วันจันทร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

โรคไขมันในเส้นเลือดสูง




โรคไขมันในเส้นเลือด



















โรคไขมันในเส้นเลือดสูง


สำหรับโรคไขมันในเส้นเลือดสูงนั้นในปัจจุบันนี้เป็นกันมากเลยครับ เพราะเดี๋ยวนี้เราหันมานิยมกินอาหารฟาสต์ฟู้ด กินน้ำอัดลม ขนมหวาน ขนมกรุบกรอบ ชาเขียว (อันสุดท้ายนี้ผมก็เป็นครับอิอิ อยากได้เงินสักล้านนึง เอาใว้รักษาโรคนะ ) ซึ่งอาหารจำพวกนี้จะมีแต่แป้งและน้ำตาล ซึ่งเป็นต้นเหตุของโรคไขมันในเส้นเลือดสูง พอเราเป็นโรคไขมันในเส้นเลือดสูง เลือดก็จะไหลเวียนไม่สะดวกแล้วก็จะเป็นโรคความดันตามมา ต่อมาก็จะเป็นโรคหัวใจอีก โรคพวกนี้มันจะมากันเป็นเซ็ตแบบนี้แหละ

    โรคไขมันในเลือดสูง เป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับไขมันในเลือดสูงกว่าปกติ อาจเป็นระดับโคเลสเตอรอลสูง หรือระดับไตรกลีเซอร์ไรด์สูงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือสูงทั้งสองชนิดก็ได้ ภาวะไขมันในเลือดสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

ไขมันในเลือดมีหลายชนิดแต่ที่สำคัญได้แก่...
1. โคเลสเตอรอล ร่างกายสามารถสร้างขึ้นเองและอีกส่วนหนึ่งได้รับจากอาหาร แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
1.1  โคเลสเตอรอลชนิดอันตราย (แอล ดี แอล โคเลสเตอรอล / LDL) ถ้ามีในระดับสูงเกินไปจะไปสะสมที่เยื่อบุด้านในของหลอดเลือดแดง ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแข็ง ตีบ หรืออุดตัน
1.2  โคเลสเตอรอลชนิดดี (เอช ดี แอล โคเลสเตอรอล / HDL) เป็นชนิดที่มีประโยชน์ ทำหน้าที่นำโคเลสเตอรอลที่เหลือไปทำลายที่ตับ ผู้ที่มีโคเลสเตอรอลชนิดนี้สูงจะช่วยป้องกันการเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง






































2. ไตรกลีเซอร์ไรด์ เป็นไขมันอีกชนิดหนึ่งที่ร่างกายสร้างขึ้นเองและได้รับจากอาหาร  ทำให้หลอดเลือดอุดตันได้

สาเหตุของการเกิดภาวะไขมันในเลือดสูง
1. ความผิดปกติทางกรรมพันธุ์
2. กินอาหารที่มีไขมันโคเลสเตอรอลสูง หรืออาหารที่ให้พลังงานมากเกินความต้องการของร่างกาย
3. โรคหรือการใช้ยาบางชนิด เช่น ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติ โรคเบาหวาน โรคไต ยาขับปัสสาวะ ยาสเตียรอยด์ เป็นต้น
4. การดื่มสุราในปริมาณมากเป็นประจำ ทำให้ไตรกลีเซอร์ไรด์สูง
5. ขาดการออกกำลังกาย

อันตรายจากภาวะไขมันในเลือดสูง
ระดับไขมันในเลือดสูง ทำให้หลอดเลือดแดงแข็ง ตีบ อุดตัน ส่งผลให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ เช่น โรคหัวใจขาดเลือด อัมพฤกษ์ อัมพาต ไตวาย หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงขาตีบตัน ตับอ่อนอักเสบ เป็นต้น

