วันเสาร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

โรคมะเร็งกล่องเสียง



โรคมะเร็งกล่องเสียง


กล่องเสียง (larynx) เป็น อวัยวะเดี่ยว อยู่ด้านหน้าของลำคอ มีหน้าที่ในการออกเสียง ช่วยการหายใจ และช่วยการกลืนอาหาร ซึ่งอวัยวะที่อยู่ติดกับกล่องเสียงทางด้านหน้า คือ ต่อมไทรอยด์ และอวัยวะที่อยู่ติดกับกล่องเสียงทางด้านหลัง คือ หลอดอาหาร ดังนั้นเมื่อเป็นมะเร็งกล่องเสียง โรคจึงลุกลามเข้าอวัยวะทั้งสองได้ง่ายเนื้อเยื่อกล่องเสียงเอง ยังแบ่งออกเป็น 3 ตำแหน่ง


1. คือเนื้อเยื่อตำแหน่งอยู่เหนือสายเสียง ซึ่งมีทางเดินน้ำเหลืองมากมาย เมื่อเกิดโรคมะเร็ง โรคจึงแพร่เข้าต่อมน้ำเหลืองได้สูง


2. เนื้อเยื่อตำแหน่งสายเสียง เป็นส่วนซึ่งไม่ค่อยมีทางเดินน้ำเหลือง โรคจึงมักไม่ค่อยลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลือง


3. เนื้อ เยื่อตำแหน่งอยู่ใต้สายเสียงมะเร็ง โรคจะลุกลามเข้าท่อลม และเข้าต่อมน้ำเหลืองในช่องอกได้สูง ซึ่งเป็นส่วนติดต่อกับท่อลม และมีทางเดินน้ำเหลืองติดต่อกับส่วนช่องอก ดังนั้นเมื่อเกิดโรค


โรคมะเร็งกล่องเสียง (Laryngeal cancer) สามารถ เกิดได้กับเนื้อเยื่อกล่องเสียงในทุกตำแหน่ง โดยในคนไทยพบเกิดโรคกับเนื้อเยื่อตำแหน่งเหนือสายเสียงมากที่สุด รองลงไป คือ ในเนื้อเยื่อตำแหน่งสายเสียง และในเนื้อเยื่อตำแหน่งอยู่ใต้ต่อสายเสียง ตามลำดับ


มะเร็งกล่องเสียงจัดเป็นมะเร็งพบได้บ่อยชนิดหนึ่งของคนทั่วโลก (พบได้ประมาณ 2% ของมะเร็งทั้งหมด) รวมทั้งในชายไทย ถึงแม้ยังไม่ติดหนึ่งในสิบมะเร็งพบบ่อยก็ตาม


โรคมะเร็งกล่องเสียง เป็นโรคของผู้ใหญ่ มักพบสูงขึ้นในช่วงอายุ 60-70 ปี และพบในผู้ชายบ่อยกว่าในผู้หญิงประมาณ 4-5 เท่า ในสหรัฐอเมริกาพบโรคนี้ได้ ประมาณ 5 รายต่อประชากร 100,000 คน (รวมทั้งผู้หญิงและผู้ชาย) ต่อปี ส่วนในประเทศไทย ช่วง พ.ศ. 2544-2546 พบโรคนี้ในผู้หญิง 0.3 รายต่อประชากรหญิง 100,000 คน และในผู้ชาย 2.5 รายต่อประชากรชาย 100,000 คน





ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งกล่องเสียง


ปัจจุบัน ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอนของโรคมะเร็งกล่องเสียง แต่พบปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุด คือ การสูบบุหรี่ นอกจากนั้น ที่มีความสำคัญน้อยกว่า ได้แก่


- การดื่มสุรา/เครื่องดื่มแอลกอฮอล์


- การเป็นโรคกรดไหลย้อน หรือไหลกลับ


- อาจจากขาดสารอาหารบางชนิด เพราะพบได้สูงกว่า ในคนที่ขาดการกินผัก ผลไม้


- อาจได้รับฝุ่นละอองจากสารบางชนิดเรื้อรัง เช่น ฝุ่นไม้ หรือ ฝุ่นแร่ใยหิน (asbes tos)


- อาจจากติดเชื้อไวรัสชนิด เฮชพีวี (HPV, Human Papilloma Virus) ชนิดเดียวกับที่เป็นสาเหตุมะเร็งปากมดลูก แต่คนลสายพันธุ์ย่อย


อนึ่ง โรคมะเร็งทุกชนิด ไม่ใช่โรคติดต่อ รวมทั้งมะเร็งกล่องเสียง ไม่สามารถติดต่อได้จากทางใดๆทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นจากการหายใจ การคลุกคลี การสัมผัสสารคัดหลั่ง หรือ การสัมผัสเลือดผู้ป่วย เพียงแต่ โรคมะเร็งบางชนิดอาจถ่ายทอดได้จากทางพันธุกรรมของคนในครอบครัว


 


อาการของโรคมะเร็งกล่องเสียง


ไม่มีอาการเฉพาะของโรคมะเร็งกล่องเสียง แต่เป็นอาการเหมือนมีกล่องเสียงอักเสบจากสาเหตุทั่วไป ซึ่งอาการที่


บ่อยได้แก่


- เสียงแหบ


- เจ็บคอ


- ปวดหู


- ไอมีเสมหะ อาจมีเสมหะปนเลือด


- เมื่อ ก้อนเนื้อโตมาก จะอุดกั้นทางเดินหายใจ ทำให้หายใจไม่ออก หายใจติดขัด หายใจลำบากเมื่อโรคลุกลาม จะคลำได้ต่อมน้ำเหลืองลำคอโต ไม่เจ็บ อาจคลำได้เพียงข้างเดียว หรือ ทั้งสองข้างของลำคอ อาจมีเพียงต่อมเดียว หรือ หลายๆ ต่อมได้พร้อมกัน


 


ระยะของโรคมะเร็งกล่องเสียง


โรค มะเร็งกล่องเสียงแบ่งเป็น 4 ระยะเช่นเดียวกับโรคมะเร็งอื่นๆ ซึ่งในแต่ระยะยังแบ่ง ย่อยได้อีก เพื่อแพทย์โรคมะเร็งใช้เป็นข้อบ่งชี้ทางการรักษา และเพื่อการศึกษาต่างๆ ดังนั้นในที่นี้ จะกล่าวถึงเฉพาะ 4 ระยะหลักเท่านั้น


ระยะที่ 1ก้อน/แผลมะเร็ง ลุกลามอยู่เฉพาะในกล่องเสียงเพียงตำแหน่งเดียว


ระยะที่ 2ก้อนมะเร็งลุกลามเข้ากล่องเสียงตั้งแต่สองตำแหน่งขึ้นไป


ระยะที่ 3ก้อน/แผลมะเร็ง ลุกลามจนสายเสียงไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ และ/หรือ มีต่อมน้ำเหลืองลำคอขนาดเล็กไม่เกิน 3 ซม. เพียง 1 ต่อม


ระยะ ที่ 4ก้อน/แผลมะเร็ง ลุกลามเข้าผิวหนัง และ/หรือ ต่อมไทรอยด์ และ/หรือ หลอดอาหาร และ/หรือ มีต่อมน้ำเหลืองลำคอโตหลายต่อม และ/หรือ ต่อมน้ำเหลืองลำคอขนาดโตมากกว่า 6 ซม. และ/หรือ มีโรคแพร่กระจายเข้ากระแสโลหิตไปยังอวัยวะอื่นๆ ที่พบบ่อย คือ เข้าสู่ปอด


 


วิธีการรักษามะเร็งกล่องเสียง


                การรักษาหลักในโรคมะเร็งมีอยู่ 3 วิธีคือ


1. การผ่าตัด


2. การฉายรังสี


3. การให้ยาเคมีบำบัด


 


การผ่าตัด


Vocal cord stripping: เป็น การผ่าตัดเอาเฉพาะเยื่อบุผิวชั้นนอกของเส้นเสียงออก ใช้ในการรักษาโรคมะเร็งระยะแรกเท่านั้น ผู้ป่วยสามารถพูดได้ตามปกติหลังการผ่าตัด


การผ่าตัดโดยใช้เลเซอร์: อาจใช้ในการรักษาโรคมะเร็งระยะแรก


การตัดเส้นเสียง (Cordectomy): อาจผ่าตัดเส้นเสียงออกทั้งสองข้างซึ่งอาจทำให้เสียงแหบหลังการผ่าตัด


การผ่าตัดกล่องเสียงออกบางส่วน: ก้อนมะเร็งขนาดเล็กที่กล่องเสียงสามารถรักษาโดยการผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งร่วม กล่องเสียงออกเพียงบางส่วนได้ทำให้มีโอกาสที่จะพูดได้หลังการผ่าตัด


การผ่าตัดกล่องเสียงออกทั้งหมด: ใช้ในกรณีก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่หรือลุกลามอวัยวะข้างเคียง หลังการผ่าตัดต้องมีการเจาะคอเพื่อใส่ท่อช่วยหายใจร่วมด้วย และจะไม่สามารถพูดได้หลังการผ่าตัด ผลข้างเคียงหลังการผ่าตัดที่อาจ


พบคือ ภาวะเลือดออก การเกิดรูรั่ว การตีบตัน การสำลักอาหารเข้าสู่ปอด


การผ่าตัดคอหอย: มีทั้งการผ่าตัดออกเพียงบางส่วนหรือผ่าตัดออกทั้งหมดจะใช้ในการรักษามะเร็ง คอหอยส่วนล่าง ต้องผ่าตัดเอากล่องเสียงออกไปด้วย และมีการผ่าตัดตกแต่งเพิ่มเติมเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถกลืนได้หลังการผ่า ตัด


การผ่าตัดตกแต่ง: อาจใช้กล้ามเนื้อและผิดหนังบริเวรหน้าอกเพื่อตกแต่งแผลผ่าตัดที่ลำคอ นอกจากนี้ยังอาจใช้เนื้อเยื่อจากอวัยวะอื่นๆ เช่น ลำไส้ แขน


การผ่าตัดเนื้อเยื่อ และต่อมน้ำเหลืองที่คอ: เนื่องจากโรคมะเร็งมักมีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองที่คอ จึงต้องผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองออกไปด้วยการผ่าตัดมากน้อยเท่าใดขึ้นกับระยะของ โรค


การเจาะคอ: ถ้าก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่มาก หรือมีการอุดตันของท่อลมผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการเจาะคอแล้วใส่ท่อช่วยหายใจเพื่อช่วยระบบการหายใจ


การใส่สายให้อาหารทางหน้าท้อง: เพื่อให้ผู้ป่วยได้สารอาหารที่เพียงพอผู้ป่วยที่กลืนไม่ได้ควรเจาะผนังหน้า ท้องเพื่อใส่สายให้อาหาร และสามารถเอาสายออกได้ถ้าผู้ป่วยสามารถรับประทานอาหารเองทางปากได้




 


การฉายรังสี


เป็นการใช้รังสีที่มีพลังงานสูง เช่น รังสีเอ็กซ์ มาใช้ในการฆ่าเซลล์มะเร็ง


หรือทำให้ก้อนมะเร็งมีขนาดเล็กลง


การฉายรังสีจากภายนอก คือ ใช้เครื่องฉายรังสีฉายไปยังตัวมะเร็ง หรือใช้วัตถุที่อาบรังสีวางไว้ตรงก้อนมะเร็งเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง


การ ฉายรังสีจากภายนอกเป็นการรักษาหลักในมะเร็งกล่องเสียงและคอหอยส่วนล่าง ซึ่งอาจใช้รักษาแทนการผ่าตัดในก้อนมะเร็งขนาดเล็กหรือใช้ในผู้ป่วยที่ไม่ เหมาะสมในการผ่าตัด นิยมใช้การฉายรังสีร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัด ปกติจะให้การรักษา 5 วันต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 7 สัปดาห์


การ ฉายรังสีสามารถใช้ตามหลักการผ่าตัดเพื่อทำลายเซลล์มะเร็งที่อาจเหลืออยู่ นอกจากนี้รังสียังสามารถช่วยลดอาการของผู้ป่วยได้ เช่น อาการปวดเลือดออก กลืนลำบาก อาการปวดกระดูกจากการแพร่กระจาย


ปัจจุบัน เทคนิคการฉายรังสีและเครื่องฉายรังสีมีความก้าวหน้ามาก ทำให้การฉายรังสีบริเวณที่เป็นก้อนมะเร็งได้แม่นยำขึ้น และลดปริมาณรังสีต่ออวัยวะปกติข้างเคียง เช่น การฉายรังสีแบบปรับความเข้ม


ผลข้างเคียงจากการฉายรังสี


- เจ็บปากและคอ: ทำให้ทานอาหารลำบาก น้ำหนักลด อาการจะทุเลาลงหลังฉายรังสีครบ


- สีผิวหนังบริเวณที่ฉายรังสีเปลี่ยนไป


- ปากแห้ง อาจทำให้มีปัญหาฟันผุตามมาได้


- เสียงแหบ


- กลืนลำบาก


- รับรสชาติอาหารได้ลดลง


- หายใจลำบาก เนื่องจากกล่องเสียงที่บวมมากขึ้นหลังการฉายรังสี


- อ่อนเพลีย


ผล ข้างเคียงส่วนใหญ่จะหายไปหลังจากฉายรังสีครบ การฉายรังสีใกล้กับต่อมน้ำลายอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงระยะยาวได้ อาจทำให้เกิดน้ำลายแห่งถาวรได้ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดฟันผุตามมาได้ ดังนั้น ผู้ที่มีอาการปากแห้งหลังจากการฉายรังสี ควรได้รับการดูแลสุขภาพในช่องปากเป็นอย่างดี ปัจจุบันการฉายรังสีแบบปรับความเข้ม ช่วยให้ภาวะน้ำลายแห้งถาวรลดลง



การให้ยาเคมีบำบัด


อาจให้ยาผ่านทางเส้นเลือดดำหรือทางปากได้ ยาเคมีบำบัดจะกระจายไปทั่วร่างกายผ่านทางระบบไหลเวียนเลือด


ดัง นั้นการให้ยาเคมีบำบัดในโรคมะเร็งกล่องเสียงและคอหอยส่วนล่างยาจะกระจายไป ไกลกว่าบริเวณศีรษะและลำคอ ช่วยลดอาการที่เกิดจากก้อนมะเร็งขนาดที่ใหญ่เกินกว่าการฉายรังสีเพียงอย่าง เดียวจะควบคุมได้และช่วยลดการแพร่กระจายของมะเร็งผู้ป่วยโรคมะเร็งกล่อง เสียงและคอหอยส่วนล่างที่มีก้อนขนาดใหญ่


ปัจจุบัน อาจเลือกการรักษาเป็นการให้ยาเคมีบำบัดร่วมกับการฉายรังสีแทนการผ่าตัดได้ผล ข้างเคียงของยาเคมีบำบัด ขึ้นอยู่กับชนิดของยา จำนวน ระยะเวลาในการให้ยา โดยผลข้างเคียงที่พบได้บ่อย เช่น


- คลื่นไส้ อาเจียน


- เบื่ออาหาร


- ผมร่วง


- เม็ดเลือดขาวต่ำ ทำให้มีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย


- เลือดออก หรือฟกช้ำได้ง่ายเมื่อได้รับการกระทบกระแทก เนื่องจากเกร็ดเลือดต่ำ


- หายใจลำบาก


- อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย


อาการเหล่านี้จะทุเลาลงหลังให้ยาเคมีบำบัดครบแล้ว ถ้าอาการไม่ทุเลาลงควรรีบพบแพทย์




การให้ยาทำลายเซลล์มะเร็งแบบเจาะจง (Targeted therapy)


Targeted therapy เป็น การให้ยาที่ออกฤทธิ์ขัดขวางการทำงานของตัวรับสัญญาณ ส่งผลให้เซลล์มะเร็งไม่สามารถเจริญเติบโตได้ แต่จะไม่มีผลทำลายเม็ดเลือดหรือกดการทำงานของไขสันหลังเหมือนยาเคมีบำบัดและ สามารถใช้


รักษาร่วมกับการรักษาอื่นๆ ได้


ยา Cetuximab (Erbitux) เป็น ยาตัวแรกที่ได้รับการยอมรับมาใช้ในการรักษาโรคมะเร็งกล่องเสียงและคอหอยส่วน ล่าง การใช้ยาร่วมกับการฉายรังสีจะช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามมีชีวิตที่ยืน ยาวมากขึ้น ยาไม่มีผลทำให้คลื่นไส้อาเจียน


หรือ ทำให้เม็ดเลือดต่ำเหมือนการใช้ยาเคมีบำบัด ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อย คือผื่นคัน และที่อาจพบได้บ้าง คือ ผื่นแพ้จากการฉีดยาเข้าเส้นเลือดดำ



การใช้ยาเคมีบำบัดร่วมกับการฉายรังสี


เป็น การให้ยาเคมีบำบัดพร้อมการฉายรังสีในช่วงเวลาเดียวกัน ซึ่งจะสามารถทำให้ก้อนมะเร็งมีขนาดเล็กลงกว่าการให้การรักษาเพียงอย่างเดียว มีงานวิจัยศึกษาผลการรักษาโรคมะเร็งบริเวณหู คอ และจมูก พบว่าการรักษาวิธีนี้อาจช่วยให้สามารถผ่าตัดโดยรักษากล่องเสียงไว้ได้


 

อ้างอิง


http://haamor.com/th/%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87/#article101


http://www.chulacancer.net/newpage/information/Laryngeal%20and%20Hypopharyngeal/treatment.html


http://www.fudacancerthailand.com/index.php/2013-03-10-13-08-53

วันศุกร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

โรคมะเร็งหลังโพรงจมูก

 

โรคมะเร็งหลังโพรงจมูก


โรคร้ายแรงที่น่ากลัวมากที่สุดในปัจจุบัน คือ โรคมะเร็ง แต่วันนี้เรามารู้เท่าทันโรคมะเร็งหลังโพรงจมูกกัน โรคมะเร็งหลังโพรงจมูกเป็นโรคที่อยู่ในตำแหน่งซ่อนเร้น จึงทำให้ผู้ป่วยมาหาด้วยอาการของระยะแพร่กระจาย ในแต่ละปีพบผู้ป่วยทั่วโลกไม่ถึง 1 ต่อแสนคน แต่ในบางบริเวณจะพบผู้ป่วยมะเร็งชนิดนี้สูงอย่างเด่นชัด ได้แก่ จีนตอนใต้ แคนาดา อลาสกา ชาวเอสกิโมในกรีนแลนด์   บางส่วนของแอฟริกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย สำหรับในประเทศไทยพบมะเร็งหลังโพรงจมูก ในผู้หญิง 1.6 ต่อแสนคนต่อปี ในชาย 4.5 ต่อแสนคนต่อปี จัดเป็นมะเร็งที่พบบ่อยเป็นอันดับเก้าสำหรับผู้ชายไทย ทั้งนี้พบอุบัติการณ์ในผู้ชายสูงกว่าในผู้หญิงประมาณสองเท่า ส่วนมากอยู่ในวัยหนุ่มสาวถึงกลางคน ในโรงพยาบาลศิริราชตรวจพบผู้ป่วยใหม่ประมาณ 90 – 100 คนต่อปี

 

สาเหตุ

1. พันธุกรรม   จาก การที่พบว่าโรคมะเร็งหลังโพรงจมูกมีความชุกสูงเฉพาะในบางเขตภูมิศาสตร์ เช่นในประเทศจีนตอนใต้ และส่วนอื่นๆที่ชาวจีนอพยพไป ทำให้มีการศึกษาว่าพันธุกรรมอาจเป็นปัจจัยหนึ่งของการเกิดมะเร็งชนิดนี้

