจักรยานนั้นดีกว่าการวิ่งเพราะจะไม่ส่งผลกระทบกับข้อเท้า หัวเข่า และหลัง คุณอาจเริ่มจากการปั่นแบบช้า ๆ โดยไม่มีแรงเสียดทานหรือเรียกว่าขั้นพื้นฐาน แล้วค่อยเพิ่มความเร็วในการปั่นและน้ำหนักที่แป้นถีบมากขึ้นเหมือนปั่นขึ้น เขาและเช่นเดียวกับการออกกำลังกายทุกประเภท เคล็ดลับที่จะบริหารร่างกายให้ได้ผลก็คือ ทำทุกวันบ่อย ๆ แม้จะใช้เวลาไม่มากก็ตาม

วิธีการปั่นจักรยานลดความอ้วน



  • อบอุ่นร่างกาย - ปรับที่นั่งให้สูงพอที่จะเหยียดขาเวลาปั่นได้ เมื่อวางเท้าบนแป้นขนานกับพื้นหัวเข่าจะต้องทำมุม 10-15 องศา ถ้าที่นั่งอยู่ต่ำเกินไปจะทำให้รู้สึกเหนื่อยมากขึ้นและทำให้หัวเข่าต้อง ออกแรงมากกว่าปกติ ถ้าอยู่สูงเกินไปทำให้ต้องเคลื่อนไหวส่วนอุ้งเชิงกราน ทำให้หลังส่วนล่างต้องรับน้ำหนักมากที่จับสามารถปรับระดับได้ ขั้นแรกเริ่มจากระดับ “สูง” ก่อนวางมือทั้งสองข้างขนานกันบนที่จับจากนั้นค่อยลดระดับลงเพื่อเพิ่มความ โค้งให้แผ่นหลัง

  • ความเร็วและแรง - ถ้าคุณ ยังไม่ชินเริ่มจากการปั่นแบบธรรมดาที่ความเร็ว 60 รอบต่อนาที (1 รอบต่อวินาที) นาน 10 นาที จากนั้นเริ่มปรับให้ชันมากขึ้น ปั่น 10 นาที สลับกลับไปที่แบบธรรมดาอีก 10 นาที ทำแบบนี้อาทิตย์ละ 3 ครั้ง 3 วัน เป็นเวลา 3 อาทิตย์ ก่อนที่จะเริ่มโปรแกรมถัดไป



  • เมื่อเริ่มชำนาญมาก ขึ้นแนะนำให้เริ่มปั่น 80-90 รอบต่อนาที สลับกับแบบธรรมดา 15 นาที และแบบชัน 15 นาที และแบบธรรมดา 15 นาที ทำ 3-4 ครั้งต่ออาทิตย์ อย่างน้อย 3 อาทิตย์ก่อนที่จะเข้าโปรแกรมที่สูงขึ้นต่อไป หลังจากชินกับระดับ ต่าง ๆ แล้ว ลองเปิดเพลงเพื่อกำหนดความเร็วสำหรับการปั่นแบบธรรมดาและแบบชัน ในขั้นนี้อาจสลับด้วยการเดินได้และเพิ่มเวลาขึ้นอีก 2 อาทิตย์


ขี่จักรยานแค่ไหนดี


ถ้าขี่จักรยานบนทางราบด้วยความเร็วน้อยกว่า 20 กม./ชม. อย่างนี้เราถือว่าช้าไป จะไม่เกิดสภาพแอโรบิคที่ต้องการ อย่าลืมว่าการขี่จักรยานเป็นการออกกำลังที่ตัวจักรยานมีส่วนช่วยเพิ่ม ประสิทธิภาพมาก ถ้าขี่ช้าๆ ตัวจักรยานจักเป็นตัวช่วยเสียส่วนใหญ่ ประโยชน์ต่อหัวใจก็ไม่มี หรือมีก็น้อย

แต่ผู้รู้กล่าวได้ว่า ถ้าขี่จักรยานด้วยขนาดความเร็วกว่า 30-32 กม./ชม. ก็จะเทียบได้เท่ากับการวิ่งความเร็วประมาณ 3 นาทีเศษต่อกิโลเมตร (อันนี้เป็นการวิ่งที่เร็วมากสำหรับนักวิ่งส่วนใหญ่ในบ้านเรา) ซึ่งน้อยคนนักที่จะทำได้

โดยสรุป เราจึงควรถีบจักรยานอยู่ในช่วงความเร็วประมาณ 25 ถึง 28 กม./ชม. จึงจะได้ออกแรงสมกับที่ตั้งใจมาออกกำลังกันความเร็วที่พูดถึงในตอนนี้ เป็นความเร็วเฉลี่ยที่ฝรั่งเขาทำได้กัน แต่คนไทยเราโดยเฉพาะคนที่ไม่ได้ออกกำลังมานาน ก็อย่าได้เผลอไผลยึดข้อมูลนี้เป็นบรรทัดฐานในการฝึกเป็นอันขาด ทางที่ดีควรจะลองขี่ไปลองจับชีพจรไป ก็จะรู้ได้ว่าแค่ไหนจึงจะได้ 75-80% ของอัตราหัวใจเต้นสูงสุดของตัวเอง ดังได้กล่าวไว้แล้วในตอนต้นๆ

วิธีการขี่ให้ถูกต้อง


พวกขี่จักรยานใหม่ๆมักเข้าใจผิดและพยายามใช้เกียร์สูงสำหรับการขี่โดย ส่วนใหญ่ ไม่พิจารณาว่าทางจะเป็นอย่างไร ทางที่ถูกแล้วควรเลือกเกียร์ต่ำไว้ก่อน และถีบให้วิ่งไปเรื่อยๆอย่างราบเรียบ โดยถีบซอยขาด้วยความถี่ประมาณ 70 รอบต่อนาที พยายามถีบให้ขาซอยคงที่ขนาดนี้ ถ้ามีทางขึ้นเนินลงเนินหรือมีลมต้าน ก็ค่อยสับเกียร์ต่ำเกียร์สูงตามไปอีกที คือพยายามปรับการซอยให้คงที่อย่างที่ว่าไว้
ไอ้รอบซอยขาคงที่ขนาดนี้ นักจักรยานฝรั่งเขาเรียกว่า ‘เคเดนซ์’ หรือ cadence แปลตรงตัวว่า จังหวะเคาะตอนเล่นดนตรี ในที่นี้คงหมายถึงการทำอะไรให้เป็นจังหวะคงที่สำหรับพวกเราๆ เอาเป็นว่าพยายามซอยขาให้คงที่ด้วยความถี่ประมาณ 70 รอบต่อนาทีที่ว่านี้ก็แล้วกัน