การรักษาภาวะไขมันในเลือดสูง
1. ควบคุมอาหาร

อาหารที่ควรทาน
- นมพร่องมันเนยหรือนมขาดมันเนย
- เนื้อปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน โดยแยกเอาไขมันและหนังออกให้หมด ถั่วเมล็ดแห้ง
- ข้าวที่ไม่ขัดสีมาก ขนมปังโฮลวีท
- ผักสดต่าง ๆ รวมทั้งกระเทียม ข้าวโพด
- ผลไม้ไม่หวานจัด
- ใช้ไขมันจากพืช เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันมะกอก น้ำมันข้าวโพด น้ำมันรำ ประกอบอาหาร
- อาหารประเภทต้ม ต้มยำ แกงส้ม ยำ นึ่ง อบ ย่าง (ไม่มีกะทิเป็นส่วนประกอบ)
- ไขมันจากปลาทะเล สามารถลดระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ได้ ทำให้เกล็ดเลือดจับตัวน้อยลง
- อาหารที่มีไฟเบอร์ (เส้นใยอาหาร) สูง จะช่วยลดระดับโคเลสเตอรอล ทำให้การดูดซึมลดลง
- อาหารที่มีไฟเบอร์สูง ได้แก่ แบ่งอาหารตามปริมาณไฟเบอร์ในอาหาร






























อาหารที่ไม่ควรทาน
- อาหารที่มีไขมันมาก ได้แก่ อาหารทอด เช่น ไก่ทอด ไข่เจียว กล้วยแขก แกงกะทิ หลนต่าง ๆ ไส้กรอก กุนเชียง
- เนื้อสัตว์ติดมัน หนังเป็ด หนังไก่ ไข่แดง แฮม เบคอน หมูยอ
- อาหารทะเลบางชนิด เช่น ปลาหมึก หอยนางรม
- ขนมหวานที่มีส่วนประกอบของน้ำตาล และกะทิหรือมะพร้าว เช่น กล้วยบวชชี ขนมหม้อแกง ข้าวเหนียวหน้าต่าง ๆ
ข้าวโพดคลุกมะพร้าวน้ำตาล
- ขนมที่มีไขมันแฝงอยู่ เช่น ขนมขบเคี้ยว โดนัท เค้ก คุกกี้ ไอศกรีม
- ไขมันที่ได้จากสัตว์ เช่น เนย มันหมู มันวัว มันไก่

ตัวอย่างอาหาร ตามปริมาณของโคเลสเตอรอลในอาหาร 100 กรัม (เท่ากับ 1 ขีด)





































2. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วันละ 30 นาที เป็นการเพิ่มการเผาผลาญอาหาร  ช่วยลดโคเลสเตอรอลและเพิ่มระดับเอชดีแอลในเลือด ซึ่งเป็นตัวป้องกันการเกิดหลอดเลือดแดงแข็ง
3. งดสูบบุหรี่ บุหรี่ทำให้เอชดีแอลในเลือดต่ำลง และเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด
4. ลดน้ำหนัก ถ้าน้ำหนักเกิน
5. ปรึกษาแพทย์ ติดตามดูระดับไขมัน  บางรายอาจต้องใช้ยาช่วยลดระดับไขมัน ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้ชี้แนะและติดตามผลการรักษาต่อไป

ตอนนี้ผมก็มีไอ้โรคไขมันในเส้นเลือดสูงอยู่ในตัวอันนึงละ  ตอนนั้นระดับโคเลสเตอรอลสูงถึง 294 ไปหาหมอที่คลีนิค หมอก็ให้ยามากิน 1 เดือน พอไปตรวจก็ลดลงเหลือ 190 แล้วก็กินอาหารแบบเดิม ระดับโคเลสเตอรอล มันก็ขึ้นมาอยู่ประมาณ 240 นี้แหละ ผมยอมรับเลยครับว่าตอนนั้นขาดการออกกำลังกายเป็นประจำ เดี๋ยวจะรอผลตรวจโรคประจำปีของโรงงานช่วงปลายปี ว่ามันจะเหลือเท่าไหร่กันแน่

ขอบคุณข้อมูล

โดย พญ. พร้อมพรรณ พฤกษากร
แพทย์อายุกรรมต่อมไร้ท่อ ศูนย์ศรีพัฒน์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น