  1. ไวรัส  เป็นที่ยอมรับกันว่าไวรัสเอปสไตน์บาร์ (Epstein-Barr virus - EBV) มี ส่วนสำคัญต่อการเกิดโรคมะเร็งหลังโพรงจมูก โดยศึกษาพบว่าผู้ป่วยมะเร็งหลังโพรงจมูกจะมีสารภูมิคุ้มกันต่อไวรัสชนิดนี้ ในปริมาณที่สูงกว่าประชากรทั่วไปที่มีสุขภาพดี


3. อาหารการกิน พบว่าในมณฑลกวางตุ้งซึ่งมีอุบัติการณ์ของมะเร็งหลังโพรงจมูกในอัตราสูงนั้น ประชาชนนิยมบริโภคปลาหมักเค็มกันมากกว่าจีนส่วนอื่น

4. สิ่งแวดล้อม มีปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมหลายอย่างที่อาจมีผลต่อการเกิดโรคมะเร็งหลังโพรงจมูก ได้แก่ฝุ่นละออง ควันไฟจากการเผาไม้หรือหญ้า สารเคมีต่างๆ ตลอดจนบุหรี่

 

อาการ

1. ก้อนที่คอ เป็น อาการที่พบมากที่สุดของผู้ป่วยโรคมะเร็งหลังโพรงจมูกที่มาพบแพทย์ โดยก้อนที่คอนั้นอาจมีเพียงข้างใดข้างหนึ่งหรือเป็นทั้งสองข้างก็ได้

2. อาการทางจมูก เช่นมี น้ำมูกปนเลือดบ่อยครั้ง แน่นจมูกหายใจไม่ค่อยสะดวก หรือมีน้ำมูกไหลลงคอเรื้อรัง ซึ่งทำให้ผู้ป่วยหลายรายอาจได้รับการรักษาแบบโพรงจมูกหรือโพรงไซนัสอักเสบ เรื้อรังมาก่อน

3. อาการทางหู ได้แก่ การได้ยินบกพร่อง มีเสียงดังในหู ปวดหู หรือมีของเหลวไหลออกจากหู ซึ่งเกิดจากการทำงานผิดปกติของท่อเชื่อมหูชั้นกลาง เนื่องจากโรคมะเร็งหลังโพรงจมูกกระจายตัวมาถึง

4. ระบบประสาท ได้แก่ อาการปวดศีรษะ มองเห็นภาพซ้อน ชาที่ใบหน้า ในรายที่ลุกลามมาก ผู้ป่วยก็อาจมีอัมพาตของกล้ามเนื้อใบหน้า เวียนศีรษะ เสียงแหบ กลืนลำบาก หรือสำลักได้

5. อาการของการกระจายของมะเร็งไปสู่อวัยวะอื่นๆ

 

การวินิจฉัยโรคมะเร็งหลังโพรงจมูก


1. โดยการซักประวัติ

2. จากการตรวจร่างกาย ใน บริเวณศีรษะและคออย่างละเอียดรวมถึงการตรวจร่างกายทั่วไปซึ่งมีความสำคัญใน การวินิจฉัยมะเร็งหลังโพรงจมูก และประเมินขอบเขตของมะเร็งที่อาจกระจายไปแล้ว ตลอดจนประเมินการแพร่กระจายของมะเร็งไปยังต่อมน้ำเหลือง ปัจจุบันการใช้กล้องส่องตรวจขนาดเล็กทั้งแบบแข็งหรือแบบอ่อนช่วยให้แพทย์สามารถเห็นตำแหน่งของมะเร็งได้ถูกต้องแม่นยำมากขึ้น

3. การ ตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยา เป็นการให้การวินิจฉัยที่แน่นอนที่สุด การตัดชิ้นเนื้อตรวจสามารถทำได้ที่ห้องตรวจผู้ป่วยนอกโดยการใช้ยาชาเฉพาะที่ และอาจใช้ กล้องส่องช่วยในการตัดชิ้นเนื้อด้วยได้

4. การตรวจทางห้องปฏิบัติการอื่นๆ

- การตรวจเซลล์ ผู้ป่วยมะเร็งหลังโพรงจมูกบางรายมาพบแพทย์ครั้งแรกด้วยปัญหาต่อมน้ำเหลือง ข้างลำคอโต โดยที่แพทย์ไม่พบความผิดปกติที่บริเวณหลังโพรงจมูก การเจาะและดูด (fine needle aspiration biopsy -FNA) บริเวณต่อมน้ำเหลืองเพื่อตรวจเซลล์ สามารถช่วยในการวินิจฉัยได้

- การตรวจเลือด โดยการตรวจสารภูมิต้านทานอิมมูโนโกลบูลินเอ( IgA antibodies) ต่อไวรัสเอปสไตน์บาร์ (Epstein-Barr virus specific antigens) โดยพบว่าผู้ป่วยมะเร็งหลังโพรงจมูกจะมีปริมาณสารภูมิต้านทาน สูงกว่าประชากรปกติ นอกจากนี้จะมีการส่งตรวจเลือด เพื่อดูความเข้มของเลือด ตรวจดูระดับการทำหน้าที่ของตับ เพื่อประเมินสภาพผู้ป่วยในการวางแผนการรักษาต่อไป

- การตรวจทางรังสีวิทยา ดังได้กล่าวแล้วว่าผู้ป่วยบางรายที่แพทย์สงสัยว่าเป็นมะเร็งหลังโพรงจมูกแต่ตรวจร่างกายไม่พบก้อนเนื้อหรือแผลที่บริเวณหลังโพรงจมูก การตรวจ computed tomography (CT) และ magnetic resonance imaging (MRI) จะมีบทบาทสำคัญในการช่วยวินิจฉัยโรค และการตรวจทั้งสองอย่างนี้ยังสามารถบอกขอบเขตการลุกลามของตัวมะเร็งตลอดจน การแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองได้เป็นอย่างดี   นอกจากนั้นการตรวจทางรังสีวิทยาอย่างอื่น ยังมีประโยชน์ในการตรวจหาว่ามะเร็งมีการแพร่กระจายไปอวัยวะอื่นๆอีกหรือไม่ ได้แก่ การตรวจ bone scan และการตรวจอัลตราซาวด์ตับ (liver ultrasound) เป็นต้น

 

การรักษาโรคมะเร็งหลังโพรงจมูก


การรักษามะเร็งหลังโพรงจมูกโดยหลักแล้วคือการใช้รังสีรักษา โดยอาจร่วมกับการให้เคมีบำบัดทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะการดำเนินโรคของมะเร็ง สำหรับ การผ่าตัดนั้นไม่มีบทบาทในการรักษาโดยตรงเนื่องจากมะเร็งหลังโพรงจมูกมีขอบ เขตของรอยโรคใกล้กับอวัยวะที่สำคัญ อาทิเส้นเลือดแดงใหญ่ที่เลี้ยงคอและสมอง ฐานกะโหลกศีรษะ ตลอดจนส่วนของสมองเอง อย่าง ไรก็ตามการผ่าตัดก็ยังคงมีบทบาทในการรักษามะเร็งหลังโพรงจมูก ในกรณีที่สามารถควบคุมตัวมะเร็งหลังโพรงจมูกได้แล้ว แต่ยังคงมีก้อนที่คออยู่ หรือในผู้ป่วยที่มีมะเร็งเกิดซ้ำหรือหลงเหลือในบริเวณที่จำกัด ก็อาจพิจารณาผ่าตัดได้ในบางราย

ถ้าขึ้นชื่อว่า “มะเร็ง” แล้ว หลายๆคนก็คงจะกลัว ไม่อยากที่จะเผชิญหน้ากับก้อนเนื้อร้ายของมันโรคมะเร็งไม่น่ากลัว..หากรู้จักสำรวจตัวเอง ป้องกันตัวเองเบื้องต้น เมื่อพบอาการผิดปกติ จะได้มามาพบแพทย์และทำการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ ยังมีโอกาสหายได้.

 

 

เครดิต

รศ.นพ. ปารยะ อาศนะเสน

ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา

Faculty of Medicine Siriraj Hospital

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

โรคมะเร็งช่องปาก

โรคมะเร็งช่องปาก


โรคมะเร็งช่องปากเป็นมะเร็งที่สามารถวินิจฉัยโรคในระยะเริ่มแรก และสามารถรักษาหายขาดได้ ซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษาลง แต่กลับว่าอัตรารอดชีวิต 5 ปีของผู้ป่วยมะเร็งช่องปากมีเพียงประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับมะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูกที่พบอัตรารอดชีวิต 5 ปีสูงถึง 60 เปอร์เซ็นต์ ทั้งที่มะเร็งช่องปากสามารถตรวจพบในระยะเริ่มแรกได้เช่นเดียวกัน ทั้งนี้สาเหตุที่ทำให้อัตรารดอชีวิตน้อยเกิดจากการพบรอยโรคช้า เนื่องจากขาดความรู้ในการสังเกตอาการตนเอง ประชาชนจึงควรพบทันตแพทย์อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

โรคมะเร็งช่องปากคืออะไร


โรคมะเร็งช่องปากคือมะเร็งที่เกิดขึ้นที่ริมฝีปาก (มักจะเกิดที่ริมฝีปากล่าง) หรือภายในช่องปาก หรือในช่องคอ หรือต่อมน้ำลายหรือต่อมทอนซิล โดยจะพบในชายมากกว่าหญิง และพบมากในคนอายู 40 ปีขึ้นไป ซึ่งการสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์เป็นปัจจัยเสี่ยงหลัก ถ้าตรวจพบเร็ว มะเร็งในช่องปากสามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัด การฉายรังสี หรือ เคมีบำบัด มะเร็งในช่องปากอาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ โดยมีอัตราการรอดชีวิตประมาณ 5 ปี ถึง 50% สาเหตุส่วนหนึ่งของการตรวจไม่พบคือการไม่รู้ว่ามีอาการเริ่มแรก ดังนั้นการตรวจพบมะเร็งช่องปากในระยะแรกจึงเป็นปัจจัยสำคัญของการรักษา

อาการของมะเร็งช่องปากมีอะไรบ้าง


คุณอาจจะไม่พบสัญญาณเตือนเริ่มแรกของมะเร็งในช่องปาก และนี่คือสาเหตุว่าทำไมเราจึงควรพบแพทย์และทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอ ทันตแพทย์จะสามารถตรวจวิเคราะห์สัญญาณเตือนเริ่มแรกของมะเร็งในช่องปาก อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากการตรวจเป็นระยะแล้ว คุณควรจะพบทันตแพทย์ถ้าคุณมีอาการดังต่อไปนี้:

อาการเจ็บที่ริมฝีปาก เหงือก หรือภายในช่องปาก ซึ่งมีเลือดออกได้ง่าย และไม่หายขาด
ตุ่มหรือก้อนบริเวณแก้มซึ่งสามารถรู้สึกได้ด้วยลิ้น
การสูญเสียความรู้สึก หรืออาการชาในบริเวณใดก็ตามของช่องปาก
ฝ้าขาวหรือแดงที่เหงือก ลิ้น หรือภายในช่องปาก
ปัญหาในการเคี้ยวหรือกลืนอาหาร
อาการเจ็บที่ปากที่หาสาเหตุไม่ได้ หรือความรู้สึกว่ามีบางอย่างติดคอโดยหาสาเหตุไม่ได้
การบวมของขากรรไกรทำให้การสบฟันผิดปกติ
เสียงเปลี่ยนไป

เราจะป้องมะเร็งช่องปากได้อย่างไร


ถ้าคุณไม่ได้สูบบุหรี่ หรือเคี้ยวใบยาสูบ ก็ไม่ควรจะเริ่ม เนื่องจากยาสูบเป็นสาเหตุหลักในการเกิดมะเร็งในช่องปากถึง 80 - 90 %**

การสูบบุหรี่ — ความเกี่ยวข้องกันระหว่างการสูบบุหรี่กับมะเร็งปอดและโรคหัวใจเป็นเรื่องที่รับรู้กันอย่างแพร่หลาย การสูบบุหรี่ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวมของคุณด้วย ทำให้การต่อต้านการติดเชื้อ และการฟื้นตัวหลังอุบัติเหตุและการผ่าตัดยากขึ้น ในกลุ่มเด็กวัยรุ่น การสูบบุหรี่ทำให้การเจริญเติบโตหยุดชะงัก และมีปัญหาในพัฒนาการด้านต่าง ๆ ผู้สูบบุหรี่ส่วนมากจะไม่สามารถรับรู้กลิ่นหรือรสชาติได้ดีเท่าเดิม และยังทำให้เกิดกลิ่นปากและคราบบนฟัน สุขภาพของช่องปากของคุณอยู่ในจุดเสี่ยงทุกครั้งที่จุดบุหรี่ การสูบบุหรี่ ไพพ์ หรือซิการ์ เพิ่มโอกาสในการเกิดมะเร็งที่กล่องเสียง ปาก คอ และหลอดอาหาร เนื่องจากหลาย ๆ คนไม่ได้ระวังถึงอาการเริ่มแรก มะเร็งในช่องปากจึงมักจะกระจายก่อนที่จะถูกตรวจพบ
การเคี้ยวใบยาสูบ — การเคี้ยวใบยาสูบสามารถทำให้เกิดมะเร็งในช่องปากมากกว่าถึง 50 เท่า การงดสูบบุหรี่ ซิการ์ หรือ ไพพ์ และการงดเคี้ยวใบยาสูบจึงเป็นสิ่งที่ควรกระทำ ผู้ที่หยุดจะลดโอกาสการเกิดมะเร็งในช่องปากได้อย่างมาก แม้ว่าจะผ่านการใช้ยาสูบมาเป็นเวลาหลายปีก็ตาม การดื่มแอลกอฮอล์จำนวนมากหรือเป็นประจำ .

มะเร็งช่องปากรักษาได้อย่างไร


หลังจากที่ตรวจพบแล้ว ทีมผู้เชี่ยวชาญ (ศัลยแพทย์ช่องปากและทันตแพทย์) จะทำแผนการรักษาเพื่อให้เหมาะกับแต่ละผู้ป่วย ส่วนใหญ่มักจะต้องมีการผ่าตัด ตามด้วยการฉายรังสี และเคมีบำบัด เป็นการดีที่จะพบทันตแพทย์ที่มีความคุ้นเคยกับการเปลี่ยนแปลงที่การรักษาต่าง ๆ เหล่านี้สามารถทำให้เกิดในช่องปาก

ทุกครั้งที่คุณรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่มีแป้งและน้ำตาล แบคทีเรียจะสร้างกรดที่ทำลายเคลือบฟันเป็นเวลา 20 นาทีหรือนานมากนั้น เพื่อลดความเสียหายของเคลือบฟัน ควรจะลดจำนวนครั้งในการรับประทานอาหารระหว่างมื้อ และเมื่อต้องรับประทานอาหารว่าง ควรเลือกอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ เช่น เนยแข็ง ผักสด โยเกิร์ต หรือผลไม้

ผลข้างเคียงในช่องปากของการฉายรังสีมีอะไรบ้าง


เมื่อมีการฉายรังสีที่ส่วนศรีษะและลำคอ หลาย ๆ คนอาจจะมีอาการระคายเคืองในช่องปาก ปากแห้ง มีความลำบากในการกลืนอาหาร หรือการรับรู้รสชาติที่เปลี่ยนไป การฉายรังสียังเพิ่มโอกาสของฟันผุอีกด้วย ดังนั้นการดูแลฟัน เหงือก ช่องปากและคอจึงเป็นสิ่งสำคัญในระหว่างการฉายรังสี ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในการรักษามะเร็งและทันตแพทย์เกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ ที่คุณพบระหว่างและหลังจากการฉายรังสี นอกจากนี้ควรปรึกษาทันตแพทย์ของคุณก่อนที่รับการรักษามะเร็งที่บริเวณศรีษะและลำคอ สิ่งที่คุณทำทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการรักษา จะช่วยป้องกันผลข้างเคียงได้

เราจะรักษาสุขภาพปากและฟันที่ดีอย่างไรในระหว่างการรักษา


ควรแปรงฟันด้วยแปรงสีฟันที่มีขนแปรงอ่อนนุ่มหลังอาหาร และใช้ไหมขัดฟันทุกวัน หลีกเลี่ยงเครื่องเทศและอาหารที่ย่อยยาก เช่น ผักดิบ แครกเกอร์ และถั่ว ควรหลีกเลี่ยงยาสูบและแอลกอฮอล์ด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ควรเคี้ยวหมากฝรั่งหรือลูกอมที่ปราศจากน้ำตาลเพื่อให้ปากชุ่มชื่น ก่อนที่จะรับการฉายรังสี ควรแจ้งให้ทันตแพทย์ของคุณทราบเพื่อทำการตรวจอย่างละเอียด และควรให้ทันตแพทย์ของคุณคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านการฉายรังสีก่อนที่จะเริ่มรับการรักษาด้วย

วันพุธที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

รู้เท่าทันโรคมะเร็งปอด

รู้เท่าทันโรคมะเร็งปอด


โรคมะเร็งปอดเป็นโรคที่พบได้มากในประเทศไทย และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของทั้งเพศชายและเพศหญิง อย่างไรก็ดี มะเร็งปอดสามารถรักษาให้หายได้หากตรวจพบตั้งแต่ในระยะต้นมะเร็งปอดเกิดจากเซลล์เยื่อบุหลอดลมปอดที่ได้รับการระคายเคืองมาเป็นระยะ เวลานาน จึงอาจเรียกชื่อมะเร็งตามต้นกำเนิดอีกชื่อหนึ่ง ว่า Bronchogenic Carcinoma ซึ่งอาจเกิดในบริเวณหลอดลมใหญ่ใกล้กับขั้วปอด หรืออาจเกิดในหลอดลมแขนงเล็กๆ ส่วนปลายที่ไกลออกมาจากขั้วปอดก็ได้

ชนิดของโรคมะเร็งปอด


โรคมะเร็งปอดเกิดจากการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติอย่างรวดเร็วและไม่สามารถควบคุมได้ ทำให้เกิดเป็นกลุ่มก้อนของเซลล์ที่ผิดปกติ ซึ่งจะตรวจพบได้เมื่อมีขนาดใหญ่ มีจำนวนมาก และแพร่ไปตามบริเวณต่างๆ ของร่างกาย มะเร็งปอดจะทำลายชีวิตของผู้ป่วยได้รวดเร็วแค่ไหนขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็ง

โรคมะเร็งปอดแบ่งออกเป็น 2 ชนิดตามขนาดของเซลล์ ซึ่งความแตกต่างของขนาดเซลล์นี้มีความสำคัญ เนื่องจากวิธีการรักษาจะแตกต่างกัน

โรคมะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก (small cell lung cancer) พบได้ประมาณ 10-15% เซลล์จะเจริญเติบโตและแพร่กระจายได้รวดเร็วกว่ามะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว การรักษาจะไม่ใช้วิธีการผ่าตัด ส่วนมากจะรักษาด้วยการใช้ยาหรือฉายรังสี
โรคมะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก (non-small cell lung cancer) พบได้บ่อยกว่าโรคมะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก (พบได้ประมาณ 85-90%) แต่จะแพร่กระจายได้ช้ากว่า และสามารถรักษาให้หายได้โดยการผ่าตัดหากพบตั้งแต่เนิ่นๆ

