วันศุกร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

รู้ก่อนเป็นโรคกระเพาะอาหาร

โรคกระเพาะอาหาร

รู้ก่อนเป็นโรคกระเพาะอาหาร


วันนี้จะมาแนะนำเกี่ยวกับโรคกระเพาะอาหารกัน ที่ผมแนะนำตัวเองใว้ว่า ตัวผมนั้นมีโรคที่ได้มาฟรีๆ 3 โรคด้วยกันนั้น ผมลืมโรคกระเพาะอาหารไปเลยครับ เนื่องจากตอนนี้ผมหายแล้วก็เลยลืมมันไปเลย  ผมเป็นโรคกระเพาะอาหารนี้ ก็เพราะทำงานเข้ากะครับ มีกะเช้า กะบ่ายและกะดึก ทำให้กินอาหารไม่ตรงเวลา ก็ไปหาหมอที่คลีนิค หมอก็ให้ยามากินและบอกว่า การกินยาโรคกระเพาะอาหารนั้น ยาจะไปเคลือบแผลในกระเพาะอาหารของเรา จะทำให้เราหายจากอาการร้อนท้อง แสบท้อง สักระยะหนึ่ง แต่พอหมดฤทธิ์ยาแล้วก็จะกลับมามีอาการร้อนท้อง แสบท้องอีก ซึ่งก็จริงอย่างที่หมอแนะนำด้วยละ  เรามาดู 10 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโรคกระเพาะอาหารกัน

1. โรคกระเพาะอาหาร คืออะไร
พูดถึงโรคกระเพาะอาหาร บางคนนึกไปถึงการที่มีแผลในกระเพาะอาหาร แล้วก็เกิดอาการเจ็บปวดขึ้น ... นั่นเป็นส่วนหนึ่งเท่านั้น
คำว่าโรคกระเพาะ เป็นภาษารวมๆ หากจะเปรียบเทียบเป็นภาษาอังกฤษก็คงจะเขียนว่า Dyspepsia ซึ่งกินความอาการ จุก แน่น เสียด เจ็บ ปวดที่บริเวณลิ้นปี่หรือท้องส่วนบน ... ดังนั้นคำว่าโรคกระเพาะอาหารจึงเป็นคำบอกอาการ ซึ่งทั้งนี้โรคกระเพาะอาหารอาหารสามารถแบ่งได้เป็นกลุ่มที่มีแผล(แผลใหญ่ๆ แผลจุดเลือดออกเล็กๆหรือแม้กระทั่งมะเร็ง) และกลุ่มที่ไม่มีแผล
อีกอย่างหนึ่ง อาการโรคกระเพาะ อาจจะทำให้นึกถึงว่าเป็นโรคของกระเพาะอาหาร แต่ความจริงแล้ว อาการโรคกระเพาะ เกิดได้จากความผิดปกติของโรคตั้งแต่ทางเดินอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ถุงน้ำดี หรือแม้แต่ลำไส้ใหญ่

2. เมื่อการแพทย์เชื่อกันผิดๆมากว่า100ปี
หากเมื่อสัก30ปีก่อน มีแพทย์มาบอกคุณว่าจะรักษาโรคกระเพาะด้วยยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อแก้อักเสบ คุณคงเปลี่ยนไปรักษากับแพทย์คนอื่นแน่ๆ แต่เรื่องนี้ได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว
หลังจากเมื่อปีที่ผ่านมานี้มีแพทย์ชาวออสเตรเลียสองท่านได้รับรางวัลโนเบลใน สาขาสรีรศาสตร์หรือการแพทย์ก็คือ J. Robin Warren และ Barry J. Marshall ในฐานะที่เป็นผู้ค้นพบว่า โรคแผลในกระเพาะอาหารส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อ H. pyroli และได้หักล้างความเชื่อเดิมที่ว่าโรคกระเพาะทั้งหมดทั้งสิ้นนั้นเกิดมาจาก ความเครียดและการกินอาหารไม่ตรงเวลาซึ่งเชื่อกันมากว่า100ปี
หลังจากการประกาศความรู้ใหม่นี้ตั้งแต่เมื่อ10กว่าปีก่อน การรักษาโรคกระเพาะได้เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ไม่เคยมีมาก่อน ช่วงที่กระแสความรู้นี้ออกมาใหม่ๆ การรักษาโรคกระเพาะอาหารได้หันเหไปในทางการฆ่าเชื้อ H. Pylori ... และในที่สุด ปัจจุบันก็พบว่าโรคแผลในกระเพาะอาหารที่พบมีทั้งที่เกิดจากเชื้อและที่ไม่ ได้เกิดจากการติดเชื้อ