ตอนเริ่มใหม่ๆ ถีบไปสัก 20 นาทีก็พอ แล้วพักจนชีพจรกลับมาเป็นปกติ แล้วก็เริ่มซอยขาใหม่ต่ออีกจนคุณรู้สึกเหนื่อยแบบสบายๆ คือเหนื่อย แต่ไม่ใช่เหนื่อยจนเดินไม่ได้ หัวใจแทบจะเต้นออกมานอกอกหล่นไปกองกับพื้น จนเกือบถูกจักรยานที่ขี่อยู่ทับเอา อย่างนี้ใช้ไม่ได้ มันเหนื่อยเกินไป เอาแค่เหนื่อยไม่มากก็เป็นพอ

ระยะเวลาในการปั่น


พยายามให้เหมือนกับการคารร์ดิโอทั่วไป อยู่ที่ ครั้งไม่ต่ำกว่า 40 นาที 3 – 4 วันต่อสัปดาห์ค่ะ การขี่จักรยานโดยเฉลี่ยจะใช้พลังงานประมาณ 300 แคลอรี/ชม. ซึ่งการใช้พลังงานขนาดนี้ถ้าทำสม่ำเสมอก็จะสามารถลดความอ้วนได้อีกด้วยค่ะ

 

Credit: thailandbiketrip.com, หมอชาวบ้าน, hibalanz.com, answer.com

วันอังคารที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2557

แนะนำการออกกำลังกาย สำหรับผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน

















แนะนำการออกกำลังกาย สำหรับผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน


 


สำหรับการออกกำลังกายของผู้ป่วยโรคเบาหวานนั้นจะให้ผลดีคือลดระดับน้ำตาลและไขมัน ลดระดับความดันโลหิต และลดการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ในการออกกำลังกายจะต้องระวังโรคแทรกซ้อนเช่นน้ำตาลต่ำ การเลือกวิธีออกกำลังจะขึ้นกับสุขภาพของแต่ละคน
1.  เบาหวาน
เป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลสูงกว่าปกติ  ที่พบบ่อย  แบ่งเป็น

  1. เบาหวานชนิดที่  1  (ชนิดพึ่งอินสุลิน)

  2. เบาหวานชนิดที่  2  (ชนิดไม่พึ่งอินสุลิน)

  3. เบาหวานที่มีสาเหตุจำเพาะ  เช่น  โรคเนื้องอกที่ต่อมหมวกไต  จากยา

  4. เบาหวานขณะตั้งครรภ์


2.  ประโยชน์ของการออกกำลังกายในผู้เป็นเบาหวาน
1.  ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางกาย
2.  ช่วยป้องกัน  หรือลดความอ้วนได้
3.  ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น
4.  ช่วยปรับระดับไขมันในเลือดให้เหมาะสม
5.  ลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือด
6.  ช่วยในด้านอารมณ์  จิตใจ

3.  คำแนะนำทั่วไป
-  ระยะแรกเกิดควรติดตามระดับน้ำตาลอย่างใกล้ชิด  ควรรู้จักอาการน้ำตาลต่ำ
-  ควรปรับเปลี่ยนตำแหน่งในการฉีดยา  อย่างสม่ำเสมอ
-  ไม่ควรออกกำลังกายเพียงคนเดียว
-  ควรจะมีเครื่องหมายหรือสิ่งแสดงว่าเป็นผู้ป่วยเบาหวานติดตัว
-  ควรจะดื่มน้ำให้เพียงพอทั้งก่อนระหว่างและหลังการออกกำลังกาย
-  ไม่ควรออกกำลังกายกลางแดดจัดหรือในวันที่ร้อนจัด
-  ไม่ควรออกกำลังกายมากกว่า 1 ชั่วโมง
-  ทุกๆครึ่งชั่วโมงของกายออกกำลังกาย  ควรได้รับคาร์โบไฮเดรตเสริมประมาณ 10-15 กรัม

4.  ข้อควรทราบอื่นๆ
ภาวะน้ำตาลต่ำ
การดูแลเท้า

5.  ข้อปฏิบัติก่อนเริ่มการออกกำลังกาย
-  ควรทราบระดับน้ำตาลตนเองและติดตามอย่างใกล้ชิด  หากระดับน้ำตาลยังค่อนข้างเปลี่ยนแปลง  ไม่คงที่โดยเฉพาะบางวันสูง  บางวันต่ำ  อาจจะต้องให้สามารถอยู่ในระดับที่ไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก  หรือ  หากระดับยังสูง  (มากกว่า 250 มก./ดล.)  หรือ  ยังค่อนข้างต่ำ  คือ  น้อยกว่า 80 มก./ดล.
-  ควรเข้าใจการดูแลตนเองในเรื่องการดูแลเท้า
-  ไม่ควรเริ่มด้วยการออกกำลังกายอย่างหนักทันที

6.  การประเมินสุขภาพก่อนออกกำลังกาย

  1. เพื่อตรวจหาข้อห้ามหรือข้อควรระวังในการออกกำลังกาย

  2. เป็นแนวทางให้แพทย์กำหนดระดับการออกกำลังกายให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย


7.  ผู้ป่วยที่ควรต้องผ่านการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะออกกำลังกาย (EST) ก่อน

  1. ผู้เป็นเบาหวานที่มีอายุมากกว่า  35  ปี  หรือเป็นเบาหวานชนิดที่ 1  มานานกว่า 15 ปี  หรือเป็นเบาหวานชนิดที่ 2  มานานกว่า 10 ปี

  2. มีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ  ต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด