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งปอด


ในปัจจุบันยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่ชัดเจนที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอดได้ แต่มีปัจจัยบางประการที่อาจเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งปอด เช่น บุหรี่ อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอดมากที่สุด ผู้ที่สูบบุหรี่มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งปอดมากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ถึง 10-30 เท่า เนื่องจากสารในบุหรี่สามารถทำลายเซลล์ปอด ทำให้เกิดความผิดปกติของเซลล์ โดยความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นตามจำนวนมวนและจำนวนปีที่สูบบุหรี่ การได้รับสารพิษและมลภาวะในสิ่งแวดล้อม เช่น ควันบุหรี่ แอสเบสตอส (asbestos) ก๊าซเรดอน (radon) สารหนู รังสี และสารเคมีอื่นๆ รวมถึงฝุ่นและไอระเหยจากนิกเกิล โครเมียม และโลหะอื่นๆ อายุ ความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งปอดเพิ่มขึ้นตามอายุ โดยทั่วไปความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นหลังอายุ 40 ปี แต่ก็สามารถพบได้ในคนอายุน้อยกว่า 40 ปี มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคมะเร็งปอด ผู้ที่มีพ่อแม่พี่น้องเป็นโรคมะเร็งปอด มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งปอดแม้จะไม่ได้สูบบุหรี่ ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปอดควรพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำในการลดปัจจัยเสี่ยงและวางแผนการตรวจสุขภาพ ส่วนผู้ที่เคยได้รับการรักษาโรคมะเร็งปอดมาแล้ว ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพหลังการรักษา เนื่องจากอาจมีโอกาสเป็นโรคมะเร็งปอดได้อีก

การตรวจคัดกรอง


การตรวจคัดกรองจะช่วยให้แพทย์สามารถตรวจพบและรักษาโรคมะเร็งได้ตั้งแต่เนิ่นๆ แต่ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการตรวจสอบโรคมะเร็งปอดแบบง่ายหรือด้วยตนเองดังเช่นโรคมะเร็งเต้านม อย่างไรก็ตามมีการตรวจสอบใหม่ที่เป็นการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบใช้ปริมาณรังสีต่ำ (low-dose helical computerized tomography) ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการตรวจคัดกรองและวินิจฉัยได้

อาการของโรค


โดยทั่วไปแล้วโรคมะเร็งปอดในระยะเริ่มต้นมักไม่แสดงอาการ แต่เมื่อโรคลุกลามแล้ว อาจพบอาการดังต่อไปนี้

ไอเรื้อรัง (ไอแห้งหรือไอมีเสมหะ)
มีปัญหาการหายใจ เช่น หายใจสั้น
หายใจมีเสียงหวีด
เจ็บบริเวณหน้าอกตลอดเวลา
ไอมีเลือดปน
เสียงแหบ
ติดเชื้อในปอดบ่อยๆ เช่น ปอดบวม
เหนื่อยง่าย หรือรู้สึกเหนื่อยตลอดเวลา
น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ

อาการเหล่านี้อาจไม่เกี่ยวเนื่องกับมะเร็ง เนื่องจากมีหลายโรคที่อาจทำให้เกิดอาการเหล่านี้ได้ อย่างไรก็ดี ผู้ที่มีอาการดังกล่าวข้างต้นควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาโดยเร็วที่สุด

การตรวจเบื้องต้นและการวินิจฉัย


หากมีอาการที่เข้าข่ายของโรคมะเร็งปอด แพทย์จะทำการตรวจร่างกาย ตรวจเสมหะ เอกซเรย์ปอด หากพบความผิดปกติ อาจต้องทำการตรวจเพิ่มเติมเพื่อยืนยันการวินิจฉัย

การตัดชิ้นเนื้อเพื่อวิเคราะห์ (biopsy)
การใช้เข็มขนาดเล็กตัดชิ้นเนื้อ (fine-needle aspiration) แพทย์จะใช้เข็มขนาดเล็กเจาะที่ช่องอกไปยังปอด และดูดตัวอย่างของเหลวเนื้อเยื่อที่สงสัยเพื่อนำมาวิเคราะห์ โดยทั่วไปมักทำพร้อมกับการเอกซเรย์หรือ CT scan เพื่อหาตำแหน่งที่ถูกต้องของเนื้อเยื่อที่ต้องการตรวจสอบ
การส่องกล้องตรวจภายในหลอดลม (bronchoscopy) แพทย์จะทำการสอดท่อขนาดเล็กที่มีไฟผ่านทางจมูกหรือปากเข้าไปสู่ปอด โดยท่อนี้จะสามารถดูดของเหลวหรือตัดชิ้นเนื้อเยื่อที่สงสัยออกมาตรวจวิเคราะห์อย่างละเอียด
การใช้เข็มเจาะช่องเยื่อหุ้มปอดแทงผ่านผนังทรวงอก (thoracentesis) แพทย์จะใช้เข็มเจาะที่ช่องอกบริเวณระหว่างปอดและผนังของช่องอก เพื่อทำการเก็บของเหลวบริเวณดังกล่าวมาตรวจหาเซลล์มะเร็ง
การตรวจช่องกลางทรวงอกโดยการส่องกล้อง (mediastinoscopy) แพทย์จะทำการผ่าตัดบริเวณส่วนบนของกระดูกอก จากนั้นสอดกล้องเข้าไปภายในช่องทรวงอก และนำตัวอย่างเนื้อเยื่อหรือต่อมน้ำเหลืองออกมาตรวจ
การตรวจช่องทรวงอกโดยการส่องกล้อง (thorocoscopy) แพทย์จะใช้กล้องใส่เข้าทางผนังทรวงอกเพื่อตัดก้อนเนื้อจากปอดไปตรวจ
การตรวจวินิจฉัยด้วยรังสี
การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) และการตรวจโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เป็นวิธีที่ช่วยให้แพทย์หาตำแหน่งและขนาดของก้อนเนื้อที่ผิดปกติในบริเวณปอดได้
การตรวจด้วยเครื่อง PET scan (positron emission tomography scan) เป็นการฉีดโมเลกุลของสารกัมมันตภาพรังสีที่รวมกับน้ำตาลเข้าทางเส้นเลือด เซลล์มะเร็งปอดจะดูดซึมเอาน้ำตาลชนิดนี้ไว้อย่างรวดเร็วและมากกว่าเซลล์ปกติ ทำให้เกิดความแตกต่างของการเรืองแสงเฉพาะเซลล์มะเร็ง

ระยะของโรคมะเร็งปอด


ระยะของมะเร็งกำหนดจากตำแหน่งของเซลล์มะเร็ง การแพร่กระจายของมะเร็ง และการทำงานที่ผิดปกติของอวัยวะร่างกาย ระยะของมะเร็งมีความสำคัญต่อการรักษา เพราะจะช่วยให้แพทย์หาวิธีการรักษาที่เหมาะสม ส่งผลต่อการหายของโรคหรือการมีชีวิตที่ยืนยาวหรือดำรงชีวิตได้ดีขึ้น

ระยะของโรคมะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก แบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่
ระยะจำกัดของขนาดมะเร็ง (limited stage) เป็นระยะที่มะเร็งจะอยู่ในบริเวณปอดเท่านั้น
ระยะการแพร่กระจาย (extensive stage) เป็นระยะที่มะเร็งได้แพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย
ระยะของมะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก แบ่งเป็น 4 ระยะ

ระยะที่ 1

พบมะเร็งเฉพาะที่บริเวณปอดเท่านั้น ไม่พบในต่อมน้ำเหลือง และยังไม่มีการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง
ระยะที่ 2

- ระยะที่ 2A

มะเร็งมีขนาดเล็กและพบแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองที่ขั้วปอด
- ระยะที่ 2B

มะเร็งมีขนาดใหญ่ขึ้นเล็กน้อย และแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองที่ขั้ว ปอด หรือ เซลล์มะเร็งมีการแพร่กระจายไปยังบริเวณอื่น เช่น ที่ผนังทรวงอก
ระยะที่ 3

- ระยะที่ 3A

เซลล์มะเร็งมีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองในบริเวณอื่นที่ห่างจากปอด หรือ พบมะเร็งในต่อมน้ำเหลืองรอบๆ ปอด และเซลล์มะเร็งได้แพร่กระจายไปยังผนังทรวงอกหรือบริเวณกลางช่องอก
- ระยะที่ 3B

เซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองอีกด้านของช่องอกหรือต่อมน้ำเหลืองเหนือกระดูกไหปลาร้า หรือ มีเนื้องอกมากกว่า 1 ก้อนในปอด หรือ เนื้องอกเจริญเติบโตในอีกด้านของช่องอก เช่น หัวใจ หลอดอาหาร หรือ มีของเหลวที่มีเซลล์มะเร็งอยู่รอบๆ ปอด
ระยะที่ 4

มะเร็งได้กระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย เช่น ตับ กระดูก สมอง

การรักษาโรคมะเร็งปอด


สิ่งสำคัญของการรักษามะเร็งปอด คือ การพิจารณาตำแหน่ง ขนาด และระยะของเซลล์มะเร็ง รวมถึงสภาพร่างกายและจิตใจของผู้ป่วย

การผ่าตัด


มีเป้าหมายเพื่อผ่าเอาก้อนมะเร็งที่ปอดและต่อมน้ำเหลืองที่ช่องอกออกให้หมด ซึ่งบางครั้งก้อนเนื้อนั้นอาจไม่ใช่เซลล์มะเร็งทั้งหมดก็ได้
โดยทั่วไปไม่ใช้ในการรักษามะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็กซึ่งมักมีการแพร่กระจายตัวของเซลล์มะเร็งอย่างรวดเร็ว
วิธีนี้ใช้ในการรักษามะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก ในระยะที่ 1, 2 และ 3A

การฉายรังสี (radiotherapy)


เป็นการใช้พลังงานรังสีที่มีความเข้มข้นฉายไปยังตำแหน่งของเซลล์มะเร็งเพื่อทำลายกลุ่มก้อนเซลล์มะเร็งนั้น
วิธีนี้ใช้ไม่ได้ผลกับระยะมะเร็งที่มีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนต่างๆ แล้ว
การฉายรังสีใช้เวลาไม่นานและไม่ทำให้เจ็บปวด แต่อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น กลืนลำบาก อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ระคายเคืองผิวหนังบริเวณที่ฉายรังสี

การให้ยาเคมีบำบัด (chemotherapy)


เป็นการใช้ยากำจัดและยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งที่มีอยู่ทั่วร่างกาย โดยทั่วไปยาเคมีบำบัดที่ใช้กับมะเร็งปอดเป็นรูปแบบยาฉีดเข้าเส้นเลือด

การรักษาแบบเฉพาะเจาะจง (targeted therapy)


เป็นการรักษาโดยการใช้ยาที่ออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง โดยไม่ส่งผลต่อเซลล์ปกติ
ให้ประสิทธิผลในการรักษาและไม่ทำให้เกิดอาการข้างเคียงเหมือนเช่นยาเคมีบำบัด

การรักษาด้วยการผสมผสาน โดยทั่วไปการรักษามะเร็งจะใช้มากกว่าหนึ่งวิธีขึ้นไป ผู้ป่วยควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับการรักษาและผลข้างเคียงของแต่ละวิธี เพื่อให้ความร่วมมือในการรักษาให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด

การดูแลตนเองภายหลังการรักษา


-หากยังสูบบุหรี่อยู่ ควรหยุดทันที
-เมื่อผู้ป่วยเริ่มมีอาการดีขึ้น ควรออกกำลังกายด้วยการเดินอย่างน้อยวันละ 15-30 นาที เพื่อส่งเสริมการทำงานของปอดและหัวใจให้ดีขึ้น
-พบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำและป้องกันการเกิดมะเร็งที่อวัยวะอื่น

 

ขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.bumrungrad.com

วันจันทร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

การออกกำลังกายในวัยทำงาน

การออกกำลังกายในวัยทำงาน


                           

สภาพร่างกายของคนวัยทำงานต้องรับภาระหนักทั้งการทำงานภายในบ้านและภายนอก บ้าน ประกอบกับอายุที่เพิ่มมากขึ้นจึงทำให้ร่างกายเสื่อมโทรมลง คนที่ขาดการเคลื่อนไหวร่างกายหรือการออกกำลังกาย    จึงมีอัตราการตายก่อนวัยอันสมควรสูงกว่าคนที่ไม่มีพฤติกรรมดังกล่าว  และจากการศึกษาวิจัย พบว่า       กลุ่มคนที่ทำงานนั่งโต๊ะในสำนักงานที่มีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยมาก  เป็นกลุ่มที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคและเสียชีวิตจากโรคต่าง ๆ โดยเฉพาะโรคหลอดเลือดหัวใจ มากกว่าคนที่ทำงานใช้แรงงาน

นอกจากนี้อาการที่มักเกิดขึ้นกับคนที่ทำงานนั่งโต๊ะในสำนักงานหรือนั่งทำงาน หน้าคอมพิวเตอร์ทั้งวันได้แก่ ปวดหลัง อ่อนล้า เหนื่อยง่าย สาเหตุของอาการเหล่านี้เกิดมาจากกิจวัตรประจำวันที่เคลื่อนไหวร่างกายน้อย การทำงานที่ไม่ต้องใช้แรงงานมาก รวมทั้งการนั่งทำงานอยู่กับที่นานเกินไป ดังนั้นจึงไม่ควรนั่งทำงานในท่าหนึ่งท่าใดนาน ๆ และควรหากิจกรรมที่ได้เคลื่อนไหวร่างกาย เช่น การเดินขึ้นบันไดแทนการใช้ลิฟต์ การออกไปเดินผ่อนคลาย การใช้จักรยาน หรือเดินแทนการใช้รถยนต์ หรือการยืดเหยียดร่างกายด้วยการยกน้ำหนักสิ่งของ เช่น ขวดน้ำ 1 ลิตรประมาณ 8 - 10 ครั้ง เป็นจำนวน 2 รอบ เป็นต้น กิจกรรมเหล่านี้เป็นการออกกำลังกายประเภทเคลื่อนไหวร่างกาย ซึ่งเป็นกายบริหารแบบเบาๆ สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยและกล้ามเนื้อตึงตัวได้ในเบื้องต้น แต่เพื่อสุขภาพที่ดีควรออกกำลังกายแบบแอโรบิคและการออกกำลังที่ใช้แรงอย่าง ต่อเนื่องอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-5 วัน ๆ ละอย่างน้อย 30 นาที เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของระบบไหลเวียน รวมถึงเสริมสร้างความยืดหยุ่นและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ  โดยเลือกออกกำลังกายที่ตนเองชอบ และเหมาะสมกับร่างกาย หรือเคลื่อนไหวออกแรงในชีวิตประจำวัน เช่น ทำงานบ้าน โดยให้มีการเคลื่อนไหวสะสมการออกแรงอย่างน้อย 30 นาทีต่อหนึ่งวัน  ซึ่งการออกกำลังกายวันละอย่างน้อย          30 นาที  มีขั้นตอนดังนี้

ขั้นที่ 1    ขั้นการอบอุ่นร่างกาย  คือ  เริ่มต้นด้วยการบริหารร่างกายเป็นเวลา  5  นาที

ขั้นที่ 2        ขั้นออกกำลังกาย  คือ  ออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมที่ตนเองชอบและเหมาะสมกับร่างกาย  เพื่อให้ร่างกายได้มีการเคลื่อนไหวเป็นเวลา  15-20  นาที

ขั้นที่ 3        ขั้นการผ่อนคลาย  คือ  จบการออกกำลังกายด้วยการวิ่งอยู่กับที่ช้าๆ  หรือเดินช้าๆ หรือกิจกรรมอบอุ่นร่างกาย

ความจริงของการออกกำลังกายในวัยทำงาน




ทัศนคติของคนในวัยทำงานที่มีต่อการออกกำลังกาย  คือ  “ไม่ค่อยมีเวลา งานกองพะเนิน จะเอาเวลาที่ไหนมาออกกำลังกาย”  คำตอบเหล่านี้มักเป็นคำตอบที่ได้จากกลุ่มคนที่ขยันทำงานทั้งหลาย  หรือกลุ่มคนที่ไม่ชอบการออกกำลังกาย  ซึ่งท่านทั้งหลายที่ปฏิเสธการออกกำลังกายเหล่านี้  หารู้ไม่ว่าสภาพร่างกายของท่านกำลังเสี่ยงต่อความทรุดโทรมและโรคภัยเบียด เบียนที่มาจากปัจจัยหลายด้าน  เช่น  อายุที่เพิ่มมากขึ้น  โภชนาการที่ไม่เหมาะสม  สภาพแวดล้อมที่เป็นพิษ ฯลฯ

ในความจริง  วัตถุประสงค์ของการออกกำลังกายในคนวัยทำงาน  คือ  มุ่งหวังให้ร่างกายแข็งแรงป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ มีควากระฉับ      กระเฉงพร้อมที่จะปฏิบัติงาน และเนื่องจากในวัยนี้เป็นวัยที่มีภาระความรับผิดชอบหลายด้าน  จึงเป็นเหตุให้ได้รับผลดีจากการออกกำลังกายได้ไม่เต็มที่  ดังนั้นการเลือกประเภทของกีฬาให้เหมาะสมกับเวลาจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง เพราะคนในวัยนี้จำเป็นต้องใช้วิธีการออกกำลังกายแบบสะสมต่อเนื่องอย่างน้อย  30  นาที  เพื่อให้เกิด  การเผาผลาญพลังงานที่เหมาะสมตลอดเวลาในการออกกำลังกาย ซึ่งมีการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับคนในวัยนี้มากมาย  เช่น  เต้นแอโรบิค  วิ่งจ๊อกกิ้ง  เดินเร็ว  ว่ายน้ำ  ทั้งนี้การออกกำลังกาย หรือการเล่นกีฬาแต่ละประเภท  มีอัตราการใช้พลังงาน หรือ           การเผาผลาญแคลอรี่แตกต่างกัน  ดังแสดงในตาราง

การออกกำลังกายในวัยทำงาน

 

ตาราง  1  แสดงค่าเฉลี่ยการเผาผลาญแคลอรี่ในการออกกำลังกายประเภทต่างๆ 1 ชั่วโมงต่อ 1 คน

 

 

ทั้งนี้ข้อควรระวังของการออกกำลังกายของคนในวัยนี้  คือ  1)  ควรทำอย่างสม่ำเสมออย่างน้อย              3-5 วันต่อสัปดาห์  วันละอย่างน้อย  30 นาที  2)  ทุกๆ วัน แม้ไม่ได้ออกกำลังกาย  ควรมีการยืดหรือเหยียดกล้ามเนื้ออย่างน้อย  10-15 นาที  3)  การออกกำลังกายไม่ควรหักโหมเกินไป   4)  ภายหลังการออกกำลังกาย ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่  และ

การออกกำลังกายในวัยทำงาน_

ตาราง 2  แสดงอัตราการเต้นของหัวใจเมื่อออกกำลังกาย

(ที่มา: National Institution of Health-America)

 

จากตาราง 2  เห็นได้ว่า  ในช่วงอายุที่แตกต่างกัน  จะมีอัตราการเต้นของหัวใจเมื่อออกกำลังกายที่แตกต่างกัน  ดังนั้นการออกกำลังกายที่ดีจึงควรคำนึงถึงเรื่องนี้ด้วย  เพื่อผลดีของสุขภาพ  และจากการศึกษาพบว่า มีผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพได้เสนอรูปแบบการออกกำลังกายสำหรับคนกลุ่มในวัยทำ งานที่มีเวลาไม่มาก  นั่นคือกายบริหารที่ให้ประโยชน์ในหลายด้านไปพร้อม ๆ กัน ทั้งการเพิ่มการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ ความแข็งแรงให้กับร่างกาย และมีอัตราการเต้นของหัวใจที่เหมาะสมเมื่อออกกำลังกาย รูปแบบกายบริหารดังกล่าว  เช่น โยคะ  รำมวยจีน  รำไม้พลอง  ฝึกพลังลมปราณ  ทั้งนี้ข้อพึงระวังสำหรับคนที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกายมาก่อนคือ ควรอบอุ่นร่างกายด้วยกายบริหารแบบเบาก่อน และจึงค่อย ๆ เพิ่มขึ้นทีละน้อย โดยทำอย่างต่อเนื่องในสัปดาห์แรกซึ่งอาจใช้เวลาเพียงประมาณ 5 นาที แล้วค่อยเพิ่มเป็น 10, 20 และ 30 นาทีในสัปดาห์ต่อ ๆ ไป




