วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

โรคมะเร็งช่องปาก

โรคมะเร็งช่องปาก


โรคมะเร็งช่องปากเป็นมะเร็งที่สามารถวินิจฉัยโรคในระยะเริ่มแรก และสามารถรักษาหายขาดได้ ซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษาลง แต่กลับว่าอัตรารอดชีวิต 5 ปีของผู้ป่วยมะเร็งช่องปากมีเพียงประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับมะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูกที่พบอัตรารอดชีวิต 5 ปีสูงถึง 60 เปอร์เซ็นต์ ทั้งที่มะเร็งช่องปากสามารถตรวจพบในระยะเริ่มแรกได้เช่นเดียวกัน ทั้งนี้สาเหตุที่ทำให้อัตรารดอชีวิตน้อยเกิดจากการพบรอยโรคช้า เนื่องจากขาดความรู้ในการสังเกตอาการตนเอง ประชาชนจึงควรพบทันตแพทย์อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

โรคมะเร็งช่องปากคืออะไร


โรคมะเร็งช่องปากคือมะเร็งที่เกิดขึ้นที่ริมฝีปาก (มักจะเกิดที่ริมฝีปากล่าง) หรือภายในช่องปาก หรือในช่องคอ หรือต่อมน้ำลายหรือต่อมทอนซิล โดยจะพบในชายมากกว่าหญิง และพบมากในคนอายู 40 ปีขึ้นไป ซึ่งการสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์เป็นปัจจัยเสี่ยงหลัก ถ้าตรวจพบเร็ว มะเร็งในช่องปากสามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัด การฉายรังสี หรือ เคมีบำบัด มะเร็งในช่องปากอาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ โดยมีอัตราการรอดชีวิตประมาณ 5 ปี ถึง 50% สาเหตุส่วนหนึ่งของการตรวจไม่พบคือการไม่รู้ว่ามีอาการเริ่มแรก ดังนั้นการตรวจพบมะเร็งช่องปากในระยะแรกจึงเป็นปัจจัยสำคัญของการรักษา

อาการของมะเร็งช่องปากมีอะไรบ้าง


คุณอาจจะไม่พบสัญญาณเตือนเริ่มแรกของมะเร็งในช่องปาก และนี่คือสาเหตุว่าทำไมเราจึงควรพบแพทย์และทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอ ทันตแพทย์จะสามารถตรวจวิเคราะห์สัญญาณเตือนเริ่มแรกของมะเร็งในช่องปาก อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากการตรวจเป็นระยะแล้ว คุณควรจะพบทันตแพทย์ถ้าคุณมีอาการดังต่อไปนี้:

อาการเจ็บที่ริมฝีปาก เหงือก หรือภายในช่องปาก ซึ่งมีเลือดออกได้ง่าย และไม่หายขาด
ตุ่มหรือก้อนบริเวณแก้มซึ่งสามารถรู้สึกได้ด้วยลิ้น
การสูญเสียความรู้สึก หรืออาการชาในบริเวณใดก็ตามของช่องปาก
ฝ้าขาวหรือแดงที่เหงือก ลิ้น หรือภายในช่องปาก
ปัญหาในการเคี้ยวหรือกลืนอาหาร
อาการเจ็บที่ปากที่หาสาเหตุไม่ได้ หรือความรู้สึกว่ามีบางอย่างติดคอโดยหาสาเหตุไม่ได้
การบวมของขากรรไกรทำให้การสบฟันผิดปกติ
เสียงเปลี่ยนไป

เราจะป้องมะเร็งช่องปากได้อย่างไร


ถ้าคุณไม่ได้สูบบุหรี่ หรือเคี้ยวใบยาสูบ ก็ไม่ควรจะเริ่ม เนื่องจากยาสูบเป็นสาเหตุหลักในการเกิดมะเร็งในช่องปากถึง 80 - 90 %**