3. สาเหตุของโรคกระเพาะอาหาร
ช่วงที่มีข่าวเรื่องนี้ ผู้ป่วยบางคนถึงกับหลงคิดไปเลยว่าโรคกระเพาะทั้งหมดเกิดจากเชื้อโรค แต่ความจริงโรคกระเพาะและแผลในกระเพาะ ต่างมีสาเหตุได้หลายอย่าง สาเหตุต่างๆก็ได้แก่
- ยาบางชนิด ยาหลายชนิดมีส่วนที่ทำให้เกิดอาการปวดท้องโรคกระเพาะ แต่ที่พบบ่อยและเป็นปัญหาในบ้านเรามากที่สุด เห็นจะเป็นยากลุ่มแก้ปวดข้อปวดกล้ามเนื้อ และยาสเตียรอยด์ ซึ่งเป็นยาที่พบว่าใช้กันบ่อยและใช้กันผิดๆจนก่อโรคกระเพาะ
- บุหรี่ การสูบบุหรี่จะลดการสร้างสารป้องกันกระเพาะ และส่งเสริมการสร้างกรดในกระเพาะ จึงทำให้เกิดอาการของโรคกระเพาะและเมื่อเกิดแผลในกระเพาะก็จะหายได้ยาก
- เหล้า กาแฟ ชา เป็นกลุ่มเครื่องดื่มที่ส่งเสริมการสร้างกรดในกระเพาะ
- เชื้อโรค อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วก็คือ เชื้อH pylori
- โรคของอวัยวะใกล้เคียงของช่องท้อง เช่นโรคของตับ โรคของถุงน้ำดี(นิ่ว) ตับอ่อน พวกนี้อาการเริ่มแรกอาจจะเป็นอาการปวด และทำให้ผู้ป่วยเข้าใจผิดว่าเป็นโรคกระเพาะได้
- โรคการทำงานของกระเพาะและลำไส้ที่ผิดปกติ เป็นโรคที่เมื่อตรวจไปเสร็จแล้วไม่พบว่ามีแผลหรือลักษณะผิดปกติแต่อย่างใด แต่การทำงานของกระเพาะลำไส้ผิดปกติไปเองเช่นเคลื่อนไหวแรงหรือบีบตัวย้อนทาง จนก่ออาการปวด โรคในกลุ่มนี้ก็อย่างเช่นกลุ่ม IBS GERD
- มะเร็ง เจอไม่มาก แต่เป็นสิ่งที่แพทย์และผู้ป่วยต้องร่วมมือกันในค้นหาเพื่อจะได้รักษากัน อย่างถูกต้องและไม่หลงทางไปรักษาอาการปวดแต่อย่างเดียว
บางคนอาจจะเถียงว่า โรคในสามข้อล่างไม่ใช่โรคกระเพาะ แต่อย่าลืมนะครับว่าคนเราไปหาหมอ ไปหาด้วยอาการ ไม่ได้ไปหาด้วยชื่อโรค ดังนั้นก็ต้องคำนึงถึงโรคพวกนี้ไว้ด้วย