บทสรุป

การออกกำลังกายในวัยทำงานเพื่อสุขภาพที่เหมาะสม มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการป้องกันและรักษาโรคบางชนิด  เช่นโรคหัวใจและหลอดเลือด  การออกกำลังกายควรเริ่มต้นจากเบาระยะเวลาสั้นและค่อยๆเพิ่มขึ้นจนเต็มที่ ขึ้นอยู่กับสภาพโครงสร้างของร่างกาย อายุ  และเพศ  ตลอดจนมีโรคประจำตัวอะไรบ้าง  ซึ่งถ้าคนในวัยทำงานสามารถออกกำลังกายได้อย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยให้เพิ่ม ขีดความสามารถในการปฏิบัติงานให้มากขึ้น

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

วันอาทิตย์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

การวิ่งออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดี

การวิ่งออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดี


การวิ่งออกกำลังกาย

 

การออกกำลังกายที่ง่ายและประหยัดที่สุดคือการวิ่งออกกำลังกาย เพียงแค่คุณมีรองเท้า 1 คู่กับเวลาเท่านั้นเอง แต่การวิ่งออกกำลังกายอย่างไรให้ได้ประโยชน์สูงสุด การออกกำลังกายด้วยการวิ่งนั้นควรใส่เสน่ห์และความคิดสร้างสรรค์ลงไปในโปรแกรมการวิ่งด้วย เช่น เปลี่ยนสถานที่ในการวิ่งเป็นริมหาดชายทะเล เพื่อให้การวิ่งเป็นการออกกำลังกายที่เต็มที่และเต็มไปด้วยความสนุกสนานและเพลิดเพลินใจ การออกกำลังกายเป็นยาอายุวัฒนะขนานหนึ่งที่ไม่ต้องเสียเงินซื้อเพียงแต่มีเวลาและขยันก็เพียงพอแล้ว

ข้อแนะนำในการวิ่ง



- การออกกำลังกายโดยการวิ่งควรเริ่มต้นด้วยการเดินช้าๆ สัก 10 นาที  เพื่อเป็นการอบอุ่นร่างกายก่อน (warm up) และช่วยให้ร่างกายพร้อมสำหรับการวิ่ง
- หลังจากนั้นค่อยเริ่มเดินเร็วหรือวิ่งเหยาะๆ ไปเรื่อยๆ แล้วจึงเริ่มออกวิ่ง  เมื่อรู้สึกว่าเหนื่อยก็ให้สลับกับการเดิน
- สำหรับ ผู้ที่เริ่มวิ่งใหม่ๆ ไม่ควรกังวลเรื่องระยะทางที่วิ่งหรือระยะเวลา  จนกว่าร่างกายจะพร้อมจึงสามารถเพิ่มเวลาและระยะทางในการวิ่งขึ้นเรื่อยๆ  แต่ระยะทางที่วิ่งจะต้องเหมาะสม  โดยควรเพิ่มช้าๆ ในแต่ละสัปดาห์
- ระยะ เวลาในการวิ่งที่เหมาะสมของแต่ละคนนั้นก็ไม่เท่ากัน  แต่ที่สำคัญ  ควรวิ่งให้ถูกเวลา  ถ้ารับประทานอาหารมาไม่ถึง 1 ชั่วโมงก็ยังไม่ควรวิ่ง  เพราะอาจทำให้เกิดอาการจุกเสียด  แน่นท้อง  หรือท้องอืดท้องเฟ้อ
- เมื่อ ใกล้จะหยุดวิ่งทุกครั้ง  ควรค่อยๆ ลดความเร็วลงหรือเดินช้าๆ ต่ออีกสักพัก  เพื่อปรับสภาพร่างกายให้กลับเข้าสู่ปกติ  และช่วยลดอาการปวดกล้ามเนื้อหลังการวิ่งด้วย
- การวิ่งควรวิ่งอย่างสม่ำเสมอ  อย่างน้อยอาจจะวิ่งวันเว้นวัน  และวิ่งต่อเนื่องอย่างน้อยประมาณ 30 นาที
- ควรวิ่งโดยลงน้ำหนักที่ส้นเท้าก่อนแล้วตามด้วยฝ่าเท้า
- สิ่ง สำคัญสำหรับการวิ่งอีกอย่างหนึ่งก็คือ  การเลือกรองเท้าที่เหมาะสม  ควรเลือกรองเท้าสำหรับการวิ่งโดยเฉพาะ  หรือจะเลือกรองเท้าที่ใส่แล้วนุ่มสบายเท้า  กระชับพอดีเท้า  และมีพื้นหนาที่ช่วยลดแรงกระแทกอย่างเพียงพอก็ได้

เทคนิคการวิ่งอย่างถูกวิธีเพื่อรักษาสุขภาพ


ร่างกายของคนเรานั้นถูกออกแบบมาให้ต้องเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา แต่ปัจจุบันพวกเราเปลี่ยนแปลงวิธีการใช้ชีวิตไปมาก อุปกรณ์ต่างๆ ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับมนุษย์มากขึ้น อย่างจะเปลี่ยนช่องทีวีซักทีก็ต้องมีรีโมต ทำให้ไม่ต้องลุกขึ้นมาเดินเพื่อเคลื่อนไหวและออกแรง ทำให้โรคภัยไข้เจ็บตามมามากมาย

"การวิ่ง"  เป็นวิธีการออกกำลังกายแบบง่ายๆ แต่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากเลยทีเดียว สามารถป้องกันโรคหัวใจ สร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย เพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ ดังนั้น เรามาเรียนรู้วิธีการวิ่งอย่างถูกวิธีเพื่อให้การออกกำลังกายของเรานั้นได้รับประโยชน์สูงสุดกันดีกว่า ควรวิ่งโดยใช้แรงจากโคนขาไม่ควรลงด้วยปลายเท้า วิ่งให้ยาวๆ จนกว่ากล้ามเนื้อจะเมื่อยล้า กล้ามเนื้อจะใช้พลังจาก ไกลโคเจน เมื่อไกลโคเจนหมดกล้ามเนื้อจะเริ่มสะสมและเริ่มสร้างขึ้นมาใหม่ ซึ่งจะมีการสะสมที่มากกว่าเดิม ทำให้เราวิ่งได้ไกลขึ้น วิ่งเร็วๆ อย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง การวิ่งเร็วๆ จะทำให้ร่างการทำงานหนักจนรับออกซิเจนไม่เพียงพอ ทำให้ต้องไปใช้วิธีให้พลังงานแบบไม่ใช้ออกซิเจน ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้เล้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจขยายใหญ่ขึ้น ทำให้เป็นการป้องกันการเป็นโรคหัวใจไปในตัวตามวิถีธรรมชาติ เวลาวิ่งให้หายใจโดยใช้กระบังลม ทุกวันนี้ด้วยชีวิตที่เร่งรีบทำให้คนส่วนใหญ่หายใจแบบตื้นๆ และสั้นๆ ซึ่งไม่ใช่การหายใจที่ถูกต้อง ให้เปลี่ยนมาฝึกหายใจโดยใช้กระบังลม เพื่อให้การหายใจของเรานั้นลึกขึ้น และยาวขึ้น หรืออาจจะฝึกโดยการนอนหงายและนำหนังสือมาวางไว้บนหน้าท้อง สังเกตว่าถ้าหนังสือขยับขึ้นก่อนสูดลมหายใจเข้า และลดลงก่อนหายใจออกเป็นอันว่าใช้ได้

การออกกำลังกายนั้นไม่ว่าจะเป็นวิธีไหน ร่างกายเราก็ได้ประโยชน์ทั้งนั้นแหละครับ เพียงแค่เราเลือกออกำลังกายให้เหมาะสมกับเรา และออกกำลังกายเป็นประจำ ฝึกให้ตัวเองมีวินัยในการออกกำลังกาย ร่างกายเราก็จะแข็งแรง สุขภาพดี ป้องกันการเกิดโรคภัยต่างๆได้ครับ

วันเสาร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

เคล็ดลับง่ายๆ กับการออกกำลังกายลดหน้าท้อง

 เคล็ดลับง่ายๆ กับการออกกำลังกายลดหน้าท้อง


สำหรับสาวๆคนไหนที่อ้วนอยู่มีหน้าท้อง แต่อยากลดน้ำหนักและมีหน้าท้องแบนราบ สิ่งสำคัญที่สุด คือ คุณสาวๆ ต้องขยันออกกำลังกายเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ทุกคนรู้กันดีอยู่แล้ว แต่ก็ต้องยอมรับโดยทั่วกันว่า เป็นสิ่งที่สาวๆ หลายคนเบื่อ โดยเฉพาะกับการออกกำลังกายที่ซ้ำๆ จำเจ แถมยังเหนื่อยอีกต่างหาก บางคนก็ไม่มั่นใจว่า วิธีของตัวเองจะช่วยทำให้หน้าท้องแบนราบได้จริงหรือเปล่า วันนี้เราจะมาแนะนำวิธีออกกำลังกายที่ช่วยลดหน้าท้องให้คุณได้ โดยที่คุณจะไม่เหนื่อยมาก แถมยังสนุกและไม่น่าเบื่ออีกด้วยค่ะ จะมีอะไรบ้างนั้น เราไปดูกันเลยนะจ๊ะ

1. ระบำหน้าท้อง คุณสาวๆ ต้องสวมวิญญาณสาวอินเดียกันหน่อยแล้ว เพราะการเต้นระบำหน้าท้องเป็นการออกกำลังกล้ามเนื้อช่วงหน้าท้องได้ดี จึงช่วยกำจัดพุง ลดหน้าท้อง และยังช่วยให้คุณรู้สึกผ่อนคลายได้อีกด้วย นอกจากนี้การเต้นระบำหน้าท้อง ยังช่วยเสริมบุคลิกให้คุณดูเป็นสาวพราวเสน่ห์มากขึ้นด้วย

2. โพลแดนซ์  เป็นการเต้นที่ผสมยิมนาสติก หรือที่หลายๆ คนรู้จักกันว่าเป็นการออกกำลังกายด้วยการเต้นกับเสา ไม่ได้เป็นการเต้นรูดเสาตามผับตามบาร์อะไรนะคะ แต่เป็นการออกกำลังกายแนวใหม่ที่สาวๆ ทั่วโลกกำลังนิยม เพราะสามารถช่วยสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อและความยืดหยุ่นได้เป็น อย่างดี แถมยังช่วยให้คุณรู้สึกมั่นใจในรูปร่างของตัวเองมากขึ้นด้วย แต่ถ้าใครคิดว่ายากหรือว่าไม่เหมาะกับตัวเอง คุณอาจจะลองเลือกเป็นการเต้นรำซัลซาที่เป็นการเต้นแบบละติน  หรือจะเลือกการเต้นแบบบอลรูมที่ง่ายกว่าก็ได้ค่ะ

3. ว่ายน้ำ หลายคนคงเคยได้ยินกันมาบ้างแล้วว่า การว่ายน้ำเป็นการออกกำลังกายที่มีประโยชน์ที่สุด เพราะช่วยบริหารกล้ามเนื้อทุกส่วนในร่างกาย รวมถึงกล้ามเนื้อหน้าท้องด้วยค่ะ และท่าที่เหมาะสำหรับสาวๆ ที่อยากมีหน้าท้องแบนราบ คือ ท่ากรรเชียง ซึ่งเป็นท่าที่ไม่ต้องใช้กำลังมาก แต่กลับเป็นท่าที่สามารถลดและกระชับหน้าท้องได้เป็นอย่างดีทีเดียวค่ะ

และเรายังมีวีดีโอสอนวิธีออกกำลังกายเพื่อลดหน้าท้อง ลดพุง ด้วยนะ



 

หากคุณสาวๆ ที่อยากจะจะมีรูปร่างที่เพรียวกระชับ สมสัดส่วน หน้าท้องแบนราบ เพื่อเอาใว้โชว์หุ่นสวยๆ ให้หนุ่มๆ ดู ต้องหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำนะจ๊ะ นอกจากจะสวยแล้วยังได้สุขภาพที่ดีเป็นของแถมด้วย

วันศุกร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

โรคมะเร็งตับอ่อน (Pancreatic cancer)

 โรคมะเร็งตับอ่อน (Pancreatic cancer)


โรคมะเร็งตับอ่อน (Pancreatic cancer) คือเนื้องอกร้ายซึ่งเกิดขึ้นจากเซลล์ของตับอ่อน ชนิดที่พบบ่อยที่สุดคืออะดีโนคาร์ซิโนมาซึ่งเจริญมาจากเซลล์ส่วนที่เป็นต่อมมีท่อ (ต่อม exocrine) ของตับอ่อน อีกส่วนหนึ่งเป็นมะเร็งที่เจริญมาจากเซลล์ไอสเล็ท และจัดเป็นเนื้องอกแบบนิวโรเอนโดไครน์ อาการของมะเร็งตับอ่อนขึ้นกับตำแหน่ง ขนาด และชนิดของเนื้องอก ซึ่งอาจทำให้มีอาการปวดท้อง หรือดีซ่านได้

ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า มะเร็งตับและมะเร็งตับอ่อนเป็นคนละชนิด คนมักเข้าใจผิดว่าเหมือนกัน แต่ไม่ใช่ ที่สำคัญอุบัติการณ์ก็ไม่เท่ากัน โดยมะเร็งตับอ่อนพบน้อยกว่ามะเร็งตับเป็นสิบเท่า โดยมะเร็งตับอ่อนพบประมาณ 1,300 รายต่อปี แต่มะเร็งตับพบถึง 13,000 รายต่อปี

โรคมะเร็งตับอ่อนเป็นสาเหตุการเสียชีวิตสูงเป็นอันดับที่สี่ของการเสียชีวิต จากมะเร็งทั่วโลก เป็นมะเร็งที่เมื่อนับรวมทุกระยะรวมกันแล้วถือว่ามีพยากรณ์โรคไม่ ดี มีอัตราการรอดชีวิตที่ 1 ปี 25% และที่ 5 ปี 6% สำหรับผู้ป่วยระยะไม่ลุกลาม อัตราการรอดชีวิตที่ 5 ปี อยู่ที่ 20% ในขณะที่ค่ามัธยฐานการรอดชีวิตของผู้ป่วยระยะลุกลามอวัยวะข้างเคียงและระยะ แพร่กระจาย (ซึ่งเป็นผู้ป่วยส่วนใหญ่คิดเป็น 80% ของผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อน) อยู่ที่ 10 และ 6 เดือน ตามลำดับ

มะเร็งตับอ่อนเกิดได้อย่างไร


โรคมะเร็งตับอ่อน (Pancreatic cancer) เป็นมะเร็งที่ยังหาสาเหตุแน่ชัดไม่ได้ แต่ก็มีหลายปัจจัยที่กระตุ้น ได้แก่

1. ในคนที่สูบบุหรี่จัด มีปัจจัยเสี่ยงต่อมะเร็งตับอ่อน
2. ในคนที่มีครอบครัวป่วยเป็นมะเร็งตับอ่อน มีโอกาสเป็นมะเร็งตับอ่อนได้สูง
3. ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน มีปัจจัยเสี่ยงสูง
4. โรคตับอ่อน อักเสบเรื้อรัง หรือกินอาหารไขมันสูงเป็นประจำ โดยเฉพาะไขมันจากสัตว์
5. เนื้องอกที่เกิดจากต่อมมีท่อและไร้ท่อ

มะเร็งตับอ่อนมักเกิดขึ้นกับผู้ชายมากกว่าผู้หญิงถึง 4เท่า และจะพบมากในกลุ่มผู้มีอายุตั้งแต่ 40-70ปี ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะไม่รู้ว่าตัวเองเป็นมะเร็งตับอ่อน และมักจะตรวจพบเมื่อมะเร็งลุกลามหรือรุนแรงมากแล้ว แต่อาการสังเกตเบื้องต้นมีดังนี้

- ดีซ่าน ตัวเหลืองตาเหลือง

- อาการปวดบริเวณส่วนบนของช่องท้องและร้าวไปหลัง ปวดท้องรวมกับปวดหลัง

- เบื่ออาหาร น้ำหนักลดอย่างไม่ทราบสาเหตุ

- อ่อนเพลียกว่าปกติ

- ผู้ป่วยบางคนอุจจาระลักษณะมีไขมันปนมาก

การตรวจและระยะของมะเร็ง


          การตรวจหามะเร็งตับอ่อนค่อนข้างยาก ซึ่งมักจะพบเมื่อมะเร็งเริ่มลุกลามมากแล้ว วิธีที่สามารถตรวจได้ดีที่สุดคือ การตัดชิ้นเนื้อไปตรวจหามะเร็ง แต่นั้นก็ต้องอยู่ในการพิจารณาของแพทย์และอาการที่เกิดขึ้น มะเร็งตับอ่อนแบ่งออกเป็น 4ระยะ

          - ระยะที่ 1ก้อนมะเร็งจำกัดอยู่เฉพาะในตับอ่อน

          - ระยะที่ 2ก้อนมะเร็งลุกลามออกนอกตับอ่อน หรือลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ติดกับตับอ่อน

          - ระยะที่ 3ก้อนมะเร็งลุกลามเข้าเส้นเลือดใหญ่ในส่วนของตับอ่อน

          - ระยะที่ 4โรคมะเร็งแพร่กระจายเข้ากระแสเลือด (มักแพร่กระจายเข้าตับ ปอด และกระดูก) หรือเข้าต่อมน้ำเหลืองในช่องท้อง นอกช่องท้องซึ่งอยู่ไกลจากตัวตับอ่อน

การรักษาโรคมะเร็งตับอ่อน


อย่างที่บอกไปก่อนหน้านี้ว่า ผู้ป่วยโดยส่วนใหญ่จะไม่รู้ว่าตัวเองเป็นมะเร็งตับอ่อนจนกว่าจะได้รับการ วินิจฉัยที่ชัดเจน และก็มักจะพบเมื่อลุกลามมากเกินกว่าจะป้องกันหรือรักษาให้หายได้ แต่สำหรับผู้ที่สามารถตรวจพบได้ไวก็สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัด วิธีรักษามะเร็งตับอ่อนแบ่งออกเป็น 2กลุ่ม คือ

          1. กลุ่มที่ผ่าตัด ใช้ ได้ในกรณีที่ตรวจพบในระยะแรกของโรค และแพทย์ลงความเห็นว่าสามารถผ่าตัดได้ ซึ่งนอกจากตัดตับอ่อนบางส่วนออก หรือตัดออกทิ้งทั้งหมดแล้ว อาจจะต้องตัดอวัยวะส่วนอื่นออกด้วย เพื่อป้องกันเชื้อที่อาจจะยังมีและลุมลาม เช่น ลำไส้เล็กส่วนต้น ท่อน้ำดี กระเพาะอาหารบางส่วน

          2. กลุ่มที่ผ่าตัดไม่ได้ ใช้ ในกรณีที่มะเร็งลุกลามมากแล้วซึ่งจะเป็นการรักษาและประคองอาการเท่านั้น เช่น การให้เคมีบำบัด และการฉายรังสีเพื่อยับยั้งการขยายตัวของมะเร็ง หรือการผ่าตัดเพื่อทำทางเบี่ยงน้ำดีเพื่อ ลดอาการดีซ่าน หรือทางเบี่ยงให้กระเพาะอาหารเพื่อลดการอุดตันของทางเดินอาหารยังเป็น วิธีการที่บรรเทาอาการผู้ป่วยได้ดีที่สุด