การสูบบุหรี่ — ความเกี่ยวข้องกันระหว่างการสูบบุหรี่กับมะเร็งปอดและโรคหัวใจเป็นเรื่องที่รับรู้กันอย่างแพร่หลาย การสูบบุหรี่ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวมของคุณด้วย ทำให้การต่อต้านการติดเชื้อ และการฟื้นตัวหลังอุบัติเหตุและการผ่าตัดยากขึ้น ในกลุ่มเด็กวัยรุ่น การสูบบุหรี่ทำให้การเจริญเติบโตหยุดชะงัก และมีปัญหาในพัฒนาการด้านต่าง ๆ ผู้สูบบุหรี่ส่วนมากจะไม่สามารถรับรู้กลิ่นหรือรสชาติได้ดีเท่าเดิม และยังทำให้เกิดกลิ่นปากและคราบบนฟัน สุขภาพของช่องปากของคุณอยู่ในจุดเสี่ยงทุกครั้งที่จุดบุหรี่ การสูบบุหรี่ ไพพ์ หรือซิการ์ เพิ่มโอกาสในการเกิดมะเร็งที่กล่องเสียง ปาก คอ และหลอดอาหาร เนื่องจากหลาย ๆ คนไม่ได้ระวังถึงอาการเริ่มแรก มะเร็งในช่องปากจึงมักจะกระจายก่อนที่จะถูกตรวจพบ
การเคี้ยวใบยาสูบ — การเคี้ยวใบยาสูบสามารถทำให้เกิดมะเร็งในช่องปากมากกว่าถึง 50 เท่า การงดสูบบุหรี่ ซิการ์ หรือ ไพพ์ และการงดเคี้ยวใบยาสูบจึงเป็นสิ่งที่ควรกระทำ ผู้ที่หยุดจะลดโอกาสการเกิดมะเร็งในช่องปากได้อย่างมาก แม้ว่าจะผ่านการใช้ยาสูบมาเป็นเวลาหลายปีก็ตาม การดื่มแอลกอฮอล์จำนวนมากหรือเป็นประจำ .

มะเร็งช่องปากรักษาได้อย่างไร


หลังจากที่ตรวจพบแล้ว ทีมผู้เชี่ยวชาญ (ศัลยแพทย์ช่องปากและทันตแพทย์) จะทำแผนการรักษาเพื่อให้เหมาะกับแต่ละผู้ป่วย ส่วนใหญ่มักจะต้องมีการผ่าตัด ตามด้วยการฉายรังสี และเคมีบำบัด เป็นการดีที่จะพบทันตแพทย์ที่มีความคุ้นเคยกับการเปลี่ยนแปลงที่การรักษาต่าง ๆ เหล่านี้สามารถทำให้เกิดในช่องปาก

ทุกครั้งที่คุณรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่มีแป้งและน้ำตาล แบคทีเรียจะสร้างกรดที่ทำลายเคลือบฟันเป็นเวลา 20 นาทีหรือนานมากนั้น เพื่อลดความเสียหายของเคลือบฟัน ควรจะลดจำนวนครั้งในการรับประทานอาหารระหว่างมื้อ และเมื่อต้องรับประทานอาหารว่าง ควรเลือกอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ เช่น เนยแข็ง ผักสด โยเกิร์ต หรือผลไม้

ผลข้างเคียงในช่องปากของการฉายรังสีมีอะไรบ้าง


เมื่อมีการฉายรังสีที่ส่วนศรีษะและลำคอ หลาย ๆ คนอาจจะมีอาการระคายเคืองในช่องปาก ปากแห้ง มีความลำบากในการกลืนอาหาร หรือการรับรู้รสชาติที่เปลี่ยนไป การฉายรังสียังเพิ่มโอกาสของฟันผุอีกด้วย ดังนั้นการดูแลฟัน เหงือก ช่องปากและคอจึงเป็นสิ่งสำคัญในระหว่างการฉายรังสี ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในการรักษามะเร็งและทันตแพทย์เกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ ที่คุณพบระหว่างและหลังจากการฉายรังสี นอกจากนี้ควรปรึกษาทันตแพทย์ของคุณก่อนที่รับการรักษามะเร็งที่บริเวณศรีษะและลำคอ สิ่งที่คุณทำทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการรักษา จะช่วยป้องกันผลข้างเคียงได้

เราจะรักษาสุขภาพปากและฟันที่ดีอย่างไรในระหว่างการรักษา


ควรแปรงฟันด้วยแปรงสีฟันที่มีขนแปรงอ่อนนุ่มหลังอาหาร และใช้ไหมขัดฟันทุกวัน หลีกเลี่ยงเครื่องเทศและอาหารที่ย่อยยาก เช่น ผักดิบ แครกเกอร์ และถั่ว ควรหลีกเลี่ยงยาสูบและแอลกอฮอล์ด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ควรเคี้ยวหมากฝรั่งหรือลูกอมที่ปราศจากน้ำตาลเพื่อให้ปากชุ่มชื่น ก่อนที่จะรับการฉายรังสี ควรแจ้งให้ทันตแพทย์ของคุณทราบเพื่อทำการตรวจอย่างละเอียด และควรให้ทันตแพทย์ของคุณคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านการฉายรังสีก่อนที่จะเริ่มรับการรักษาด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น