8.  ข้อห้ามในการออกกำลังกาย

  1. อาการเบาหวานขึ้นตากำเริบที่มีเลือดออกในจอรับภาพ,  น้ำในช่องลูกตาหรือจอรับภาพแยกตัว

  2. ระดับน้ำตาลในเลือดสูงตั้งแต่ 250 มก./ดล.ขึ้นไป

  3. ภาวะเลือดเป็นกรดสูง  (Diabetic  Ketoacidosis)

  4. ภาวะติดเชื้อ


9.  รูปแบบการออกกำลังกาย
การออกกำลังกายที่เหมาะสม  คือการออกกำลังกายแบบแอโรบิค  เช่น  การเดิน  การวิ่งเหยาะ  ขี่จักรยาน  ว่ายน้ำ  กิจกรรมเข้าจังหวะ  รำมวยจีน

 

การเลือกชนิดการออกกำลังกาย  ขึ้นอยู่กับ

  1. อายุ

  2. ความรุนแรงของโรคเบาหวาน

  3. ความฟิตของร่างกาย

  4. เครื่องออกกำลังกายที่มีอยู่หรือหาได้สะดวก

  5. สถานที่ที่สะดวก

  6. ความสนใจ


วิธีการออกกำลังกาย

  1. การออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง  ใช้เวลาอย่างน้อยวันละ  20  นาที  ปฏิบัติสม่ำเสมอ  อย่างน้อย 3 ครั้ง/สัปดาห์

  2. ควรเริ่มจากระดับเบาๆ ก่อน  แล้วค่อยๆเพิ่มให้มากขึ้นทีละน้อย  ให้เหนื่อยพอสมควร


ขั้นตอนการออกกำลังกายแบบแอโรบิค มี 3 ระยะ
1.  ระยะอุ่นเครื่องเพื่อเตรียมกล้ามเนื้อ  ใช้เวลา 5 นาทียืดเหยียดกล้ามเนื้อ  และกายบริหารเบาๆ
2.  ระยะออกกำลังกาย  ใช้เวลา 15-30 นาที  ระดับความหนักเป้าหมายคือ  ชีพจรเต้นเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 60 %  ของอัตราชีพจรสูงสุด  แต่ไม่เกิน  90 %,  อัตราชีพจรสูงสุด  = 220 – อายุ
3.  ระยะผ่อนคลาย  ใช้เวลา 5 นาที  ให้ผ่อนระดับการออกกำลังกายลงช้าๆ จนหยุด
สำหรับผู้เป็นเบาหวานประเภท  1

  1. ไม่ควรออกกำลังกายนานเกินไป  (> 45 นาที)

  2. ควรออกกำลังในเวลาใกล้เคียงกันในแต่ละวัน

  3. แนะนำให้ออกกำลังในช่วงเช้าก่อนอาหารมื้อเช้า


สำหรับผู้เป็นเบาหวานประเภท  2

  1. ระยะเวลาการออกกำลังควรใช้เวลานานขึ้น (ระหว่าง  20  นาที  ถึง  45  นาที)  เพื่อเผาผลาญไขมันได้มากขึ้น

  2. ควรจำกัดอาหารเพื่อลดน้ำหนักด้วย


สมดุลระหว่างอาหาร  กับการออกกำลังกาย

  1. ผู้เป็นเบาหวานทุกรายควรได้รับการตรวจระดับน้ำตาลก่อนการออกกำลังกาย

  2. ถ้าระดับน้ำตาลอยู่ระหว่าง 180 ถึง 240 มก./ดล.  ไม่จำเป็นต้องรับประทานอาหารว่างก่อนออกกำลังกาย

  3. ถ้าระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ระหว่าง 100 ถึง 180 มก./ดล.  ควรได้รับอาหารว่างก่อนออกกำลังกายประมาณ 15-30 นาทีด้วย 10-15 กรัมของอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต

  4. ถ้าระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่า  100 มก./ดล.ควรรับประทานอาหารว่างก่อนออกกำลังกายประมาณ 25-50 กรัม  ของอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต

  5. ถ้าออกกำลังกายยาวนาน  ควรรับประทานอาหารว่างเพิ่มขึ้น 10-15 กรัม ทุก 30 นาที  หรือ  ควรเพิ่มปริมาณอาหารว่างก่อนออกกำลังกายให้มากขึ้นและควรตรวจระดับน้ำตาลใน เลือดภายหลังการออกกำลังกาย  เพื่อประเมินความต้องการอาหารว่างของผู้ป่วยว่า  จำเป็นต้องทานเพิ่มหรือไม่


ชนิดของอาหาร                                                     ปริมาณ
ประเภทคาร์โบไฮเดรต                        (เทียบเท่ากับ  10-15  กรัม)
ขนมปัง                                                                   1  แผ่น
น้ำส้ม                                                                      1/2  ถ้วย
น้ำอัดลม                                                                 ½  ถ้วย
นม                                                                          1  แก้ว
น้ำผึ้ง                                                                       2  ช้อนชา
ผลไม้สด                                                                 1  ชิ้น
ผลไม้อบแห้ง                                                         ¼  ถ้วย
น้ำตาลก้อน                                                            2  ก้อน
น้ำตาลกลูโคสเม็ด(ลูกอม)                                    2-3  เม็ด

ข้อควรระวังในการออกกำลังกายและการป้องกัน
1.  ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำจากการออกกำลังกาย
อาการใจสั่น  ตาลาย  เหงื่อออก  ตัวเย็น  อาจถึงขั้นหมดสติได้ในขณะออกกำลังกาย  ถ้ารู้สึกผิดปกติ  เช่น  เวียนศีรษะ  หน้ามืด  จุก  แน่นหน้าอก  รู้สึกเหนื่อยผิดปกติ  ให้หยุดพักทันที  ตรวจน้ำตาลและหาของหวานๆกิน
2.  ปัญหาเกี่ยวกับเท้า
มีการเสื่อมของเลือดหลอดและเส้นประสาททำให้เท้าชา  ไม่รู้สึก  เป็นแผลง่าย  ติดเชื้อง่าย  หายช้า