สำหรับคนดังของโลกที่เสียช้วิตด้วยโรคมะเร็งตับอ่อน นี้มี Steve Jobs ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท Apple และผู้ได้รับการขนานนามว่าเป็นอัจฉริยะแห่งโลกยุคใหม่ด้วยโรคมะเร็งตับอ่อน ทำให้คนทั้งโลกตกใจไม่น้อยเลยครับเพราะเราได้สูญเสียคนเก่ง ๆ ไปอีกคน และเมื่อมองย้อนกลับมาที่โรคซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของเขา ก็น่าตกใจไม่น้อยเช่นกัน เพราะในปัจจุบันมีผู้เสียชีวิตเพราะมะเร็งตับอ่อนมากขึ้นเรื่อย ๆ

และอีกคนดังที่ต้องพ่ายแพ้ให้กับมะเร็งตับอ่อนไปแล้ว อย่าง Patrick Swayze พระเอกจากหนังเรื่อง Ghost รวมถึง Randy Pausch อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ Carnegie Mellon University เจ้าของเรื่องราวในหนังสือชื่อดัง The Last Lecture ที่ทำให้หลายคนร้องไห้มาแล้ว วันนี้เรามาทำความรู้จักกับมะเร็งตับอ่อนกันค่ะว่าร้ายแรงอย่างไร

          โรคมะเร็งตับอ่อนเป็นโรคที่พบได้น้อยนะครับ แต่เมื่อพบแล้วก็มักจะรุนแรงมากและเสียชีวิตแทบทุกราย ปัจจุบันยังไม่มีวิธีตรวจคัดกรองที่มีประสิทธิภาพให้พบโรคมะเร็งตับอ่อน ตั้งแต่ระยะเริ่มเป็นโรค ซึ่งเราเองนี่ล่ะที่ต้องสำรวจอาการเริ่มแรกที่เกิดกับตัวเอง และเมื่อสงสัยว่าอยู่ในกลุ่มอาการดังกล่าวควรพบแพทย์เพื่อตรวจวินิฉัย จะได้ป้องกันและเตรียมตัวรักษากันได้ทันท่วงที

 

โรคมะเร็งเต้านมเป็นโรคร้ายแรงสำหรับผู้หญิง

โรคมะเร็งเต้านมเป็นโรคร้ายแรงสำหรับผู้หญิง


โรคมะเร็งเต้านมเป็นโรคร้ายแรงสำหรับผู้หญิงที่พบเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งปากมดลูกสำหรับผู้หญิงไทย ส่วนสาเหตุหลักของการเกิดโรคมะเร็งเต้านม มาจากพันธุกรรม แต่ปัจจุบันพบว่าผู้ที่ป่วยเป็น มะเร็งเต้านม จากพันธุกรรม มีเพียง 4-6% เท่านั้น ซึ่งสาเหตุที่แท้จริง ที่ทำให้เกิด โรคมะเร็งเต้านม ก็คล้ายกับสาเหตุที่ทำให้มะเร็งชนิดอื่น ๆ คือ เกิดจากการทำปฏิกิริยา Oxidation ของเซลล์ต่าง ๆ ทำให้เกิดอนุมูลอิสระ (Free Radicals) ขึ้น และเกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางพันธุกรรมขึ้นที่ DNA ของเซลล์ ทำให้เซลล์ในอวัยวะนั้น ๆ มีการทำงานที่ผิดปกติ ทำให้เกิดการแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว จนกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง เนื้อแดง รวมทั้งฮอร์โมนเพศหญิง

ปัจจัยเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดมะเร็งเต้านม


- ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม โดยพบบ่อยในหญิงที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป
- ผู้หญิงที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมมากกว่าคนปกติ รวมทั้ง ผู้ป่วยที่เคยเป็นมะเร็งเต้านม ก็มีอัตราเสี่ยงที่จะกลับมาเป็นใหม่สูงกว่าคนปกติด้วย
- ผู้หญิงที่มีบุตรหลังอายุ 30 ปี รวมทั้ง หญิงที่ไม่เคยมีบุตร จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมมากขึ้น
- การกลายพันธุ์ของยีน เช่น การเกิดการกลายพันธุ์ของยีน BRCA1 หรือ BRCA2 สามารถทำให้เกิดมะเร็งเต้านม และสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้
- ผู้หญิงที่มีเต้านมเต่งตึงกว่าอายุ เช่น หญิงที่มีอายุมากกว่า 45 ปี และมีความหนาแน่นของเต้านมมากกว่าร้อยละ 75 จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมมากกว่าคนปกติ
- ผู้หญิงที่มีประจำเดือนมาตั้งแต่อายุก่อน 12 ปี หรือ ประจำเดือนหมดช้าหลังอายุ 55 ปี จะมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมได้ง่ายกว่าคนปกติ
- ผู้ที่รับประทานฮอร์โมนเพศหญิง รวมทั้ง ผู้ที่ได้รับยาคุมกำเนิดเป็นเวลานาน อาจเกิดมะเร็งเต้านมมากยิ่งขึ้น
- การสูบบุหรี่ทำให้เพิ่มโอกาสในการเกิดเป็นมะเร็งเต้านมมากขึ้น

มะเร็งระยะเริ่มต้นนั้นมักจะไม่มีอาการเจ็บ แต่อาจจะตรวจพบความผิดปกติเกิดขึ้นที่เต้านม ซึ่งอาจจะเป็นอาการเริ่มต้นของโรคมะเร็งเต้านม ดังนี้


- มีก้อนที่เต้านม (ร้อยละ 15-20 ของก้อนที่คลำได้ บริเวณเต้านมเป็นมะเร็งเต้านม
- มีการเปลี่ยนแปลงขนาด และรูปร่างของเต้านม
- ผิวหนังเปลี่ยนแปลง เช่น รอยบุ๋ม ย่น หดตัว หนาผิดปกติ บางส่วนมีสะเก็ด
- หัวนมมีการหดตัว คัน หรือแดงผิดปกติ
- มีเลือดหรือน้ำออกจากหัวนม ( ร้อยละ 20 ของการมีเลือดออกจะเป็นมะเร็ง)
- เจ็บเต้านม ( มะเร็งเต้านมส่วนใหญ่ไม่เจ็บ นอกจากก้อนโตมากแล้ว )
- การบวมของรักแร้ เพราะต่อมน้ำเหลืองโต

การตรวจเต้านมตนเอง


การตรวจมะเร็งเพื่อหาการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้น พบว่าร้อยละ 80 ของเนื้องอกที่เต้านมผู้หญิงนั้นถูกตรวจพบครั้งแรกด้วยตนเอง การตรวจเต้านมด้วยตนเอง ควรทำทุกเดือนตั้งแต่วัยสาวถึงวัยสูงอายุ เวลาที่ดีที่สุดที่จะทำการตรวจ คือ หลังหมดระดูแล้ว 3-10 วัน เพราะเป็นช่วงที่เต้านมไม่คัดตึงทำให้ตรวจได้ง่ายสำหรับผู้หญิงที่หมดระดูหรือได้รับการตัดมดลูก จะเป็นการดีถ้าได้ทำการตรวจเต้านมตนเองทุกวันที่หนึ่งของทุกเดือน
วิธีการตรวจ 3 ท่า

ทุกท่าจะต้องบิดลำตัวไปทั้งทางซ้ายและขวาสังเกตรูปร่าง ลักษณะ ความผิดปกติของผิวหนังรอยบุ๋ม รอยนูนของเต้านมหรือสิ่งผิดปกติอื่นๆ ของเต้านมทั้ง 2 ข้าง โดยมีท่า ดังนี้


- ยืนหน้ากระจก
- ปล่อยแขนข้างลำตัวตามสบาย
- ยกแขนทั้ง 2 ข้างเหนือศีรษะ
- ท้าวเอว เกร็งอกเพื่อให้ผนังทรวงอกกระชับขึ้น
- โค้งตัวมาข้างหน้าใช้มือทั้ง 2 ข้างท้าวเอว
- นอนราบ
- นอนให้สบาย ตรวจเต้านมขวาให้สอดหมอนหรือม้วนผ้าใต้ไหล่ขวา
- ยกแขนขวาเหนือศีรษะเพื่อให้เต้านมด้านนั้นแผ่ราบซึ่งจะทำให้คลำง่ายขึ้น โดยเฉพาะส่วนบนด้านนอกมีเนื้อหนามากที่สุด และมีการเกิดมะเร็งบ่อยที่สุด
- ใช้กึ่งกลางตอนบนของนิ้วมือซ้าย ( นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนาง ) คลำทั่วเต้านมและรักแร้ ที่สำคัญคือห้ามบีบเนื้อเต้านม เพราะจะทำให้รู้สึกเหมือนเจอก้อนเนื้อซึ่งความจริงไม่ใช่ และทำวิธีเดียวกันนี้กับเต้า-  - ขณะอาบน้ำ
- สำหรับผู้หญิงที่มีเต้านมขนาดเล็กให้วางมือข้างเดียวกับเต้านมที่ต้องการตรวจบนศีรษะ แล้วใช้นิ้วมืออีกข้างคลำไปทิศทางเดียวกับที่ใช้ในท่านอน
- สำหรับผู้ที่มีเต้านมขนาดใหญ่ ให้ใช้นิ้วมือข้างนั้นประคอง และตรวจคลำเต้านมจากด้านล่าง ส่วนมืออีกข้างให้ตรวจคลำเต้านมด้านบน

ระยะของมะเร็งเต้านม


- ระยะ 0 เป็นระยะเริ่มต้นของเซลล์มะเร็ง ซึ่งยังไม่ลุกลามไปยังเนื้อเยื่อเต้านม
-ระยะ 1 ก้อนมะเร็งมีขนาดไม่เกิน 2 เซนติเมตร และยังไม่ลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลือง
- ระยะ 2 ก้อนมะเร็งมีขนาดระหว่าง 2-5 เซนติเมตร ซึ่งอาจจะลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้หรือไม่ก็ได้ หรือมีขนาดไม่เกิน 2 เซนติเมตร และลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้แล้ว แต่ยังไม่แพร่กระจายไปสู่อวัยวะอื่น
- ระยะ 3 ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่กว่า 5 เซนติเมตร และรุกรามเข้าต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้แล้ว แต่ยังไม่แพร่กระจายไปสู่อวัยวะอื่น
- ระยะ 4 มะเร็งแพร่กระจายไปสู่อวัยวะอื่น ๆ แล้ว

การดูแลเต้านม


อายุ 20 ปีขึ้นไป ควรเริ่มตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกเดือน
ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการตรวจคือ 3 ถึง 10 วัน นับจากประจำเดือนหมด ส่วนสตรีที่หมดประจำเดือนให้กำหนดวันที่จดจำง่ายและตรวจในวันเดียวกันของทุกเดือน
สำหรับผู้ที่มีประวัติในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านมควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ
หากพบสิ่งผิดปกติบริเวณเต้านม หรือรักแร้ ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันทีที่พบ ควรตรวจเต้านนมตนเอง หากท่านตรวจแล้วไม่มั่นใจ ให้ขอรับคำปรึกษาที่สถานีอนามัยใกล้บ้าน หรือศูนย์สุขภาพชุมชนใกล้บ้านท่าน

วันพุธที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

โรคมะเร็งปากมดลูกและการป้องกัน

โรคมะเร็งปากมดลูกและการป้องกัน


สำหรับโรคมะเร็งปากมดลูกนั้น เป็นมะเร็งที่เกิดที่ปากมดลูก เป็นมะเร็งที่พบบ่อย บทความนี้เกี่ยวกับโรค ปัจจัยเสี่ยง การป้องกัน การวินิจฉัยรวมทั้งการรักษามะเร็งในระยะเริ่มแรก

มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 2 ของมะเร็งในผู้หญิงไทย รองมาจากมะเร็งเต้านม ข้อมูลล่าสุดของสำนักงานวิจัยมะเร็งนานาชาติ องค์การอนามัยโลกระบุว่า ในแต่ละปีจะมีผู้หญิงไทยเป็นมะเร็งปากมดลูกประมาณ 10,000 คน หรือวันละ 27 คน และในแต่ละปีมีผู้หญิงไทยเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกประมาณ 5,200 คน หรือเฉลี่ยวันละ 14 คน ทั้ง ๆ ที่เป็นมะเร็งที่ป้องกันได้ ร้อยละ 80 ของมะเร็งปากมดลูกพบในผู้หญิงช่วงอายุ 30-60 ปี บางคนเป็นแม่ของลูกเล็กๆวัยน่ารักถึงช่วงวัยรุ่น บางคนเป็นลูก กำลังทำงาน สร้างครอบครัว ถ้าแม่ป่วยเป็นมะเร็งปากมดลูก สมาชิกที่เหลือในครอบครัวจะเดือดร้อนอย่างมาก
ทำไมมะเร็งปากมดลูกจึงป้องกันได้ไม่ยาก ?

มะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งที่แตกต่างจากมะเร็งของอวัยวะอื่น ๆ คือสามารถป้องกันได้จริง ๆ ด้วยเหตุผล 4 ประการคือ “รู้ตัวก่อการ – ใช้เวลานานก่อนเป็น – มีระยะก่อนมะเร็งนำมา – นานาวิธีป้องกัน”

ตัวก่อการหรือสาเหตุของมะเร็งปากมดลูก

          มะเร็งหลายชนิดยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน เช่น มะเร็งรังไข่ มะเร็งเต้านม มะเร็งเม็ดเลือดขาว ฯลฯ มะเร็งบางชนิดเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น มะเร็งตับ อาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี การติดเชื้อพยาธิ์ใบไม้ในตับจากการกินอาหารสุกๆดิบๆ การกินสารพิษอะฟล่าทอกซินจากเชื้อราดำในขนมปัง ถั่วลิสงฯลฯ และสารพิษอื่นๆในอาหาร เป็นต้น แต่มะเร็งปากมดลูก ทางการแพทย์พิสูจน์ทราบสาเหตุแน่นอนแล้วว่าเกิดจากการติดเชื้อไวรัสอย่าง เดียวโดดๆ ที่ชื่อ ฮิวแมนแพปพิลโลมาไวรัส( human papillomavirus) เรียกย่อ ๆ ว่า “HPV” เชื้อไวรัสนี้ติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ชายที่มีเชื้อไวรัสนี้ที่ อวัยวะเพศ ดังนั้นแนวทางการป้องกันไม่ให้ติดเชื้อไวรัสนี้จึงไม่น่าจะยาก คงไม่ถึงกับต้องงดการทำกิจกรรมทางเพศ แต่ถ้าจะมีหรือจำเป็นต้องมีก็ควรมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย เช่น มีคู่นอนคนเดียว หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์เมื่ออายุน้อย ใช้ถุงยางอนามัยคุมกำเนิด และชักชวนคู่นอนให้มีคู่นอนคนเดียวด้วย เป็นต้น

# มะเร็งปากมดลูกใช้เวลานานเท่าไรก่อนจะเป็น ?

ตั้งแต่เริ่มติดเชื้อ HPV จนกระทั่งเป็นมะเร็งปากมดลูกใช้เวลานาน 10-20 ปี ขึ้นกับศักยภาพในการก่อมะเร็ง หรือความดุร้ายของเชื้อ HPV และภูมิต้านทานของปากมดลูก มะเร็งหลายชนิดยังไม่ทราบว่าใช้ระยะเวลานานเท่าไรตั้งแต่ได้รับสารก่อมะเร็ง เข้าสู่ร่างกาย อาจจะใช้เวลานานหรือไม่นานหรือไม่ทราบเลยจริง ๆ การที่มะเร็งปากมดลูกใช้เวลาก่อโรคนาน10-20 ปี ทำให้มีเวลาเหลือเฟือที่จะป้องกันได้โดยการตรวจคัดกรองเป็นระยะ ๆ เพื่อให้ตรวจพบได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรกหรือระยะก่อตัว

แต่ที่อุบัติการณ์ของมะเร็งปากมดลูกยังคงสูงอยู่ทุกวันนี้ก็เป็นเพราะ ผู้หญิงที่มีความเสี่ยงส่วนใหญ่ไม่ได้มาตรวจคัดกรองกัน อัตราการครอบคลุมของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในประเทศไทยค่อนข้างต่ำไม่ ถึงร้อยละ 20 ประเทศที่มีอุบัติการณ์ของมะเร็งปากมดลูกต่ำจะมีอัตราการครอบคลุมอย่างน้อย ร้อยละ 80

ระยะก่อนมะเร็งปากมดลูกคืออะไร

นับว่าโชคดีอย่างหนึ่งที่มะเร็งปากมดลูกนอกจากจะใช้เวลานานถึง10-20 ปีกว่าจะเป็นมะเร็งแล้ว ยังมีความผิดปกติในระยะก่อนมะเร็งด้วยที่เรียกว่า “รอยโรคก่อนมะเร็ง” หรือ “รอยโรคก่อนระยะลุกลาม” ความผิดปกติในระยะนี้จะเป็นอยู่นาน 5-10 ปี กว่าจะกลายเป็นมะเร็งปากมดลูกระยะลุกลามเริ่มแรก การที่มะเร็งปากมดลูกใช้เวลานานก่อนเป็นและมีระยะก่อนมะเร็งนำมา ทำให้สามารถป้องกันได้โดยการตรวจคัดกรองเป็นระยะ ๆ ทุก 1-2 ปี หรือ ทุก 3-5 ปี ก็ได้(ถ้ามีความเสี่ยงต่ำ เช่น มีคู่นอนคนเดียว) การตรวจคัดกรองมีจุดประสงคเพื่อตรวจให้พบความผิดปกติตั้งแต่ระยะก่อนมะเร็ง เพื่อที่ จะได้ให้การรักษาก่อนที่จะกลายเป็นมะเร็ง เปรียบเสมือนเป็นการตัดตอนหรือตัดไฟแต่ต้นลม มะเร็งหลายชนิด เช่น มะเร็งตับ มะเร็งรังไข่ มะเร็งปอด ฯลฯ ยังไม่มีระยะก่อนมะเร็งให้ได้ตรวจคัดกรอง ถ้าตรวจพบก้อนเนื้องอกหรือมีอาการก็มักจะเป็นมะเร็งแล้ว

นานาวิธีป้องกันของมะเร็งปากมดลูกคืออะไร

มะเร็งปากมดลูกสามารถป้องกันได้หลากหลายวิธี โดยอาจแบ่งออกเป็น 2 ระดับคือ

1. ระดับปฐมภูมิหรือระดับตัดต้นตอ คือ การป้องกันไม่ให้ปากมดลูกติดเชื้อ HPV ซึ่งเป็นตัวก่อการต้นเหตุสำคัญของมะเร็งปากมดลูก การป้องกันในระดับนี้มีหลายวิธี เช่น การลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HPV โดยการมีคู่นอนเพียงคนเดียว และถ้าคู่นอนก็มีคู่นอนคนเดียวด้วยก็จะยิ่งช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ได้มากขึ้น การไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย และการใช้ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์ก็ช่วยลดความเสี่ยงนี้ด้วยเช่นกัน การฉีดวัคซีนเอชพีวี (HPV vaccine) เพื่อเสริมสร้างให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสนี้ ก็จัดว่าเป็นการป้องกันในระดับนี้เช่นกัน เพราะภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ จะออกจากกระแสเลือดเข้ามาในมูกและสารคัดหลั่งของปากมดลูกและช่องคลอดทำให้ เชื้อจะไม่สามารถเข้ามาติดเชื้อที่ปากมดลูกได้ แต่เนื่องจากวัคซีนที่มีใช้ในปัจจุบันสามารถป้องกันมะเร็งปากมดลูกเฉพาะที่ เกิดจาก เชื้อ HPVสายพันธุ์ 16 และ 18 เท่านั้น ทั้ง 2 สายพันธุ์เป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูกประมาณร้อยละ 70-75 ดังนั้นยังมีเชื้อ HPV อีกร้อยละ 25-30 ที่การฉีดวัคซีนยังไม่สามารถป้องกันได้ การฉีดวัคซีนควบคู่กับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอจะทำให้การ ป้องกันมะเร็งปากมดลูกมีประสิทธิภาพสูงมากยิ่งขึ้น