4. ส่องกล้อง จำเป็นหรือไม่ จะทำเมื่อไหร่ ถ้าไปเปิดตำราต่างประเทศ จะพบว่ามีการแนะนำให้ส่องกล้องผ่านทางปากเพื่อจะได้เห็นว่ากระเพาะและลำไส้ เป็นอย่างไร และดูว่ามีอะไรที่สงสัยมะเร็งหรือไม่ แต่นั่นก็ต่อเมื่อได้ทำการรักษาไปแล้วในช่วง1-2เดือน ในไทยยังนับว่าเป็นปัญหาอยู่ ทั้งที่ประเทศไทยต่างมียาแปลกใหม่ราคาแพงโอฬารตระการตา แต่การรักษายังมีแง่มุมอื่นนอกจากการใช้ยา นั่นคือ การหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นของตัวผู้ป่วยเอง ซึ่งการรักษาด้วยยาจะได้ผลน้อยมากหากผู้ป่วยเองไม่ได้หลีกเลี่ยงตัวกระตุ้น การส่องกล้องที่ดี จะทำเมื่อรักษาอย่างถูกต้องแล้วเป็นเวลา1-2เดือน(ถ้ามีแผล รักษาก็น่าจะหายแล้ว)แล้วยังมีอาการอยู่ การส่องกล้องจะเข้าไปดูได้ว่ามีแผลหรือไม่ ถ้ามีแผลก็สามารถตัดชิ้นเนื้อไปตรวจดูได้ว่าเป็นมะเร็งหรือไม่ หรือมีเชื้อหรือไม่ อย่างไรก็ดีก็อาจจะส่องกล้องก่อนได้ หากมีอาการที่บ่งชี้ว่าเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง

5. สัญญาณอันตราย
สัญญาณอันตรายดังต่อไปนี้ จะเป็นข้อมูลที่ทำให้แพทย์ส่งส่องกล้องดูกระเพาะอาหารโดยไม่รอการรักษาด้วยยากิน น้ำหนักลดผิดปกติ(มากกว่า10%ใน3เดือน) เบื่ออาหารมาก กลืนลำบาก ถ่ายอุจจาระดำหรือมีเลือดปน ลักษณะการถ่ายอุจจาระเปลี่ยนไปจากเดิม ซีดโลหิตจาง อาการรุนแรง มีประวัติโรคมะเร็งของทางเดินอาหารในครอบครัว อาการเหล่านี้จะทำให้ต้องระวังว่าอาจจะเป็นโรคมะเร็งได้

6. กินยาโรคกระเพาะอาหารโดยไม่ต้องส่องกล้องดีหรือไม่
ปัญหาการรักษาอย่างหนึ่งก็คือผู้ป่วยหลายคนไม่อยากส่องกล้อง และคิดว่าแค่กินยาไปเรื่อยๆก็น่าจะพอ ซึ่งนั่นไม่เพียงพอ เพราะอย่างที่บอกไปแล้วว่าสาเหตุของโรคกระเพาะยังมีโรคจากการติดเชื้อและ มะเร็ง ซึ่งหากรักษาด้วยยาลดกรดเพียงอย่างเดียวก็ไม่มีทางหาย
ข้อควรรู้คือ มะเร็งกระเพาะ กินยาลดกรดในกระเพาะ ก็หายปวดท้องได้....
ดังนั้นถ้าแพทย์บอกว่าควรส่องก็น่าจะไปส่องครับ