ควร

  1. สวมรองเท้าที่เหมาะสม  (พอดี,ไม่หลวม,พื้นนุ่มถ่ายเทดี,สวมถุงเท้า)  ในรายที่ฝ่าเท้าผิดรูปมาก  ควรใส่รองเท้าที่ตัดขึ้นโดยเฉพาะ

  2. ทำความสะอาดเท้าอย่างทั่วถึง

  3. ทาครีมทาผิวบางๆ  ถ้าผิวหนังแห้งเกินไป

  4. ตรวจเท้าอย่างละเอียดทุกวัน

  5. ซับเท้าให้แห้งด้วยผ้านุ่มโดยเฉพาะบริเวณซอกนิ้วเท้า

  6. ตัดเล็บเท้าให้ตรงให้มุมเล็บยังคงยาวคลุมนิ้วเพื่อป้องกันเล็บขบ


ไม่ควร

  1. ไม่ควรประคบเท้าที่ชาด้วยของร้อน

  2. ไม่ควรใช้วัตถุแข็งแคะซอกเล็บ

  3. ควรตัดเล็บหลังล้างเท้าหรืออาบน้ำใหม่ๆ  เพราะเล็บจะอ่อนและตัดง่าย  ไม่แช่เท้าก่อนตัดเล็บ

  4. ถ้าสายตามองเห็นไม่ชัด  ควรให้ผู้อื่นตัดเล็บให้

  5. ถ้ามีผิวหนังที่หนาหรือเป็นตาปลา  ควรได้รับการตัดให้บางทุก 6-8 สัปดาห์  โดยผู้ชำนาญ

  6. หมั่นบริหารเท้าให้เป็นกิจวัตรประจำวัน


3.  การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ  เอ็น  และกระดูก
ควรเลือกการออกกำลังกายที่เหมาะสมเริ่มจากระดับเบาๆ ก่อน  แล้วจึงค่อยๆ เพิ่มระดับความหนักขึ้นช้าๆ  มีการอุ่นเครื่องและผ่อนหยุดเสมอ  หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนักเกินไปหรือมากเกินไป
4.  ผู้เป็นเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อน



ทั้งนี้ผู้ป่วยเบาหวานควรปรึกษาแพทย์ก่อน  เพื่อให้ได้โปรแกรมการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับตน

วันพฤหัสบดีที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2557

การออกกำลังกายของผู้สูงอายุ

การออกกำลังกายของผู้สูงอายุ


 

การออกกำลังกายนั้นสำคัญมากนะครับ ไม่ว่าคุณจะเป็นเด็ก ผู้ใหญ่หรือวัยสูงอายุ เราควรจะมีการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับวัยและสุขภาพของตัวเอง เพราะการออกกำลังกายนั้นมีประโยชน์ต่อระบบการไหลเวียนโลหิตของร่างกายเรา ซึ่งจะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจโตและแข็งแรงขึ้น ปอดของเราจะมีประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีขึ้น สมองปลอดโปร่งมีความจำดี และการออกำลังกายจะทำให้ร่างกายหลั่งสารเอนโดรฟิน จากต่อมใต้สมองออกมา ซึ่งสารนี้มีฤทธิ์คล้ายมอร์ฟีน คือ ช่วยในการลดอาการเจ็บปวดเมื่อยล้า มีอารมณ์ดี จิตใจสบายไม่เครียด นอนหลับลึก ตื่นขึ้นมาก็สดชื่นแจ่มใจ  และวันนี้ผมจะมาแนะนำการออกำลังกายของผู้สูงอายุกันนะครับ

ผู้สูงอายุจะสามารถออกกำลังกายได้หรือ และจะออกกำลังกายแบบไหน อย่างไรจึงจะดี” คำ ตอบ คือ ผู้สูงอายุสามารถออกกำลังกายได้ เพียงแต่ต้องเลือกให้เหมาะกับสภาพร่างกาย โดยทั่วไปการออกกำลังกายในผู้สูงอายุ อาจ แบ่งกว้างๆเป็น 2 ประเภท ได้แก่


  1. การออกกำลังกายหรือการบริหารเฉพาะส่วน มัก ใช้เพื่อการรักษาโรค เช่น การบริหารข้อไหล่ในผู้ป่วยโรคไหล่ติด การบริหารกล้ามเนื้อหลังในผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลัง และการบริหารกล้ามเนื้อรอบข้อเข่าในกรณีที่มีข้อเข่าเสื่อม เป็นต้น

  2. การออกกำลังกายโดยทั่วไป เป็น การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพหรือนันทนาการ ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจและระบบไหลเวียนโลหิต และเพื่อผ่อนคลาย การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพหรือที่นิยมเรียกกว่าการออกกำลังกายชนิดแอโรบิค (aerobic exercise) หมายถึงการออกกำลังกายที่กล้ามเนื้อมีการเกร็งตัวและคลายตัวสลับกันอย่างต่อ เนื่องในระยะเวลาที่กำหนด การออกกำลังกายแบบแอโรบิคนี้ มีประโยชน์มากสำหรับผู้สูงอายุ และช่วยป้องกันโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตันได้ ตัวอย่างการออกกำลังกายแบบนี้ได้แก่ การวิ่งเหยาะหรือที่เรียกว่า จ๊อกกิ้ง การเดินอย่างเร็ว ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ เต้นแอโรบิค หรือการใช้อุปกรณ์บางอย่างช่วย เช่น การเดินบนสายพาน ขี่จักรยานอยู่กับที่ เป็นต้น