2. ระดับทุติยภูมิหรือระดับตรวจคัดกรอง คือ การตรวจคัดกรองเพื่อตรวจหาความผิดปกติที่ปากมดลูกเพื่อให้การรักษาก่อนที่จะ กลายเป็นมะเร็งปากมดลูก การป้องกันในระดับนี้มีหลายวิธีเช่นกัน เช่น

- การตรวจหาเชื้อไวรัส HPVที่ก่อปากมดลูก เป็นการตรวจหาตัวก่อการที่สำคัญของมะเร็งปากมดลูก โดยอาศัยหลักการว่า “ ถ้าไม่มีเชื้อ จะไม่เป็นมะเร็งปากมดลูก” ( no HPV, no cervical cancer) การตรวจยังค่าใช้จ่ายสูงอยู่ในปัจจุบัน แต่มีความแม่นยำสูงมาก ถ้าตรวจไม่พบเชื้อ HPV สามารถเว้นระยะห่างของการตรวจคัดกรองได้นานถึง 3-5 ปี เพราะการตรวจมีความแม่นยำในการบอกว่าไม่เป็นมะเร็งสูงถึงร้อยละ99-100 ถ้ามีความผิดปกติในระยะก่อนมะเร็งที่ปากมดลูก การตรวจมักจะให้ผลบวกเพราะการตรวจมีความแม่นยำในการตรวจหารอยโรคก่อนมะเร็ง สูงถึงร้อยละ95-100

- การตรวจเซลล์ของปากมดลูกที่เรียกว่า แพปสเมียร์(Pap smear) ในปัจจุบันการตรวจมีทั้งแบบมาตรฐาน (conventional Pap smear) ซึ่งจะใช้ไม้ป้ายเซลล์ตัวอย่างจากปากมดลูกลงบนแผ่นกระจกโดยตรง และแบบแผ่นบาง
(thin layer) ซึ่งจะเก็บเซลล์เยื่อบุปากมดลูกที่กวาดได้ทั้งหมดไว้ในขวดน้ำยารักษาสภาพ เซลล์ก่อนแล้วจึงดูดขึ้นมาย้อมบนแผ่นกระจกแบบหลังนี้ทำให้ความผิดพลาดและ ความคลาดเคลื่อนในการอ่านแปลผลลดลง ความแม่นยำในการตรวจคัดกรองสูงขึ้น

- การตรวจดูการเปลี่ยนแปลงของเยื่อบุผิวปากมดลูกด้วยน้ำส้มสายชูหรือ visual inspection with acetic acid ที่เรียกย่อๆว่า VIA ก็สามารถใช้ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกได้เช่นกัน การตรวจด้วยวิธีนี้มีข้อดีคือทราบผลทันที ถ้าตรวจพบความผิดปกติในระยะก่อนมะเร็งก็สามารถให้การรักษาโดยการจี้ด้วยความ เย็นได้ทันที

จะเห็นว่ามะเร็งปากมดลูกป้องกันได้ไม่ยาก ขอเพียงพยายามหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงหรือลดความเสี่ยงที่จะสัมผัสกับเชื้อ HPV ซึ่งทราบแล้วว่ามาจากการมีเพศสัมพันธ์ มะเร็งปากมดลูกจึงถือว่าเป็นมะเร็งที่เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ การมีเพศสัมพันธ์แบบปลอดภัย (safe sex) ดังที่กล่าวข้างต้นจะช่วยลดความเสี่ยงนี้ได้อย่างมาก การฉีดวัคซีนเอชพีวี จะช่วยป้องกันการติดเชื้อ HPV สายพันธุ์ 16 และ 18 ซึ่งเป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูกได้อีกประมาณร้อยละ 70-75 นอกจากนี้แล้วการมาพบแพทย์เพื่อรับการตรวจคัดกรองอย่างสม่ำเสมอก็ยังช่วย ป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้อีกขั้นหนึ่ง ไม่ว่ามะเร็งจะเกิดจากเชื้อ HPV สายพันธุ์ใดก็ตาม การตรวจคัดกรองอย่างสม่ำเสมอย่อมตรวจพบได้ก่อนที่จะเป็นมะเร็ง

 

เป้าหมายของการค้นหามะเร็งเริ่มแรกคือการค้นหาการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ ก่อนที่จะเกิดอาการของโรค การวินิจฉัยมะเร็งปากมดลูกแรกเริ่มโดยมากมาจากการตรวจปากมดลูกประจำปี ในการตรวจภายในแพทย์ จะตรวจ มดลูก ช่องคลอด ท่อรังไข่ รังไข่ หลังจากนั้นแพทย์จะใช้อุปกรณืถ่างช่องคลอดเพื่อทำ pap smear ช่วงที่เหมาะสมในการตรวจภายในคือ10-20 วันหลังประจำเดือนวันแรก และก่อนการตรวจ 2 วันไม่ควรสวนล้าง ยาฆ่า sperm หรือยาสอด ปัจจุบันการรายผลจะใช้ Low หรื High grade SIL มากกว่า class1-5 แต่อย่างไรก็ตามควรให้แพทย์อธิบายผลให้ฟังอย่างละเอียด ผู้หญิงวัยเจริญพันธ์ตั้งแต่อายุ 18 ปีขึ้นไปควรตรวจภายในประจำปี

อาการของมะเร็งปากมดลูก


มะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรกจะไม่มีอาการอะไร แต่เมื่อเป็นมะเร็งแล้วจะมีอาการเลือดออกหลังจากการตรวจภายใน หรือหลังร่วมเพศ หรือมีตกขาว

  • มีเลือดออกผิดปกติ เช่นเลือดออกหลังจากมีเพศสัมพันธุ์ มีเลือดออกหลังจากหมดประจำเดือนแล้ว เลือดออกเป็นระยระยะ ประจำเดือนมานานผิดปกติ เลือดออกหลังจากตรวจภายใน

  • มีอาการตกขาวซึ่งอาจจะมีเลือดปน

  • มีอาการเจ็บขณะร่วมเพศ


ใครบ้างที่เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปากมดลูก

คราวนี้เรามาดูสาเหตุที่ทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปากมดลูกกันบ้าง ซึ่งโดยทั่วไปแล้วพอสรุปได้ดังนี้

- การมีเพศสัมพันธ์เมื่ออายุน้อย
- การมีคู่นอนหลายคน
- การตั้งครรภ์ หรือมีลูกหลายคน
- มีประวัติโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยเฉพาะเชื้อไวรัสหูด (HPV)
- การรับประทานยาคุมกำเนิดเป็นเวลานานๆ
- การสูบบุหรี่
- สตรีที่เป็นกลุ่มผู้ใช้แรงงาน ที่อาจจะไม่รักษาความสะอาดมากนัก
- ภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ
- พันธุกรรม มีส่วนอยู่บ้าง
- การขาดสารอาหารบางชนิด

การวินิจฉัยมะเร็งปากมดลูก

จากการทำการตรวจปากมดลูก pap test ทำให้ทราบว่ามีเซลล์ผิดปกติที่ปากมดลูกแพทย์จะทำการตรวจ  Colposcopy โดยการส่องกล้องแล้วเอา iodine ป้ายบริเวณปากมดลูก เซลล์ปกติจะเป็นสีน้ำตาล ส่วนเซลล์ผิดปกติจะเป็นสีขาวหลังจากนั้นแพทย์จะเอาชิ้นเนื้อปากมดลูกไปตรวจซึ่งมีวิธีตรวจต่างๆตามแต่แพทย์จะเห็นสมควร

วันอังคารที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

รู้เท่าทันโรคมะเร็งกันดีกว่า

ในปัจจุบันนี้โรคที่คร่าชีวิตคนไทยเป็นอันดับหนึ่งคือ โรคมะเร็ง เนื่องจากในแต่ละปีจะมีคนที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งกว่า 1000,000 คน และในจำนวนนั้นกว่า 60,000 คน ที่ต้องเสียชีวิตลงไปด้วยโรคร้ายแรงชนิดนี้ คนเราทุกๆคนมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งทั้งนั้น เพราะปัจจุบันนี้สิ่งแวดล้อมมีพิษมาก ส่วนคนที่ประวัติในครอบครัวเป็น มะเร็งก็เพิ่มโอกาสเสี่ยงขึ้นไปอีก  ผู้ที่ชอบทานอาหารที่มีสารอนุมูลอิสระเยอะ เช่น ของร้อน ของทอด ของปิ้งย่างก็เพิ่มความเสี่ยงคูณเข้าไปอีก ทานผักที่ปนเปื้อนยาฆ่าแมลงก็คูณเพิ่มไปอีก  สำหรับคนที่ชอบทานปลาเพราะเป็นอาหารสุขภาพ แต่ปลาในปัจจุบันมีปรอทอยู่ทุกตัว ซึ่งความจริงแล้วเป็นไบโอเอ็กซ์ซีมูเลชั่น คือ โรงงานผลิตสารพิษเข้าสู่อากาศเมื่อฝนตกลงมาในดิน  แล้วดินชะล้างจากน้ำจืดแล้วลงไปสู่น้ำทะเล เพราะฉะนั้นตอนนี้ปลา 100% ที่มีสารปรอททุกตัวและมีมากน้อยต่างกัน ถ้าเป็นปลากินเนื้อ เช่น ปลากินปลาด้วยกัน ก็มีสารปรอทมากกว่าเนื่องจากภาวะ ไบโอเอ๊กซีมูเลท ที่สะสมเพิ่มขึ้น เรามาดูกันว่าโรคมะเร็งนี้มันเกิดขึ้นได้ยังไง

มะเร็ง หรือทางการแพทย์ว่า เนื้องอกร้าย เป็นกลุ่มโรคที่เกี่ยวข้องกับการเจริญของเซลล์ที่ผิดปกติ คือ เซลล์จะแบ่งตัวและเจริญอย่างควบคุมไม่ได้ ก่อเป็นเนื้องอกร้าย และรุกรานร่างกายส่วนข้างเคียง มะเร็งอาจแพร่กระจายไปยังร่างกายส่วนที่อยู่ห่างไกลได้ผ่านระบบน้ำเหลืองหรือกระแสเลือด ไม่ใช่ว่าเนื้องอกทุกชนิดจะเป็นมะเร็ง เพราะเนื้องอกไม่ร้ายไม่ลุกลามอวัยวะข้างเคียงและไม่กระจายไปทั่วร่างกาย มีมะเร็งที่ส่งผลต่อมนุษย์ที่ทราบแล้วกว่า 200 ชนิด

สาเหตุของมะเร็งนั้นมีหลากหลาย ซับซ้อนและเข้าใจเพียงบางส่วนเท่านั้น มีหลายปัจจัยที่ทราบแล้วว่าเพิ่มปัจจัยเสี่ยงมะเร็ง ได้แก่ การสูบบุหรี่ ปัจจัยด้านอาหาร การติดเชื้อบางอย่าง การสัมผัสรังสี การขาดกิจกรรมทางกาย โรคอ้วนและมลภาวะสิ่งแวดล้อม ปัจจัยเหล่านี้สามารถทำให้ยีนเสียหายโดยตรงหรืออาจประกอบกับความบกพร่องทางพันธุกรรมที่มีอยู่เดิมในเซลล์ก่อให้เกิดการกลายพันธุ์เป็นมะเร็งได้ มะเร็งราว 5–10% สามารถติดตามไปยังความบกพร่องทางพันธุกรรมแต่กำเนิดโดยตรง มะเร็งหลายชนิดสามารถป้องกันได้โดยการไม่สูบบุหรี่ ทานผัก ผลไม้และธัญพืชเต็มเมล็ด (whole grain) มากขึ้น ทานเนื้อและคาร์โบไฮเดรตขัดสี (refined) น้อยลง ควบคุมน้ำหนัก ออกกำลังกาย จำกัดการรับแสงอาทิตย์ และรับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อบางชนิด

มะเร็งสามารถตรวจพบได้หลายวิธี รวมทั้งการมีอาการและอาการแสดงบางอย่าง การตรวจคัดกรองโรค หรือการสร้างภาพทางการแพทย์ เมื่อตรวจพบว่ามีโอกาสเป็นมะเร็งแล้ว จะมีการวินิจฉัยโดยการตรวจตัวอย่างเนื้อเยื่อด้วยกล้องจุลทรรศน์ โดยปกติ มะเร็งรักษาด้วยเคมีบำบัด รังสีบำบัดและการผ่าตัด โอกาสการรอดชีวิตของโรคมีหลากหลายมากขึ้นอยู่กับชนิดและตำแหน่งของมะเร็งและ ขอบเขตของโรคเมื่อเริ่มต้นการรักษา มะเร็งสามารถเกิดในบุคคลทุกช่วงอายุ แต่ความเสี่ยงการกลายเป็นมะเร็งนั้นโดยปกติจะเพิ่มขึ้นตามอายุ ยกเว้นมะเร็งน้อยชนิดที่พบมากกว่าในเด็ก ในปี 2550 มะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของมนุษย์ 13% ทั่วโลก (7.9 ล้านคน) อัตรานี้เพิ่มสูงขึ้นเพราะมีผู้รอดชีวิตถึงวัยชรามากขึ้นและมีการเปลี่ยน แปลงวิถีชีวิตครั้งใหญ่ในประเทศกำลังพัฒนา

โรคมะเร็งมีชนิดไหนบ้าง


มะเร็งปากมดลูก
มะเร็งเต้านม
มะเร็งตับอ่อน มีแยกย่อยอีกคือ มะเร็งของเซลล์ตับ มะเร็งท่อน้ำดี มะเร็งเส้นเลือดในตับ และมะเร็งของเซลล์ตับอ่อน
มะเร็งปอด
มะเร็งช่องปาก เป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นได้ทั้งริมฝีปาก ลิ้น กระพุ้งแก้ม เหงือก พื้นปากและเพดานแข็ง
มะเร็งโพลงหลังจมูก
มะเร็งกล่องเสียง
มะเร็งต่อมทัยรอยด์
มะเร็งถุงน้ำดีและท่อน้ำดี
มะเร็งตับอ่อน
มะเร็งลำไส้และทวารหนัก
มะเร็งรังไข่
มะเร็งปากมดลูกและมะเร็งมดลูก
มะเร็งกระดูก
มะเร็งผิวหนัง
มะเร็งต่อมลูกหมาก
มะเร็งเม็ดเลือดขาว
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
มะเร็งและเนื้องอกในระบบประสาท
มะเร็งทางเดินปัสสาะและอวัยวะสืบพันธุ์ชาย

วิธีการป้องกันมะเร็งซึ่งเรารู้สาเหตุของมะเร็งเกิดจาก 2 สาเหตุ



1. ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม แต่ในสื่งแวดล้อมเหล่านั้นเป็นสิ่งที่ป้องกันได้ส่วนใหญ่ เช่น การติดเชื้อ ถ้าหากเราหลีกเลี่ยงการไปในที่ชุมชน ลดโอกาสเซลล์ในร่างกายโดนโจมตีด้วยภูมิต้านทาน คือ ปฏิบัติตัวให้ดี ตื่นเช้าออกกำลังกาย นอนหลับเพียงพอ บางรายนอนดึกตื่นมาเจ็บคอ เพราะเชื้อไวรัส แบคทีเรีย เชื้อราเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดมะเร็ง ทำให้เซลล์กลายพันธุ์ เพราะเชื้อเหล่านี้เมื่อภูมิตก เชื้อที่ซ่อนเร้นอยู่ในตัวคอยโจมตีแบบกองโจร  ภูมิต้านทานมองไม่เห็นผ่านไปแค่ไม่เกิน 15 ปีก็เป็นมะเร็ง


2. เรื่องของสารพิษ อาหารที่ทาน อากาศที่หายใจเข้าไป ถ้าเลือกได้ต้องเลือกในการป้องกันไม่ให้สารพิษเหล่านี้เข้าสู่ตัวเรา วิธีการปรุงอาหารก็ เช่นกัน อาหารที่ปรุงด้วยความร้อนทุกชนิดโดยเฉพาะความร้อนที่สูงขึ้นมากเท่าไหร่  เนื้อเยื่อของอาหารจะกลายและเปลี่ยนเป็นสิ่งที่ก่อมะเร็งได้ แม้กระทั่งของดีๆก็เช่นกัน เช่น หมู นำไปทอดมีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งมากที่สุด แต่ถ้านำไปนึ่งก็ลดความเสี่ยงลงมา นำไปตุ๋นข้ามคืนแต่ปรากฏว่าทอดแค่ 10 นาทีมีโอกาสสูงกว่าหมูตุ๋นทั้งคืนเพราะความร้อนต่ำไม่ก่อให้เกิดสารโพลิเมอร์


การรักษามะเร็งปัจจุบันนี้ ไม่ว่าจะวิธีผ่าตัดเคมี ฉายแสงให้ฮอร์โมนต่างๆเหล่านี้ยังไม่ได้ผลที่ดีเท่าไหร่ มะเร็งในระยะต้นเมื่อผ่าตัดแล้วมักจะได้ผล คือ ระยะ 1-2 หายขาดได้ แต่ถ้าเป็นระยะท้ายๆ รักษาไม่ได้ผลเลย
 

     ปัจจุบันนี้เคยทีการรักษาครั้งใหญ่ โดยให้คนที่เป็นมะเร็งทั่วสหรัฐอเมริกาและออสเตรียรวมกันแล้วทำวิจัยดูความ ต่างระหว่างรักษากับไม่รักษามีผลต่างกันอย่างไร ซึ่งผลที่ออกมาต่างกันเพียงแค่ 5% เท่านั้น คือ มีโอกาสรอดเพิ่มขึ้นเพียง 5 % เท่านั้น

 

     การรักษามะเร็งในยุคปัจจุบัน ต้องบูรณาการ ทำแต่วิธีเดียวไม่ได้ ต้องร่วมกับการประกอบหลายๆอย่าง การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตตัวเอง บางรายอาจใช้เป็นการเปลี่ยนอาหารใหม่ บางรายใช้สมุนไพร ซึ่งก็แล้วแต่เทคนิคต่างๆ โดยเฉพาะที่สถาบันในประเทศเยอรมันที่เน้นการรักษามะเร็งครบวงจรบูรณาการ คือ ไม่เอาเฉพาะปัจจุบัน 4 อย่าง ก็มีส่วนที่เพิ่มเข้ามาด้วย เช่น การใช้ความร้อน รักษาด้านจิตใจ การรักษาด้วยภูมิต้านทานวิทยาซึ่งเป็นแนวใหม่ ปัจจุบันเรื่องของภูมิต้านทานเป็นการรักษาของอนาคต  หาวิธีเสริมภูมิต้านทานและไปกำจัดเชื้อมะเร็งด้วยตัวเอง



การรักษามะเร็งมีอยู่ 4 อย่างคือ 





1.ผ่าตัด เรารู้ว่ามะเร็งคือสิ่งผิดปกติทางพันธุกรรมในเซลล์แล้วขยายมากขึ้นๆ ซึ่งเราเรียกกันว่า เนื้องอก แก้ไขโดยไปตัดเนื้องอกออก แต่สำหรับมะเร็งในระยะต้นเพื่อให้หาย เพราะยังไม่แพร่ไปยังบริเวณอื่นแต่อยู่เฉพาะที่



2.การฉายรังสี เมื่อยิงรังสีเข้าไปจะไปทำงายเซลล์ในจุดที่รังสีโฟกัส ส่วนใหญ่มักใช้ประกอบกับการผ่าตัด เพราะเมื่อผ่าตัดแล้วบางส่วนอาจจะยังไม่หมด ก็ใช้วิธีฉายรังสีฆ่าเซลล์เหล่านั้นซ้ำอีกครั้งหนึ่ง  ซึ่งขึ้นอยู่กับแพทย์ว่าควรฉายรังสีแบบใดและก็แล้วแต่เซลล์ในแต่ละจุด