7. ประโยชน์ของการรักษาตามแนวทางการรักษา
ปกติแพทย์จะสั่งยาตามมาตรฐานการรักษาอยู่แล้ว หากแต่ว่าการรักษายังต้องการความร่วมมือในการหลีกเลี่ยงตัวกระตุ้นจากผู้ป่วย ถ้าผู้ป่วยกินเหล้า สูบบุหรี่ กินยาแก้ปวดเป็นประจำและไม่ยอมหยุดยา ก็จะเกิดปัญหาตามมา ก็คือ ถึงเอาไปส่องกล้องก็จะมีโอกาสเจอแผลในกระเพาะสูง จนทำให้แพทย์หลายคนในรพ.รัฐเบื่อที่จะต้องส่องกล้องกระเพาะอาหาร เพราะผู้ป่วยบางคน ไม่ยอมหยุดปัจจัยเสี่ยง แต่ก็ต้องการยาลดกรด นอกจากนี้บางคนยังมีความต้องการส่องกล้องหลายๆครั้ง กล่าวโทษผู้รักษา(ว่ารักษาไม่ดี) ต้องการยาเกินความจำเป็น ก่อความเครียดในทั้งผู้ป่วยและแพทย์ นอกจากนี้ยังมีผลทำให้เกิดความล่าช่าในการตรวจหามะเร็ง อย่างเช่นครั้งหนึ่งที่ผมเคยส่องกล้องกระเพาะอาหารในผู้ป่วยซึ่งไม่ยอมหยุด การสูบบุหรี่ดื่มเหล้าและใช้ยาแก้ปวด ส่องไปก็พบแผลขนาดครึ่งซม.เป็นสิบแผลกระจายกันตามตำแหน่งต่างๆ ครั้นจะตัดชิ้นเนื้อจากทุกแผล ก็ทำได้ยาก ทำได้เพียงแต่ชี้ให้ผู้ป่วยเห็นว่ามีแผลมากมาย น่าจะหยุดปัจจัยเสี่ยงได้แล้ว.... (ครั้งสุดท้ายที่พบผู้ป่วยรายนี้ ก็ยังเลิกตัวกระตุ้นเหล่านี้ไม่ได้และยังปวดท้อง)ในทางกลับกัน ผู้ป่วยที่ร่วมมือในการรักษาอย่างดี ยอมหยุดปัจจัยเสี่ยงทุกตัว เมื่อนำมาส่องกล้องพบแผลไม่มาก ตัดไปตรวจพบว่ามีการติดเชื้อH pylori จากนั้นได้รักษาด้วยยาปฏิชีวนะและยาลดกรด (สุดท้ายน่าจะหาย แต่ผมก็ไม่ได้เจอผู้ป่วยคนนี้อีกเลย)ดังนั้นประโยชน์หลักก็คือสามารถตรวจและรักษาได้อย่างดี หากรักษาตามแนวทางนอกจากนี้ยังมีประโยชน์รองก็คือ "ประหยัด"ยาเม็ดลดกรดranitidine หรือ cimetidine ราคาประมาณ 50สต.ต่อหนึ่งเม็ด... เมื่อรักษาแล้วไม่หาย แพทย์หลายคนจะปรับเปลี่ยนเป็นยาในกลุ่มPPI เช่นOmeprazole เม็ดละ12บาท (รพ.เอกชนปัจจุบัน ก็จะมียากลุ่มนี้อีกหลายๆตัว) ซึ่งเมื่อปรับเป็นกลุ่มนี้ก็มักปรับเปลี่ยนยาได้ยากผู้ป่วยหลายคนเมื่ออาการไม่ดีขึ้นก็ปรับการใช้ยาเอง จากวันละ1-2เม็ด เป็นกินวันละ4-5เม็ด เสียค่าใช้จ่าย(งบประมาณรพ.)ไปกับยาเดือนละหลายพันบาท และเสียค่าใช้จ่าย(เงินส่วนตัวผู้ป่วย)ไปกับเหล้าบุหรี่ เดือนนึงๆก็เป็นพันๆ ซึ่งก็เป็นเรื่องแปลกคือเสียเงินเพื่อทำร้ายตนเองแล้วก็เบียดเบียนเงินที่จะ ไปช่วยเหลือผู้อื่นไปในตนเอง

8. นิ่วในถุงน้ำดี กับโรคกระเพาะอาหาร
บางครั้งผู้ป่วยได้รับการตรวจพิเศษอย่างอื่นมาก่อนในอดีต แล้วได้พบว่ามีก้อนนิ่วในถุงน้ำดี ... บางครั้งผู้ป่วยก็สงสัยว่าทำไมปวดท้อง มีนิ่วแต่ทำไมไม่ทำอะไรกับนิ่ว ต้องบอกว่าหลายๆครั้งคนเรามีนิ่วในถุงน้ำดีโดยไม่มีอาการ ดังนั้นการรักษาจึงขึ้นอยู่กับว่าอาการปวดนี้เป็นปวดลักษณะที่เข้าได้กับ นิ่วหรือไม่ ,และได้หาสาเหตุอื่นๆที่เป็นไปได้หรือยังพบว่าบางคนการตัดถุงน้ำดีหรือนิ่วออกไปไม่ได้ทำให้หายปวดท้อง ร้ายไปกว่านั้น บางคนมีอาการปวดท้องที่เกิดจากการการย่อยไขมันที่ผิดปกติ เมื่อตัดถุงน้ำดีและนิ่วในนั้นไปแล้วปรากฏว่าแทนที่จะหายก็กลายเป็นปวดเสีย ยิ่งกว่าเดิม