   หลักการ ออกกำลังกายแบบแอโรบิคคือต้องพิจารณาถึงความหนักของการออกกำลังกาย โดยปกติตามทฤษฎีแล้วถ้าเป็นผู้ที่มีอายุมากจนเกินไปและออกกำลังกาย มาอย่างสม่ำเสมอควรเริ่มออกกำลังกายที่ความหนักร้อยละ 60 ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุดของแต่ละบุคคล และไม่ควรเกิน ร้อยละ 85 ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุดของแต่ละบุคคล แต่ถ้าเป็นผู้สูงอายุก็อาจจะเริ่มออกกำลังกายที่ความหนักร้อยละ 55 ของอัตรา การเต้นหัวใจสูงสุด และไม่ควรเกินร้อยละ 80 ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุด อย่างไรก็ดี ความหนักของงานอาจจะเปลี่ยนแปลง ไปตามระดับสมรรถภาพของแต่ละบุคคล ฉะนั้นผู้สูงอายุที่ผ่านการตรวจสมรรถภาพทางกายจากแพทย์ อาจจะถูกห้ามไม่ให้ออกกำลัง กายเกินกว่าร้อยละ 70-75 ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุดก็ได้ เนื่องจากอาจเกิดอันตรายจากการออกกำลังกายได้ ถ้าออกกำลังกาย มากกว่าระดับนี้ ซึ่งโปรแกรมการออกกำลังกายก็ขึ้นอยู่กับผลการทดสอบสมรรถภาพทางกายนั่นเอง


การคำนวณหาค่าร้อยละของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุดมักจะหาจากสูตรของ คาร์โวเน็น (Karvonen Principle)

















เป้าหมายอัตราการเต้นหัวใจ

= อัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก



+ จำนวนร้อยละของอัตราการเต้นหัวใจ สูงสุดที่ออกกำลังกาย



x (220 – อายุ – อัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก)












ตัวอย่างเช่น ผู้สูงอายุคนหนึ่งอายุ 70 ปี ต้องออกกำลังกายจนถึงอัตราการเต้นหัวใจสูงสุดร้อยละ 60 โดยสามารถวัดอัตรา การเต้นของหัวใจขณะพักได้ 80 ครั้งต่อนาที


ผู้สูงอายุคนนี้ควรออกกำลังกายจนถึงอัตราการเต้นของหัวใจเท่าไร ?






















เป้าหมายชีพจรในการออกกำลังกาย



= 80 + 60 % (220 – 70 – 80)



= 80 + 42



= 122 ครั้งต่อนาที



คำตอบก็คือผู้สูงอายุคนนี้ควรออกกำลังกายจนมีอัตราการเต้นของหัวใจเท่ากับ 122 ครั้งต่อนาที




ตัวอย่างชนิดของการออกกำลังกายที่เหมาะสมในผู้สูงอายุ    

เดินเร็ว :

การเดินเร็วเป็นกีฬาและการออกกำลังกายที่ดีสำหรับผู้สูงอายุ ช่วยให้ระบบไหลเวียนโลหิตของร่างกาย มีความแข็งแรง ลดความดันโลหิต ช่วยให้นอนหลับได้สบาย แก้ไขปัญหาท้องผูก ลดการสูญเสียมวลกระดูกในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ก่อให้เกิดความตึงตัวของกล้ามเนื้อ และเพิ่มการเผาผลาญพลังงานที่เป็นส่วนเกินของร่างกาย การเดินเร็วเป็นกีฬาหรือการออกกำลังกายที่ผู้สูงอายุสามารถปฎิบัติได้ใน เกือบทุกเวลา แต่ไม่ควรปฏิบัติหลังจากรับประทานอาหารทันที หรือช่วงที่มีอากาศร้อนจัด เพราะทำให้ระบบไหลเวียนทำงานหนักร่างกายสูญเสียเกลือแร่และน้ำในร่างกายมาก เกินไปซึ่งจะเป็นอันตรายได้ ในระยะแรกๆ หรือสัปดาห์แรกของการเดินเร็ว ควรปฎิบัติอย่างเบาๆ ไม่หักโหม โดยใช้เวลาในการเดิน เร็วประมาณ 10-15 นาที ควรเดินในพื้นราบ หลีกเลี่ยงบริเวณที่เป็นเนินสูงหรือขั้นบันได และในอาทิตย์ต่อมาควรเดินในลักษณะเช่นเดียวกันแต่ควรเพิ่มความเร็ว และระยะเวลาเพิ่มมากขึ้น หลังจากนั้นให้เพิ่ม ระยะเวลาเป็น 20-30 นาที ต่อครั้ง และอาทิตย์ละ 3-4 ครั้ง

การวิ่งเหยาะๆ :
   การวิ่งเป็นกีฬาและการออกกำลัง กายแบบแอโรบิคที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย หรือเสียค่าใช้จ่ายน้อย สำหรับ การวิ่งที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ ควรเป็นการวิ่งเหยาะๆ ที่ไม่ต้องการความเร็ว เป็นการวิ่งแบบเบาๆ ไม่หักโหม การวิ่งเป็นกีฬาและ การออกกำลัง กาย ที่ช่วยให้สุขภาพผู้สูงอายุดีขึ้น เช่น ความดันโลหิตลดลง น้ำตาลในโลหิตที่สูงก็ลดลง อาการปวดข้อหรือปวดกระดูก ในผู้หญิงวัยหมด ประจำเดือน หายไป อาการปวดแน่นหน้าอกก็ไม่เกิดขึ้นอีก หลีกเลี่ยงการวิ่งบนพื้นที่แข็ง การวิ่งบนพื้นดินดีกว่าการวิ่งบนพื้นยาง พื้นยางดีกว่าคอนกรีต การวิ่งบนพื้นหญ้าดี แต่อาจจะมีหลุม หิน หรือสิ่งอื่นๆที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ไม่ควรวิ่งแบบออกแรงกระแทกที่ส้นเท้า เข่า ข้อเท้า เท้าและนิ้วเท้า

ว่ายน้ำและการออกกำลังกายในน้ำ:
   การ ว่ายน้ำเป็นหนทางที่ดีที่สุดในการปรับปรุงสภาพร่างกายให้สมบูรณ์และเหมาะสม เป็นการลด การบาดเจ็บบริเวณข้อต่างๆ ได้ดี ผู้สูงอายุที่มีอาการเจ็บบริเวณข้อสามารถที่จะว่ายน้ำหรือออกกำลังกายในน้ำ ได้


ถึงแม้ว่าการออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ดีสำหรับผู้สูงอายุ แต่สิ่งที่ผู้สูงอายุควรระวัง เป็นอย่างยิ่งถ้าพบว่าตนเองมีอาการของโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคปอด เป็นต้น ก็ไม่ควรเริ่มออกกำลังกายทันที ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเพื่อรับคำแนะนำที่เหมาะสม มิฉะนั้นอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ เห็นไหมละครับว่าถึงจะเป็นวัยสูงอายุแล้ว พ่อใหญ่ แม่ใหญ่ ก็สามารถออกกำลังกายได้เพียงแค่เลือกการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับวัยเท่านั้นเอง