3.การให้คีโม เคมีบำบัดฉีดและกินเข้าไปเพื่อฆ่าเซลล์ที่มีการแบ่งตัวเยอะๆ เซลล์ที่มีการเจริญเติบโตมาก แต่ผลข้างเคียง คือ เซลล์ปกติที่มีการเจริญเติบโต เช่น เส้นผมก็โดนจัดการไปด้วย มีอาการเบื่ออาหาร ทานข้าวไม่ได้ ใช้ในรายที่มะเร็งกระจายไปหลายที่ไม่ได้อยู่จุดเดียว



4.ฮอร์โมน มะเร็งที่อยู่ในที่ที่สร้างฮอร์โมนจะใช้ตัวฮอร์โมนเข้าไปกำกับมะเร็งอีกทางหนึ่ง แต่ไม่ว่าจะเป็นวิธีไหนก็ทรมานเหมือนกัน



 

ดังนั้นเราก็ควรระมัดระวังตัวเองเรื่องอาหารการกินไม่กินอาหารทอดด้วยน้ำมันซ้ำๆกันหลายครั้ง อาหารปิ้งย่างที่ใหม้เกรียม กินผักผลไม้ก็ควรล้างให้สะอาดแช่ด่างทับทิมสัก 15 นาที เพื่อล้างสารพิษที่ตกค้างอยู่กับผักผลไม้นั้นๆ

วันจันทร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

เทคนิคง่ายๆ 8 ข้อ เพื่อให้หน้าสวยใส

หน้าใส



เทคนิคง่ายๆ 8 ข้อ เพื่อให้หน้าสวยใส


ใครๆก็อยากหน้าสวย หน้าใส โดยเฉพาะคุณสาวๆ วันนี้มาลองทำตาม เทคนิคง่ายๆ 8 ข้อ เพื่อให้หน้าสวยใส เผื่อจะได้หน้าที่สวยใสโดยไม่ต้องกินกลูต้า ไม่ต้องกินยาให้เปลืองเงินกันนะจ๊ะ

1.ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ไม่รับประทานอาหารมัน อาหารทอด เพื่อป้องกันไขมันอุดตันทำให้เกิดสิวและโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด โรคอ้วน ควรเลือกรับประทานผักผลไม้ เพื่อให้ร่างกายของเราได้รับสารอาหารครบทุกหมู่

2.หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำและพักผ่อนให้เพียงพอ หลังจากการนั่งทำงานในออฟฟิตนานๆทำให้ร่างกายอ่อนล้า การออกกำลังกายช่วยให้ร่างกายกระชุ่มกระชวย น่าตาผิวพรรณเปล่งปลั่ง ควรออกอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้งต่อเนื่องครั้งละ 30 นาที รับรองว่าไม่ใช่แค่ผิวหน้าที่จะใสขึ้นแต่ร่างกายคุณจะแข็งแรงเพิ่มขึ้นด้วย อย่าลืมนอนให้ครบ 8 ชั่วโมงนะจ๊ะ

3.ควรล้างหน้าให้สะอาดและถูกวิธี เพื่อ ผิวสวยหน้าใส โดยเลือกโฟมล้างหน้าให้เหมาะกับผิวของตนเอง อย่างเช่น ถ้าเป็นคนผิวมัน ก็ควรเลือกใช้โฟมแบบออยล์คอนโทรล เป็นต้น และไม่ควรหน้าล้างเกินวันละ 2 ครั้ง เพราะจะทำให้ผิวหน้าขาดความชุ่มชื้นได้

4.หมั่นทาครีมบำรุงผิวทุกครั้งหลังล้างหน้า ไม่ จำเป็นต้องเป็นครีมราคาแพง เพื่อเป็นการทดแทนความชุ่มชื้นที่สูญเสียไปหลังล้างหน้า ในช่วงกลางวันควรเลือกครีมที่มีส่วนผสมสารกันแดด

5.อย่าขัดหน้าหรือสครับผิวหน้าบ่อยเกินไป แต่ ควรหาเวลาว่าง พอกหน้าและขัดหน้าสัปดาห์ละ1ครั้ง เพื่อเป็นการทำความสะอาดผิวหน้าที่ลึกซึ้งมากกว่าการล้างหน้าตามปกติ บำรุงผิวไปในตัว และช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น เพื่อผิวพรรณที่สวย หน้าใสเปล่งปลั่ง ดูสุขภาพดี

6.งดหรือลดดื่มเหล้าหรือสูบบุหรี่ เพราะจะทำให้ผิวพรรณและหน้าใสๆของเรานั้นขาดความสดใส และเกิดริ้วรอยหมองคล้ำได้ง่าย

7.หากคุณเป็นคนชอบแต่งหน้า ควร เช็ดทำความสะอาดเครื่องสำอางออกจากผิวหน้าทุกครั้งก่อนล้างหน้า และไม่ควรเข้านอนโดยที่ยังไม่ได้ล้างหน้า ที่สำคัญ ควรทำความสะอาดแปรงแต่งหน้าเป็นประจำ อาจจะสัปดาห์ละครั้งหรือเดือนละ 2 ครั้งก็ไม่ว่ากัน แต่อย่าใช้งานติดต่อกันนานเป็นปีโดยไม่ซักล้าง เพราะมันสะสมสิ่งสกปรกได้ดีเลยทีเดียว

8.พยายามอย่าเครียด คิดบวกอยู่เสมอ ยิ้มเข้าไว้ ทำใจให้สดชื่น มองโลกในแง่ดี จะช่วยลดความเครียดที่เป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดสิวได้ ดังนั้น หันมายิ้มกันเยอะๆ เพียงเท่านี้ก็ทำให้หน้าสวยใสขึ้นแล้วละ

วันเสาร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

เคล็ดลับการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ

การออกกำลังกาย

เคล็ดลับการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ


เคยสงสัยกันว่าทำไม ! คนเราต้องออกกำลังกายด้วย เมื่อก่อนผมก็นึกว่า ผมก็ทำงานแล้ว ได้เคลื่อนไหวร่างกายทั้งวัน เหงื่อก็ออก แต่พอไปหาหมอที่อนามัย หมอบอกว่าการที่คนเราทำงานนั้นไม่ใช่การออกำลังกายเพราะเราจะทำงานไม่ต่อเนื่อง เหนื่อยก็พัก เมื่อยก็หยุด ส่วนการออกำลังกายนั้นเราต้องเคลื่อนไหวร่างกายต่อเนื่องเป็นเวลาอย่างน้อย 45 นาที

อธิบายได้ดังนี้ 15 นาทีแรกของการออกกำลังกาย ร่างกายจะดึงพลังงานหลัก(น้ำตาลจากตับ)ไปใช้ ซึ่งเป็นพลังงานที่เตรียมไว้ใช้ในกิจกรรมปกติของร่างกาย เมื่อถึงนาทีที่ 15 – 30 นาที เมื่อร่างกายรู้แล้วว่า กิจกรรมนี้ใช้พลังงานมากกว่าที่เตรียมไว้ก็จะเริ่มไปดึงแป้งมาเปลี่ยนเป็น น้ำตาลเพื่อให้ได้พลังงาน 30 นาทีขึ้นไป ก็ยังไม่พออีก คราวนี้แหละจะเริ่มไปดึงพลังงานสำรอง ซึ่งเก็บไว้ในรูปของไขมันมาใช้

จึงอธิบายว่า ทำไมต้องออกกำลังกายไม่ต่ำกว่าครั้งละ 45 นาที เพราะถ้าต่ำกว่านี้ พลังงานสำรอง ยังไม่ได้ใช้อะไรเลยภายหลังหยุดออกกำลังกาย ร่างกายจะผลิตกรดชนิดนึงออกมา ทำให้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ (คนที่ออกกำลังกายบ่อย จะมีความต้านทานต่อกรดชนิดนี้ได้มาก จึงปวดเมื่อยน้อยกว่า) แต่กระบวนการผลิตที่ว่านี้ จะต้องใช้พลังงานค่อนข้างมาก ร่างกายจึงยังคงต้องการพลังงานต่อเนื่องต่อไปอีกอย่างน้อย 15 นาที ดังนั้นร่างกายก็ยังคงดึงไขมันมาใช้เป็นพลังงานต่อไป อธิบายว่า ทำไมหลังจากหยุดออกกำลังกาย เราถึงปวดเมื่อย อุณหภูมิร่างกายสูง เหงื่อออกต่อเนื่องต่อไปอีกประมาณ 15 นาที

แต่ทะว่า….

ใน 15 นาทีหลังหยุด หากมีการกินอาหารจำพวกแป้งหรือน้ำตาลลงไปแม้แต่นิดเดียว (ลูกอม 1 เม็ดก็มีผลทันที) ร่างกายจะตรวจพบว่า มีน้ำตาลในแหล่งพลังงานหลักแล้ว ร่างกายก็จะหยุดดึงเอาไขมันมาใช้และหันไปใช้น้ำตาลจากพลังงานหลักทันที ดังนั้น หลังออกกำลังกาย 15 นาที หากดื่มน้ำอัดลม น้ำหวาน ชาเขียว กินข้าว ขนมปัง  หรืออะไรก็ตามแต่ที่มีแป้งและน้ำตาล คุณกำลังสูญโอกาสที่จะลดไขมันในตัวไปอย่างน่าเสียดาย ไม่คุ้มค่าเหนื่อย

ขั้นตอนการออกกำลังกาย

ขั้นตอนที่ 1 การอุ่นร่างกาย( Warm up) ก่อนที่จะออกกำลังกาย ต้องการอบอุ่นร่างกายก่อเช่น ถ้าเราจะออกกำลังกายด้วยการวิ่ง ก็ไม่สมควรที่จะลงวิ่งทันที่ เมื่อไปถึงสนามควรจะอุ่นร่างกาย มีอุณหภูมิสูงขึ้นก่อน ช้าๆ เช่น การเคลื่อนไหวร่างการ สะบัดแข้ง สะบัดขา แกว่งแขน วิ่งเหยาะ อยู่กับที่ ช้าๆ ชั่วระยะเวลาหนึ่งก่อน แล้วจึงออกวิ่ง
ดังนั้น การอุ่นร่างกายก่อนออกกำลังกายจึงเป็นขั้นตอนแรกที่จะต้องกระทำ

ขั้นตอนที่ 2 เป็นขั้นตอนการออกกำลังอย่างจริงจัง การออกกำลังกายนั้นจะต้องเพียงพอ ทำให้ร่างกายเกิดการเผาไหม้อาหารในร่างกาย โดยใช้ออกซิเจนในอากาศ โดยการหายใจเข้าไปเพื่อทำให้เกิดพลังงาน จนถึงระดับหนึ่ง การที่จะออกกำลังกายได้ถึงระดับนี้ เป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ออกกำลังกายจะต้องเข้าใจให้ถูกต้อง

ขั้นตอนที่ 3 เป็นขั้นตอนการผ่อนให้เย็นลง คือ เมื่อได้ออกกำลังกายตามกำหนดที่เหมาะสม ตามขั้นตอนที่ 2 แล้วควรจะค่อยๆ ผ่อนการออกกำลังกายลงที่ละน้อย แทนการหยุดการออกกำลังกายโดยทันที ทังนี้เพื่อให้เลือดที่คั่งอยู่ตามกล้ามเนื้อ ได้มีโอกาสกับคืนสู่หัวใจ

บัญญัติ 10 ประการในการออกกำลังกาย

1. ออกกำลังกายเป็นประจำ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน
2. ออกกำลังกายครั้งละ 30 นาที
3 ออกกำลังกายแบบค่อยเป็นค่อยไปอย่าหักโหม
4. ควรอบอุ่นร่างกายก่อนออกกำลังกายและผ่อนกายก่อนเริ่มออกกำลังกาย
5. ออกกำลังกายให้เหมาะสมกับวัย
6. ออกกำลังกายที่ให้ความสนุกสนาน
7. แต่งกายให้เหมาะสมกับกับชนิดของการออกกำลังกาย
8. ออกกำลังกายในสถานที่ปลอดภัย
9. ควรออกกำลังกายหลากหลายชนิด
10. ผู้สูงอายุ หญิงมีครรภ์ ผู้มีโรคประจำตัว ต้องตรวจสุขภาพก่อนออกกำลังกาย

คำแนะนำในการดื่มกินต่อกิจกรรมออกกำลังกาย


ก่อนออกกำลัง 1 ชั่วโมง

ไม่ควรกินอาหาร เพราะจะทำให้ร่างกายสะสมพลังงานหลักไว้มากเกิน ทำให้ช่วงเวลาที่จะดึงไขมันมาใช้ยืดออกไปอีก

ก่อนออกกำลัง 15 นาที

ให้เริ่มดื่มน้ำเปล่า ทีละอึกไปเรื่อยๆ เพราะขณะออกกำลังร่างกายจะเสียน้ำไปเร็วมาก จึงควรดื่มเพื่อสะสมน้ำเอาไว้ล่วงหน้าก่อน

ขณะออกกำลัง

หมั่นดื่มน้ำทีละน้อยๆ บ่อยๆ เพื่อชดเชยน้ำที่เสียไป จากข้อมูลนักฟุตบอลต้องการน้ำขณะเล่นฟุตบอลถึง 2 ลิตรต่อคนทีเดียว ดังนั้นดื่มทีละน้อยๆ ให้มากที่สุดเป็นการดี

หลังออกกำลังกาย

นั่งพักเฉยๆ ดื่มน้ำเปล่าไปเรื่อยๆ จนกว่าเหงื่อจะแห้ง ค่อยอาบน้ำ (การอาบน้ำทันที ร่างกายจะถูกลดอุณหภูมิลงอย่างรวดเร็ว ทำให้การเผาผลาญพลังงานหยุดได้เหมือนกัน) และห้ามดื่มน้ำตาลหรือแป้งเด็ดขาด

บางคนบอกว่า ก่อนออกกำลังรู้สึกหิว ควรจะกินหรือไม่

ตอบ ไม่ต้องกิน เพราะถึงจะรู้สึกหิว แต่เมื่อร่างกายเริ่มกิจกรรมไปประมาณ 10 นาที จะถูกสั่งให้หยุดหิวทันที และจะสั่งให้หิวอีกครั้ง เมื่อร่างกายเริ่มหยุดกิจกรรม แต่ 15 นาทีแรกที่หยุด อย่าเพิ่งกินเด็ดขาด ให้ดื่มน้ำประทังไปก่อน… เป็นเคล็ดลับในการกินและดื่ม เพื่อให้ร่างกายเกิดผลต่อการออกกำลังกายได้อย่างเต็มที่

 

การออกกำลังกายเวลาไหนดีที่สุด



เคยสงสัยไหมว่าทำไมบางคนนออกกำลังกายตอนเช้า บางคนเลือกออกกำลังกายตอนเย็น แล้วทั้ง 2 ช่วงเวลานี้ต่างกันอย่างไร หรือผลของการออกกำลังกายต่างกันหรือไม่ วันนี้เรามีมาบอก แถมยังจะช่วยบอกอีกว่า เวลาไหนที่ออกกำลังกายแล้วเป็นผลดีต่อสุขภาพเราที่สุด

การออกกำลังกายตอนเช้า

การออกกำลังกายตอนเช้าจะทำให้ตับต้องทำงานหนักมาก เนื่องจากตอนที่เรานอนหลับ ตับจะทำหน้าที่เปลี่ยนสารอาหาร เช่น เปลี่ยนน้ำตาลเป็นไกลโคเจน หรือโปรตีน เป็นฟอสฟาเจน ดังนั้นเมื่อตื่นนอนในตอนเช้าเราจึงไม่มีพลังงานเหลืออยู่ในหลอดเลือด ถ้าไปออกกำลังกายหลังตื่นนอน ตับก็ต้องดึงสารอาหารที่เก็บไว้เมื่อคืนออกมาใช้ใหม่ ถ้าเป็นอย่างนี้ประจำทุกวัน ตับจะต้องทำงานหนักและไม่ได้พักเลย

ถ้าอยากจะออกกำลังกายตอนเช้า เราควรรับประทานอาหารก่อนล่วงหน้า 2 ชั่วโมง จึงจะไปออกกำลังกายได้ ซึ่งคงเป็นเรื่องยากที่จะทำได้ เช่น ถ้าต้องการออกกำลังกายตอน 6 โมงเช้า คุณก็ต้องตื่นมารับประทานอาหารตั้งแต่ตี 4

 

การออกกำลังกายตอนเย็น

ตลอดทั้งวันเราได้กินอาหารเช้า กลางวัน พอถึงตอนเย็น ร่างกายกฌ็จะมีพลังงานสะสมอยู่ในปริมาณที่มากพอที่จะสามารถออกกำลังกายได้ ทั้งหนักและเบา โดยที่เราไม่จำเป็นต้องกินอาหารอะไรล่วงหน้าก่อนเหมือนการออกกำลังกายตอน เช้า แต่การออกกำลังกายตอนเย็นมีเคล็ดลับอยู่ว่า หลังจากออกกำลังกายตอนเย็นเสร็จแล้ว ให้ดื่มน้ำอุณหภูมิห้อง โดยค่อยๆ ดื่มจนรู้สึกอิ่ม เมื่อ กลับถึงบ้านเราจะไม่รู้สึกหิวเท่าไหร่ ลดความอยากอาหาร เมื่อถึงเวลาเข้านอนจะเหลือสารอาหารน้อยที่สุด ตับไม่ต้องทำงานหนัก สารอาหารไม่มีไปเก็บตามที่ต่างๆ จึงไม่ทำให้อ้วน และเป็นวิธีลดไขมันได้ดี

Tips





      • การดื่มน้ำอุณหภูมิห้องทั้งระหว่างและหลังออกกำลังกายจะช่วยให้อุณหภูมิ ของร่างกายถูกปรับลงอย่างช้าๆ และสม่ำเสมอ แต่หากดื่มน้ำเย็นจะทำให้คุณหภูมิร่างกายปรับลดเร็วเกินไปในขณะที่ร่างกายทำ งานหนัก ร้อน และเสียเหงื่อมาก จึงมักทำให้ไม่สบายได้ และร่างกายก็จะทงานหนัก

      • หากกลัวว่าจะหมดแรงตอนออกกำลังกายตอนเย็น ก็ให้กินผลมไม้ได้นิดหน่อยล่วงหน้าซัก 30 นาที หรือ 1 ชั่วโมง

      • จากงานวิจัยในต่างประเทศพบว่าการออก กำลังกายตอนเช้าจะทำให้ภูมิต้านทานในร่างกายลดลง ส่วนการออกกำลังกายในตอนเย็น จะทำให้ภูมิต้านทานในร่างกายเพิ่มขึ้น






เราควรแบ่งเวลามาออกกำลังกายบ้าง อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้งๆละ 45 นาที เพื่อใครนะหรือ ก็เพื่อตัวเราเองไง ถ้าคุณไม่รักตัวเอง ไม่เคยดูแลแม้ตัวเอง แล้วคุณจะไปรักใคร เหมือนเพลงของทาทาไง  ถ้าเราร่างกายไม่แข็งแรง เราจะไปดูแลคนที่เรารักได้ยังไง  อย่าอ้างว่าไม่มีเวลา ก็เพราะว่าทุกคน ก็มีเวลา 24 ชม. เท่าๆกัน แล้วทำไมคนอื่น ทำได้ เราทำไม่ได้ อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับตัวเราแล้วละ  ไม่สวย ไม่หล่อ มีเงินทำให้สวย ให้หล่อได้ แต่ถ้าการมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงแล้วละก็ ถ้าคุณไม่ทำ คูณก็ไม่ได้มันมา เพราะว่าถึงคุณมีเงินคุณก็ซื้อสุขภาพที่แข็งแรงไม่ได้ ฝากทุกๆคนใว้ด้วยนะครับ