9. อาหารของโรคกระเพาะอาหาร
ถึงแม้ว่าโรคแผลในกระเพาะจะมีเหตุจากเชื้อโรคได้ แต่ว่าโรคกระเพาะอาหารที่ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคก็ยังมีอีกมากโดยเฉพาะกลุ่มที่ไม่ มีแผล การดูแลแบบเดิมๆที่ทุกคนรู้จักกันดีก็ยังมีประโยชน์อยู่ได้แก่
- กินอาหารให้ตรงเวลา
- ไม่กินอาหารรสจัด(เค็ม เผ็ด เปรี้ยว) อาหารหมักดอง อาหารมันๆ
- ไม่กินของที่มีแก็สหรือก่อแก็ส เช่น น้ำอัดลม ผลิตภัณฑ์จากถั่ว(เต้าหู้ น้ำเต้าหู้ นมถั่วเหลือง)
- กินผักผลไม้เพื่อช่วยให้ระบบทางเดินอาหาร
อาหารที่ดี จะช่วยลดอาการของโรคกระเพาะอาหารได้

10. สมุนไพรสามารถรักษาโรคกระเพาะอาหารได้หรือไม่
เคยมีอยู่พักหนึ่งที่มีการพูดถึงเปล้าน้อยและสารเปลาโนทอลว่าสามารถ เอาไปผลิตเป็นยารักษาโรคกระเพาะอาหารได้ ช่วงนั้นจำได้ว่าในตลาดค้ายาลูกกลอนมีสมุนไพรที่อ้างสรรพคุณรักษาโรคกระเพาะอาหาร ที่อ้างว่าผลิตจากเปล้าน้อยออกมา....
ยาไทยๆหลายตัวรวมทั้งพืชผักในครัวหลายชนิดมีฤทธิ์สามารถลดอาการจุกเสียดแน่น เฟ้อได้ดีมาก หาได้ง่าย ราคาถูกและปลอดภัย ดังนั้นถ้าถามว่าสมุนไพรรักษาอาการโรคกระเพาะอาหารได้หรือไม่ ก็ต้องตอบว่า "ได้"
แต่สิ่งที่ต้องระวังไว้อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นก็คือพวกยาที่อ้างว่าเป็น สมุนไพรที่วางขายในท้องตลาด หลายๆตัวผสมสารกลุ่มสเตียรอยด์ ซึ่งทำให้ผู้ใช้รู้สึกว่ากินอาหารได้ดีขึ้น อาการเหมือนดีขึ้น แต่ที่จริงแล้วการใช้สเตียรอยด์เป็นประจำจะทำให้กระเพาะเสี่ยงต่อการเกิดแผล และทะลุได้ง่าย

สำหรับโรคกระเพาะอาหารอาการของผมยังแค่ขั้นต้นแค่ปวดท้อง แสบท้อง แบบที่เขาโฆษณายาแหละครับ  " หิวก็ปวดอิ่มก็ปวด " ใครไม่เป็นไม่รู้ละครับ มันออกอากรรำคาญนะ มันร้อนวูบวาบๆ ในท้อง  พาลให้เรางุดหงิดหัวใจ  ผมก็เลยปฎิบัติตัวเองใหม่ โดยการกินอาหารให้ตรงต่อเวลา หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด  พร้อมกับกินอาหารเสริมคือ น้ำมันรำข้าวจมูกข้าวไปด้วย ซึ่งปัจจุบันนี้ ตัวผมเองก็ไม่มีอาการของโรคกระเพาะอาหารอีกเลย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น