วันอังคารที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557

โรคมะเร็งต่อมธัยรอยด์ (Thyroid cancer)

โรคมะเร็งต่อมธัยรอยด์ (Thyroid cancer)


 

ต่อมธัยรอยด์ เป็นต่อมไร้ท่อที่ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนเพื่อช่วยให้การทำงานของเซลต่างๆ ในร่างกายเป็นปกติ อาจพบความผิดปกติของต่อมธัยรอยด์ได้หลายอย่าง เช่น คอพอก คอพอกเป็นพิษ เนื้องอกของต่อมธัยรอยด์ ต่อมธัยรอยด์อักเสบ และมะเร็งต่อมธัยรอยด์ เป็นต้น

อุบัติการณ์
พบมะเร็งต่อมธัยรอยด์ได้ประมาณ 10% ของก้อนที่ต่อมธัยรอยด์ พบได้ตั้งแต่อายุ 10 ปีขึ้นไป จนถึงอายุ 70-80 ปี ส่วนใหญ่พบในช่วงอายุ 40-60 ปี พบได้ทั้งเพศหญิงและเพศชาย หากพบในเพศชาย หรือพบในอายุ น้อยมาก หรือ แก่มาก จะมีความรุนแรงของโรคมากกว่า

อาการและอาการแสดงของโรคมะเร็งต่อมธัยรอยด์



            มะเร็งต่อมธัยรอยด์ ในระยะแรกมักไม่มีอาการ จะพบเพียงก้อนที่ต่อมธัยรอยด์ซึ่งอยู่ทางด้านหน้าของลำคอ เคลื่อนขึ้นลงตามการกลืน เท่านั้น บางรายจะมีก้อนอยู่นานหลายปี ก่อนที่จะโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ในระยะลุกลาม อาจพบก้อนบริเวณด้านข้างลำคอด้วย ซึ่งเกิดจากมะเร็งแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง นอกจากนี้อาจพบมะเร็งแพร่กระจายไปที่กระดูก ทำให้กระดูกหัก หรือมีก้อนขึ้นตามกระดูกในที่ต่างๆ เช่นกระโหลกศีรษะ ไหปลาร้า กระดูกซี่โครง กระดูกเชิงกราน เป็นต้น อาจพบมีอาการเสียงแหบ หรือกลืนลำบาก
แพทย์ สามารถให้การวินิจฉัยเบื้องต้นว่าเป็นมะเร็งต่อมธัยรอยด์หรือไม่จากการตรวจ ร่างกาย และใช้เข็มฉีดยาขนาดเล็กเจาะดูดเอาเนื้อเยื่อของก้อนที่ต่อมธัยรอยด์ไปตรวจ ชันสูตร

การรักษาโรคมะเร็งต่อมธัยรอยด์


มะเร็งต่อมธัยรอยด์ จัดเป็นมะเร็งที่ได้ผลดีในการรักษา หากเป็นมะเร็งในระยะแรก สามารถใช้การผ่าตัดรักษา และตามด้วยการกินยาเพื่อควบคุมการเติบโตของมะเร็งตลอดชีวิต หากมะเร็งเป็นในระยะลุกลาม มักจะต้องใช้การผ่าตัด ร่วมกับการกินสารกัมมันตรังสี ไอโอดีน 131 และตามด้วยการกินยาเพื่อควบคุมการเติบโตของมะเร็งตลอดชีวิต


ผลการรักษาและการพยากรณ์โรคโรคมะเร็งต่อมธัยรอยด์


มะเร็งต่อมธัยรอยด์จัดเป็นมะเร็งที่มีการพยากรณ์โรคดีมากที่สุดอันดับหนึ่งใน มะเร็งทั้งหลาย ในผู้ป่วยที่เป็นไม่มากและได้รับการรักษาที่ถูกต้อง สามารถมีชีวิตอยู่โดยปราศจากโรคอีก10-20 ปี สูงถึง 80-90%

คำแนะนำ
หากมีก้อนที่บริเวณด้านหน้าลำคอ ซึ่งเคลื่อนที่ขึ้นลงตามการกลืน ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและให้การรักษา

 

เครดิต

รศ.นพ.อดุลย์ รัตนวิจิตราศิลป์
Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

วันจันทร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ประโยชน์ 13 อย่าง ของการปั่นจักรยานออกกำลังกาย

การปั่นจักรยานออกกำลังกาย


ประโยชน์ 13 อย่าง ของการปั่นจักรยานออกกำลังกาย


การออกกำลังกายนั้นไม่ว่าคุณจะออกกำลังกายด้วยวิธีไหน มันก็เป็นประโยชน์กับตัวเองทั้งนั้นครับ เราต้องเลือกการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับตัวเอง แต่สำหรับผมนั้น ผมคิดว่าการปั่นจักรยานออกกำลังกายนั้น เหมาะสมกับตัวเองที่สุดแล้วในตอนนี้  เรามาดูประโยชน์ 13 อย่างของการปั่นจักรยานออกกำลังกายกันเลยนะครับ

1. ช่วยให้นอนหลับลึกกว่าเดิม


การออกปั่นจักรยานตอนเช้าๆ ช่วยให้เราหลับได้ลึกกว่าเดิมและลดปัญหาการนอนไม่หลับ คณะแพทยศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ดได้ทดลองให้คนที่มีปัญหานอนหลับยาก (Insomnia) ออกไปปั่นจักรยานตอนเช้าทุกๆ วัน วันละ 20-30 นาที ผลปรากฏว่าคนที่มีปัญหาการนอนไม่หลับสามารถนอนหลับสนิทได้เร็วขึ้นเกือบ หนึ่งชั่วโมง จากแต่ก่อนที่อาจจะต้องนอนรอให้ง่วงเป็นเวลานาน การไปออกกำลังกายยามเช้าช่วยให้ร่างกายเราได้รับแสงแดดตามเวลาที่ควรจะเป็น ช่วยให้ร่างกายหลับได้ง่ายขึ้นในตอนกลางคืนครับ