วันศุกร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

รู้ก่อนเป็นโรคกระเพาะอาหาร

โรคกระเพาะอาหาร

รู้ก่อนเป็นโรคกระเพาะอาหาร


วันนี้จะมาแนะนำเกี่ยวกับโรคกระเพาะอาหารกัน ที่ผมแนะนำตัวเองใว้ว่า ตัวผมนั้นมีโรคที่ได้มาฟรีๆ 3 โรคด้วยกันนั้น ผมลืมโรคกระเพาะอาหารไปเลยครับ เนื่องจากตอนนี้ผมหายแล้วก็เลยลืมมันไปเลย  ผมเป็นโรคกระเพาะอาหารนี้ ก็เพราะทำงานเข้ากะครับ มีกะเช้า กะบ่ายและกะดึก ทำให้กินอาหารไม่ตรงเวลา ก็ไปหาหมอที่คลีนิค หมอก็ให้ยามากินและบอกว่า การกินยาโรคกระเพาะอาหารนั้น ยาจะไปเคลือบแผลในกระเพาะอาหารของเรา จะทำให้เราหายจากอาการร้อนท้อง แสบท้อง สักระยะหนึ่ง แต่พอหมดฤทธิ์ยาแล้วก็จะกลับมามีอาการร้อนท้อง แสบท้องอีก ซึ่งก็จริงอย่างที่หมอแนะนำด้วยละ  เรามาดู 10 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโรคกระเพาะอาหารกัน

1. โรคกระเพาะอาหาร คืออะไร
พูดถึงโรคกระเพาะอาหาร บางคนนึกไปถึงการที่มีแผลในกระเพาะอาหาร แล้วก็เกิดอาการเจ็บปวดขึ้น ... นั่นเป็นส่วนหนึ่งเท่านั้น
คำว่าโรคกระเพาะ เป็นภาษารวมๆ หากจะเปรียบเทียบเป็นภาษาอังกฤษก็คงจะเขียนว่า Dyspepsia ซึ่งกินความอาการ จุก แน่น เสียด เจ็บ ปวดที่บริเวณลิ้นปี่หรือท้องส่วนบน ... ดังนั้นคำว่าโรคกระเพาะอาหารจึงเป็นคำบอกอาการ ซึ่งทั้งนี้โรคกระเพาะอาหารอาหารสามารถแบ่งได้เป็นกลุ่มที่มีแผล(แผลใหญ่ๆ แผลจุดเลือดออกเล็กๆหรือแม้กระทั่งมะเร็ง) และกลุ่มที่ไม่มีแผล
อีกอย่างหนึ่ง อาการโรคกระเพาะ อาจจะทำให้นึกถึงว่าเป็นโรคของกระเพาะอาหาร แต่ความจริงแล้ว อาการโรคกระเพาะ เกิดได้จากความผิดปกติของโรคตั้งแต่ทางเดินอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ถุงน้ำดี หรือแม้แต่ลำไส้ใหญ่

2. เมื่อการแพทย์เชื่อกันผิดๆมากว่า100ปี
หากเมื่อสัก30ปีก่อน มีแพทย์มาบอกคุณว่าจะรักษาโรคกระเพาะด้วยยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อแก้อักเสบ คุณคงเปลี่ยนไปรักษากับแพทย์คนอื่นแน่ๆ แต่เรื่องนี้ได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว
หลังจากเมื่อปีที่ผ่านมานี้มีแพทย์ชาวออสเตรเลียสองท่านได้รับรางวัลโนเบลใน สาขาสรีรศาสตร์หรือการแพทย์ก็คือ J. Robin Warren และ Barry J. Marshall ในฐานะที่เป็นผู้ค้นพบว่า โรคแผลในกระเพาะอาหารส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อ H. pyroli และได้หักล้างความเชื่อเดิมที่ว่าโรคกระเพาะทั้งหมดทั้งสิ้นนั้นเกิดมาจาก ความเครียดและการกินอาหารไม่ตรงเวลาซึ่งเชื่อกันมากว่า100ปี
หลังจากการประกาศความรู้ใหม่นี้ตั้งแต่เมื่อ10กว่าปีก่อน การรักษาโรคกระเพาะได้เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ไม่เคยมีมาก่อน ช่วงที่กระแสความรู้นี้ออกมาใหม่ๆ การรักษาโรคกระเพาะอาหารได้หันเหไปในทางการฆ่าเชื้อ H. Pylori ... และในที่สุด ปัจจุบันก็พบว่าโรคแผลในกระเพาะอาหารที่พบมีทั้งที่เกิดจากเชื้อและที่ไม่ ได้เกิดจากการติดเชื้อ

3. สาเหตุของโรคกระเพาะอาหาร
ช่วงที่มีข่าวเรื่องนี้ ผู้ป่วยบางคนถึงกับหลงคิดไปเลยว่าโรคกระเพาะทั้งหมดเกิดจากเชื้อโรค แต่ความจริงโรคกระเพาะและแผลในกระเพาะ ต่างมีสาเหตุได้หลายอย่าง สาเหตุต่างๆก็ได้แก่
- ยาบางชนิด ยาหลายชนิดมีส่วนที่ทำให้เกิดอาการปวดท้องโรคกระเพาะ แต่ที่พบบ่อยและเป็นปัญหาในบ้านเรามากที่สุด เห็นจะเป็นยากลุ่มแก้ปวดข้อปวดกล้ามเนื้อ และยาสเตียรอยด์ ซึ่งเป็นยาที่พบว่าใช้กันบ่อยและใช้กันผิดๆจนก่อโรคกระเพาะ
- บุหรี่ การสูบบุหรี่จะลดการสร้างสารป้องกันกระเพาะ และส่งเสริมการสร้างกรดในกระเพาะ จึงทำให้เกิดอาการของโรคกระเพาะและเมื่อเกิดแผลในกระเพาะก็จะหายได้ยาก
- เหล้า กาแฟ ชา เป็นกลุ่มเครื่องดื่มที่ส่งเสริมการสร้างกรดในกระเพาะ
- เชื้อโรค อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วก็คือ เชื้อH pylori
- โรคของอวัยวะใกล้เคียงของช่องท้อง เช่นโรคของตับ โรคของถุงน้ำดี(นิ่ว) ตับอ่อน พวกนี้อาการเริ่มแรกอาจจะเป็นอาการปวด และทำให้ผู้ป่วยเข้าใจผิดว่าเป็นโรคกระเพาะได้
- โรคการทำงานของกระเพาะและลำไส้ที่ผิดปกติ เป็นโรคที่เมื่อตรวจไปเสร็จแล้วไม่พบว่ามีแผลหรือลักษณะผิดปกติแต่อย่างใด แต่การทำงานของกระเพาะลำไส้ผิดปกติไปเองเช่นเคลื่อนไหวแรงหรือบีบตัวย้อนทาง จนก่ออาการปวด โรคในกลุ่มนี้ก็อย่างเช่นกลุ่ม IBS GERD
- มะเร็ง เจอไม่มาก แต่เป็นสิ่งที่แพทย์และผู้ป่วยต้องร่วมมือกันในค้นหาเพื่อจะได้รักษากัน อย่างถูกต้องและไม่หลงทางไปรักษาอาการปวดแต่อย่างเดียว
บางคนอาจจะเถียงว่า โรคในสามข้อล่างไม่ใช่โรคกระเพาะ แต่อย่าลืมนะครับว่าคนเราไปหาหมอ ไปหาด้วยอาการ ไม่ได้ไปหาด้วยชื่อโรค ดังนั้นก็ต้องคำนึงถึงโรคพวกนี้ไว้ด้วย

4. ส่องกล้อง จำเป็นหรือไม่ จะทำเมื่อไหร่ ถ้าไปเปิดตำราต่างประเทศ จะพบว่ามีการแนะนำให้ส่องกล้องผ่านทางปากเพื่อจะได้เห็นว่ากระเพาะและลำไส้ เป็นอย่างไร และดูว่ามีอะไรที่สงสัยมะเร็งหรือไม่ แต่นั่นก็ต่อเมื่อได้ทำการรักษาไปแล้วในช่วง1-2เดือน ในไทยยังนับว่าเป็นปัญหาอยู่ ทั้งที่ประเทศไทยต่างมียาแปลกใหม่ราคาแพงโอฬารตระการตา แต่การรักษายังมีแง่มุมอื่นนอกจากการใช้ยา นั่นคือ การหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นของตัวผู้ป่วยเอง ซึ่งการรักษาด้วยยาจะได้ผลน้อยมากหากผู้ป่วยเองไม่ได้หลีกเลี่ยงตัวกระตุ้น การส่องกล้องที่ดี จะทำเมื่อรักษาอย่างถูกต้องแล้วเป็นเวลา1-2เดือน(ถ้ามีแผล รักษาก็น่าจะหายแล้ว)แล้วยังมีอาการอยู่ การส่องกล้องจะเข้าไปดูได้ว่ามีแผลหรือไม่ ถ้ามีแผลก็สามารถตัดชิ้นเนื้อไปตรวจดูได้ว่าเป็นมะเร็งหรือไม่ หรือมีเชื้อหรือไม่ อย่างไรก็ดีก็อาจจะส่องกล้องก่อนได้ หากมีอาการที่บ่งชี้ว่าเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง

5. สัญญาณอันตราย
สัญญาณอันตรายดังต่อไปนี้ จะเป็นข้อมูลที่ทำให้แพทย์ส่งส่องกล้องดูกระเพาะอาหารโดยไม่รอการรักษาด้วยยากิน น้ำหนักลดผิดปกติ(มากกว่า10%ใน3เดือน) เบื่ออาหารมาก กลืนลำบาก ถ่ายอุจจาระดำหรือมีเลือดปน ลักษณะการถ่ายอุจจาระเปลี่ยนไปจากเดิม ซีดโลหิตจาง อาการรุนแรง มีประวัติโรคมะเร็งของทางเดินอาหารในครอบครัว อาการเหล่านี้จะทำให้ต้องระวังว่าอาจจะเป็นโรคมะเร็งได้

6. กินยาโรคกระเพาะอาหารโดยไม่ต้องส่องกล้องดีหรือไม่
ปัญหาการรักษาอย่างหนึ่งก็คือผู้ป่วยหลายคนไม่อยากส่องกล้อง และคิดว่าแค่กินยาไปเรื่อยๆก็น่าจะพอ ซึ่งนั่นไม่เพียงพอ เพราะอย่างที่บอกไปแล้วว่าสาเหตุของโรคกระเพาะยังมีโรคจากการติดเชื้อและ มะเร็ง ซึ่งหากรักษาด้วยยาลดกรดเพียงอย่างเดียวก็ไม่มีทางหาย
ข้อควรรู้คือ มะเร็งกระเพาะ กินยาลดกรดในกระเพาะ ก็หายปวดท้องได้....
ดังนั้นถ้าแพทย์บอกว่าควรส่องก็น่าจะไปส่องครับ

7. ประโยชน์ของการรักษาตามแนวทางการรักษา
ปกติแพทย์จะสั่งยาตามมาตรฐานการรักษาอยู่แล้ว หากแต่ว่าการรักษายังต้องการความร่วมมือในการหลีกเลี่ยงตัวกระตุ้นจากผู้ป่วย ถ้าผู้ป่วยกินเหล้า สูบบุหรี่ กินยาแก้ปวดเป็นประจำและไม่ยอมหยุดยา ก็จะเกิดปัญหาตามมา ก็คือ ถึงเอาไปส่องกล้องก็จะมีโอกาสเจอแผลในกระเพาะสูง จนทำให้แพทย์หลายคนในรพ.รัฐเบื่อที่จะต้องส่องกล้องกระเพาะอาหาร เพราะผู้ป่วยบางคน ไม่ยอมหยุดปัจจัยเสี่ยง แต่ก็ต้องการยาลดกรด นอกจากนี้บางคนยังมีความต้องการส่องกล้องหลายๆครั้ง กล่าวโทษผู้รักษา(ว่ารักษาไม่ดี) ต้องการยาเกินความจำเป็น ก่อความเครียดในทั้งผู้ป่วยและแพทย์ นอกจากนี้ยังมีผลทำให้เกิดความล่าช่าในการตรวจหามะเร็ง อย่างเช่นครั้งหนึ่งที่ผมเคยส่องกล้องกระเพาะอาหารในผู้ป่วยซึ่งไม่ยอมหยุด การสูบบุหรี่ดื่มเหล้าและใช้ยาแก้ปวด ส่องไปก็พบแผลขนาดครึ่งซม.เป็นสิบแผลกระจายกันตามตำแหน่งต่างๆ ครั้นจะตัดชิ้นเนื้อจากทุกแผล ก็ทำได้ยาก ทำได้เพียงแต่ชี้ให้ผู้ป่วยเห็นว่ามีแผลมากมาย น่าจะหยุดปัจจัยเสี่ยงได้แล้ว.... (ครั้งสุดท้ายที่พบผู้ป่วยรายนี้ ก็ยังเลิกตัวกระตุ้นเหล่านี้ไม่ได้และยังปวดท้อง)ในทางกลับกัน ผู้ป่วยที่ร่วมมือในการรักษาอย่างดี ยอมหยุดปัจจัยเสี่ยงทุกตัว เมื่อนำมาส่องกล้องพบแผลไม่มาก ตัดไปตรวจพบว่ามีการติดเชื้อH pylori จากนั้นได้รักษาด้วยยาปฏิชีวนะและยาลดกรด (สุดท้ายน่าจะหาย แต่ผมก็ไม่ได้เจอผู้ป่วยคนนี้อีกเลย)ดังนั้นประโยชน์หลักก็คือสามารถตรวจและรักษาได้อย่างดี หากรักษาตามแนวทางนอกจากนี้ยังมีประโยชน์รองก็คือ "ประหยัด"ยาเม็ดลดกรดranitidine หรือ cimetidine ราคาประมาณ 50สต.ต่อหนึ่งเม็ด... เมื่อรักษาแล้วไม่หาย แพทย์หลายคนจะปรับเปลี่ยนเป็นยาในกลุ่มPPI เช่นOmeprazole เม็ดละ12บาท (รพ.เอกชนปัจจุบัน ก็จะมียากลุ่มนี้อีกหลายๆตัว) ซึ่งเมื่อปรับเป็นกลุ่มนี้ก็มักปรับเปลี่ยนยาได้ยากผู้ป่วยหลายคนเมื่ออาการไม่ดีขึ้นก็ปรับการใช้ยาเอง จากวันละ1-2เม็ด เป็นกินวันละ4-5เม็ด เสียค่าใช้จ่าย(งบประมาณรพ.)ไปกับยาเดือนละหลายพันบาท และเสียค่าใช้จ่าย(เงินส่วนตัวผู้ป่วย)ไปกับเหล้าบุหรี่ เดือนนึงๆก็เป็นพันๆ ซึ่งก็เป็นเรื่องแปลกคือเสียเงินเพื่อทำร้ายตนเองแล้วก็เบียดเบียนเงินที่จะ ไปช่วยเหลือผู้อื่นไปในตนเอง

8. นิ่วในถุงน้ำดี กับโรคกระเพาะอาหาร
บางครั้งผู้ป่วยได้รับการตรวจพิเศษอย่างอื่นมาก่อนในอดีต แล้วได้พบว่ามีก้อนนิ่วในถุงน้ำดี ... บางครั้งผู้ป่วยก็สงสัยว่าทำไมปวดท้อง มีนิ่วแต่ทำไมไม่ทำอะไรกับนิ่ว ต้องบอกว่าหลายๆครั้งคนเรามีนิ่วในถุงน้ำดีโดยไม่มีอาการ ดังนั้นการรักษาจึงขึ้นอยู่กับว่าอาการปวดนี้เป็นปวดลักษณะที่เข้าได้กับ นิ่วหรือไม่ ,และได้หาสาเหตุอื่นๆที่เป็นไปได้หรือยังพบว่าบางคนการตัดถุงน้ำดีหรือนิ่วออกไปไม่ได้ทำให้หายปวดท้อง ร้ายไปกว่านั้น บางคนมีอาการปวดท้องที่เกิดจากการการย่อยไขมันที่ผิดปกติ เมื่อตัดถุงน้ำดีและนิ่วในนั้นไปแล้วปรากฏว่าแทนที่จะหายก็กลายเป็นปวดเสีย ยิ่งกว่าเดิม

9. อาหารของโรคกระเพาะอาหาร
ถึงแม้ว่าโรคแผลในกระเพาะจะมีเหตุจากเชื้อโรคได้ แต่ว่าโรคกระเพาะอาหารที่ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคก็ยังมีอีกมากโดยเฉพาะกลุ่มที่ไม่ มีแผล การดูแลแบบเดิมๆที่ทุกคนรู้จักกันดีก็ยังมีประโยชน์อยู่ได้แก่
- กินอาหารให้ตรงเวลา
- ไม่กินอาหารรสจัด(เค็ม เผ็ด เปรี้ยว) อาหารหมักดอง อาหารมันๆ
- ไม่กินของที่มีแก็สหรือก่อแก็ส เช่น น้ำอัดลม ผลิตภัณฑ์จากถั่ว(เต้าหู้ น้ำเต้าหู้ นมถั่วเหลือง)
- กินผักผลไม้เพื่อช่วยให้ระบบทางเดินอาหาร
อาหารที่ดี จะช่วยลดอาการของโรคกระเพาะอาหารได้

10. สมุนไพรสามารถรักษาโรคกระเพาะอาหารได้หรือไม่
เคยมีอยู่พักหนึ่งที่มีการพูดถึงเปล้าน้อยและสารเปลาโนทอลว่าสามารถ เอาไปผลิตเป็นยารักษาโรคกระเพาะอาหารได้ ช่วงนั้นจำได้ว่าในตลาดค้ายาลูกกลอนมีสมุนไพรที่อ้างสรรพคุณรักษาโรคกระเพาะอาหาร ที่อ้างว่าผลิตจากเปล้าน้อยออกมา....
ยาไทยๆหลายตัวรวมทั้งพืชผักในครัวหลายชนิดมีฤทธิ์สามารถลดอาการจุกเสียดแน่น เฟ้อได้ดีมาก หาได้ง่าย ราคาถูกและปลอดภัย ดังนั้นถ้าถามว่าสมุนไพรรักษาอาการโรคกระเพาะอาหารได้หรือไม่ ก็ต้องตอบว่า "ได้"
แต่สิ่งที่ต้องระวังไว้อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นก็คือพวกยาที่อ้างว่าเป็น สมุนไพรที่วางขายในท้องตลาด หลายๆตัวผสมสารกลุ่มสเตียรอยด์ ซึ่งทำให้ผู้ใช้รู้สึกว่ากินอาหารได้ดีขึ้น อาการเหมือนดีขึ้น แต่ที่จริงแล้วการใช้สเตียรอยด์เป็นประจำจะทำให้กระเพาะเสี่ยงต่อการเกิดแผล และทะลุได้ง่าย

สำหรับโรคกระเพาะอาหารอาการของผมยังแค่ขั้นต้นแค่ปวดท้อง แสบท้อง แบบที่เขาโฆษณายาแหละครับ  " หิวก็ปวดอิ่มก็ปวด " ใครไม่เป็นไม่รู้ละครับ มันออกอากรรำคาญนะ มันร้อนวูบวาบๆ ในท้อง  พาลให้เรางุดหงิดหัวใจ  ผมก็เลยปฎิบัติตัวเองใหม่ โดยการกินอาหารให้ตรงต่อเวลา หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด  พร้อมกับกินอาหารเสริมคือ น้ำมันรำข้าวจมูกข้าวไปด้วย ซึ่งปัจจุบันนี้ ตัวผมเองก็ไม่มีอาการของโรคกระเพาะอาหารอีกเลย