Biological clock human ปั่นจักรยานดีอย่างไร?   13 benefits of cycling

2. ช่วยให้หน้าตาดูอ่อนวัยกว่าเดิม


ข้อนี้หลายคนน่าจะชอบ การปั่นจักรยานช่วยให้ร่างกายเราลำเลียงอ๊อกซิเจนและสารอาหารได้ดีขึ้น และช่วยขับถ่ายสารพิษในร่างกายได้มีประสิทธิภาพขึ้น นอกจากนี้การออกกำลังกายอย่างการปั่นจักรยานจะช่วยกระตุ้นการผลิตสารคอลลา เจน ช่วยลดรอยเหี่ยวย่นบนใบหน้า จึงไม่แปลกว่าทำไมคนที่ปั่นจักรยานเป็นประจำจึงหน้าตาอิ่มเอิบและผิวพรรณสด ใสครับ (แต่อย่าลืมถ้าครีมกันแดดก่อนออกรอบหละ)

3. ขับถ่ายได้ง่ายขึ้น


ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจากมหาวิทยาลัย Bristol ยืนยันว่าการปั่นจักรยานจะช่วยกระตุ้นให้อาหารไหลผ่านลำไส้ได้เร็วกว่าซึ่ง ช่วยลดการดูดซับน้ำในลำไส้ใหญ่ หมายความว่าก้อนอุจจาระก็จะไม่แห้งทำให้เราถ่ายได้คล่องขึ้นครับ นอกจากนี้การปั่นจักรยานช่วยกระตุ้นการหายใจและอัตราการเต้นของหัวใจ ซึ่งเพิ่มกำลังในการบีบรัดตัวของลำไส้ ช่วยให้เราไม่รู้สึกอึดอัดหลังการทานอาหาร และป้องกันโรคมะเร็งลำไส้อีกด้วย

4. เพิ่มประสิทธิภาพสมอง


ผลวิจัยจากมหาวิทยาลัยอิลินอยส์พบว่าคนที่ปั่นจักรยานเป็นประจำทำคะแนน การทดสอบสมองได้ดีกว่าปรกติถึง 15% เพราะว่าการปั่นจักรยานช่วยกระตุ้นการสร้างเซลล์สมองในส่วน Hippocampus  เป็นส่วนที่ใช้บันทึกความจำ ซึ่งจะเสื่อมอย่างรวดเร็วหลังอายุ 30 ครับ ช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้เป็นอย่างดี

5. สุขภาพโดยรวมแข็งแรงขึ้น


เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่าการออกกำลังกายช่วยให้ระบบภูมิต้านทานของเรา แข็งแรงขึ้น เชื้อโรคต่างๆ ก็มีผลกับเราได้น้อยลง รายงานสุขภาพจากอังกฤษบอกว่าคนที่ปั่นจักรยานอย่างน้อย 30 นาทีเป็นเวลาห้าวันต่อสัปดาห์มีโอกาสป่วยน้อยกว่าคนที่ไม่ออกกำลังกาย เลยกว่าเท่าตัว ข้อนี้แอดมินรู้ดี เพราะหลังจากเริ่มปั่นจักรยาน อาการหอบหืดเรื้อรังที่เป็นมาตั้งแต่เด็กก็ค่อยๆ หายไปจนตอนนี้หายขาดแล้วครับ

6. อายุยืนยาว


ผลวิจัยจากมหาวิทยาลัย King’s Collegel London ทดสอบฝาแฝดกว่า 2,400 คู่ พบว่าแฝดคนที่ปั่นจักรยานแค่ 45 นาที สามครั้งต่อสัปดาห์ มีอายุยืนยาวกว่าคู่แฝดที่ไม่ออกกำลังกายกว่า 9 ปีโดยเฉลี่ย สาเหตหลักๆ ที่ช่วยให้อายุยืนขึ้นก็เพราะการปั่นจักรยานพัฒนาระบบเลือดและระบบหายใจ ช่วยลดโรคความดัน โรคอ้วน มะเร็งประเภทต่างๆ โดยรวมร่างกายจะมีประสิทธิภาพในการฟื้นฟูรักษาตัวเองมากขึ้นครับ ช่วยลดความเสี่ยงการเป็นโรคหัวใจได้กว่า 50%

 

7. พิทักษ์โลก


พื้นที่ในการจอดรถยนต์หนึ่งคัน สามารถใช้จอดจักรยานได้กว่า 20 คัน เราใช้วัตถุดิบและสารเคมีต่างๆ และพลังงาน ในการผลิตจักรยานหนึ่งคันน้อยกว่าการผลิตรถยนต์ถึงห้าเท่า แน่นนอน จักรยานไม่ก่อมลพิษ การปั่นจักรยานยังประหยัดพลังงานมากกว่าการเดินถึงสามเท่าในระยะทางเท่าๆ กัน

ผู้ผลิตรถยนต์สมัยนี้ชอบอวด “กิโล/ลิตร” – ว่ารถตัวเองใช้น้ำมันกี่ลิตรต่อระยะทางหนึ่งกิโล เจอจักรยานแล้วจะหนาว เพราะถ้าลองเปรียบเทียบพลังงานที่เราใช้ในการปั่นจักรยาน แปลออกมาให้เหมือนรถยนต์…จะได้ประมาณ​ 4705 กิโล/ลิตร ครับ!

8. เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ


ข้อนี้เห็นหลายคนในเว็บบอร์ด Thaimtb คอนเฟริ์มครับ การปั่นจักรยานช่วยพัฒนาระบบหมุนเวียนเลือด ซึ่งผลข้างเคียงคือเพิ่มความต้องการทางเพศ ผลการศึกษาจากมหาวิทยาลัยคอร์เนล สหรัฐ พบว่านักกีฬาจักรยานมีสมรรถภาพทางเพศเหมือนกับคนที่อายุอ่อนกว่า 4-5 ปี ในขณะที่นักกีฬาหญิงเลื่อนอาการวัยหมดประจำเดือน (menopause) ออกไปได้กว่า 5 ปี ผลวิจัยจากฮาวาร์ดยังแถมให้อีกว่าผู้ชายที่อายุมากกว่า 50 ปีที่ปั่นจักรยานเป็นประจำช่วยลดความเสี่ยงอาการ “นกเขาไม่ขัน” ได้กว่า 30%

9. ลูกในครรภ์มีสุขภาพแข็งแรง


ผลวิจัยจากมหาวิทยาลัยมิชิแกนรายงาว่าคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ แต่ออกกำลังกายเป็นประจำจะฟื้นฟูร่างกายหลังการคลอดได้ดีกว่าแม่ที่ไม่ออก กำลังกาย แถมลูกในท้องจะสามารถพัฒนาระบบประสาทได้ดีกว่าปรกติอีกด้วย

10. ทำงานได้ดีขึ้น


การศึกษาจากมหาวิทยาลัย Bristol พบว่าพนักงานที่ออกกำลังกายก่อนเข้า หรือหลังทำงาน มักจะทำงานได้มีประสิทธิภาพดีกว่าคนปรกติที่ไม่ออกกำลังกาย การออกกำลังกายช่วยเพิ่มความมั่นใจ ความมุ่งมั่นในการทำงานและช่วยให้รับความเครียดจากการทำงานได้ดีขึ้นด้วย นอกจากนี้พนักงานที่ออกกำลังกายเป็นประจำมักจะใช้เวลาพักน้อยกว่าคนอื่น ทำงานเสร็จได้ตามเดดไลน์ และมีอัธยาศัยดีกว่าคนอื่นๆ ด้วยครับ

11. ลดความอ้วน


เป็นที่ทราบกันดีว่าการปั่นจักรยานช่วยเพิ่มอัตราการเผาผลาญไขมันส่วน เกินในร่างกาย แต่มันไม่ได้เผาพลาญแค่เฉพาะตอนที่เราปั่นนะครับ ผู้เชี่ยวชาญบอกว่าร่างกายของคนที่ปั่นจักรยานเป็นประจำจะมีสภาวะ “After Burner” หรือเผาผลาญไขมันส่วนเกินต่อเนื่องหลังจากลงจากจักรยานแล้วต่อไปอีก 2-3 ชั่วโมง ซึ่งโดยรวมแล้วการเผาผลาญหลังการปั่นอาจจะมากกว่าระหว่างปั่นอีกด้วยซ้ำ

นักปั่นที่ซ้อมแบบ interval (สลับการออกแรงปั่นช้า + เร็วตามระยะเวลาที่กำหนด) สามารถเผาผลาญไขมันได้มากกว่าคนที่ปั่นด้วยความเร็วคงที่กว่า 3.5 เท่าอีกด้วย

gary cyclist(2) ปั่นจักรยานดีอย่างไร?   13 benefits of cycling

12. มีเพื่อนมากขึ้น มีความสุขมากขึ้น


สังคมการปั่นจักรยานในเมืองไทยค่อนข้างจะอบอุ่นและเป็นมิตร ใครเห็นกันปั่นบนจักรยานก็มักจะกวักมือทักทายกันเสมอๆ และหากใครมีปัญหาอะไรก็มักจะช่วยเหลือกัน แบ่งความรู้กันอยู่แล้ว การเข้ากลุ่มปั่นกับคนอื่นๆ นอกจากจะช่วยให้เรามีกำลังใจและมีเหตุผลออกปั่นมากขึ้นแล้วยังช่วยส่งเสริม สุขภาพเราในทางอ้อมด้วยครับ ผลการศึกษาจากมหาวิทยาลัย Howard พบว่าคนที่ไม่มีเพื่อนและไม่เข้าสังคมมีความเสี่ยงในการเจ็บป่วยมากกว่าคน สูบบุหรี่และคนที่เป็นโรคอ้วนเสียอีก อย่างที่เขาว่ากันสภาพจิตใจเราบ่งบอกถึงสภาพร่างกายครับ

13. ลดอาการเหนื่อยล้าและความเครียด


บางครั้งที่เราเหนื่อยล้า หม่นหมองไม่อยากทำอะไร การออกไปปั่นจักรยานรับอากาศบริสุทธิ์จะช่วยให้เราสดชื่นขึ้นอย่างน่า ประหลาดใจ ผมเชื่อว่าหลายๆ คนคงเจออาการนี้ครับ ตกเย็น เบื่อ หม่นหมอง ไม่อยากไปไหน แต่พอคว้าจักรยานออกไปปั่นกลับรู้สึกดีขึ้นและคลายความเครียดความกังวลไปได้ หมด งานวิจัยสุขภาพในสหรัฐหลายๆ ชิ้นยืนยันว่าการออกกำลังกายช่วยลดความหดหู่และความเหนื่อยล้าได้เป็นอย่าง ดีครับ

สำหรับการออกกำลังกายตอนเช้านั้น จะทำให้ภูมิต้านทานในร่างกายลดลง และการออกกำลังกายตอนเย็น จะทำให้ภูมิต้านทานในร่างกายเพิ่มขึ้น ดูในแง่นี้ถ้าไข้หวัดระบาด การออกกำลังกายตอนเย็นจะได้ 3 ต่อ มีกรณีเดียวที่ออกกำลังกายตอนเช้าได้ประโยชน์คือ พวกที่มีภูมิต้านทานมากไป เช่นโรคภูมิแพ้ได้แก่ หอบหืด แพ้อากาศ แพ้ฝุ่น หรือโรคพุ่มพวงดวงจันทร์ ออกกำลังกายตอนเช้าช่วยลดภูมิต้านทาน จึงเท่ากับช่วยให้คน ๆ นั้น กินยาลดภูมิต้านทานน้อยลงได้  แต่ผมคิดว่าจะออกกำลังกายตอนไหนก็ได้ครับ เรามีเวลาว่างตอนไหนก็ออกกำลังกายตอนนั้นยังไงก็ได้สุขภาพดีเหมือนกัน

 

อ้างอิงข้อมูล

www.bikeradar.com

www.cyclingtips.com.au

http://www.duckingtiger.com