วันเสาร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

โรคมะเร็งกล่องเสียง



โรคมะเร็งกล่องเสียง


กล่องเสียง (larynx) เป็น อวัยวะเดี่ยว อยู่ด้านหน้าของลำคอ มีหน้าที่ในการออกเสียง ช่วยการหายใจ และช่วยการกลืนอาหาร ซึ่งอวัยวะที่อยู่ติดกับกล่องเสียงทางด้านหน้า คือ ต่อมไทรอยด์ และอวัยวะที่อยู่ติดกับกล่องเสียงทางด้านหลัง คือ หลอดอาหาร ดังนั้นเมื่อเป็นมะเร็งกล่องเสียง โรคจึงลุกลามเข้าอวัยวะทั้งสองได้ง่ายเนื้อเยื่อกล่องเสียงเอง ยังแบ่งออกเป็น 3 ตำแหน่ง


1. คือเนื้อเยื่อตำแหน่งอยู่เหนือสายเสียง ซึ่งมีทางเดินน้ำเหลืองมากมาย เมื่อเกิดโรคมะเร็ง โรคจึงแพร่เข้าต่อมน้ำเหลืองได้สูง


2. เนื้อเยื่อตำแหน่งสายเสียง เป็นส่วนซึ่งไม่ค่อยมีทางเดินน้ำเหลือง โรคจึงมักไม่ค่อยลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลือง


3. เนื้อ เยื่อตำแหน่งอยู่ใต้สายเสียงมะเร็ง โรคจะลุกลามเข้าท่อลม และเข้าต่อมน้ำเหลืองในช่องอกได้สูง ซึ่งเป็นส่วนติดต่อกับท่อลม และมีทางเดินน้ำเหลืองติดต่อกับส่วนช่องอก ดังนั้นเมื่อเกิดโรค


โรคมะเร็งกล่องเสียง (Laryngeal cancer) สามารถ เกิดได้กับเนื้อเยื่อกล่องเสียงในทุกตำแหน่ง โดยในคนไทยพบเกิดโรคกับเนื้อเยื่อตำแหน่งเหนือสายเสียงมากที่สุด รองลงไป คือ ในเนื้อเยื่อตำแหน่งสายเสียง และในเนื้อเยื่อตำแหน่งอยู่ใต้ต่อสายเสียง ตามลำดับ


มะเร็งกล่องเสียงจัดเป็นมะเร็งพบได้บ่อยชนิดหนึ่งของคนทั่วโลก (พบได้ประมาณ 2% ของมะเร็งทั้งหมด) รวมทั้งในชายไทย ถึงแม้ยังไม่ติดหนึ่งในสิบมะเร็งพบบ่อยก็ตาม


โรคมะเร็งกล่องเสียง เป็นโรคของผู้ใหญ่ มักพบสูงขึ้นในช่วงอายุ 60-70 ปี และพบในผู้ชายบ่อยกว่าในผู้หญิงประมาณ 4-5 เท่า ในสหรัฐอเมริกาพบโรคนี้ได้ ประมาณ 5 รายต่อประชากร 100,000 คน (รวมทั้งผู้หญิงและผู้ชาย) ต่อปี ส่วนในประเทศไทย ช่วง พ.ศ. 2544-2546 พบโรคนี้ในผู้หญิง 0.3 รายต่อประชากรหญิง 100,000 คน และในผู้ชาย 2.5 รายต่อประชากรชาย 100,000 คน





ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งกล่องเสียง


ปัจจุบัน ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอนของโรคมะเร็งกล่องเสียง แต่พบปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุด คือ การสูบบุหรี่ นอกจากนั้น ที่มีความสำคัญน้อยกว่า ได้แก่


- การดื่มสุรา/เครื่องดื่มแอลกอฮอล์


- การเป็นโรคกรดไหลย้อน หรือไหลกลับ


- อาจจากขาดสารอาหารบางชนิด เพราะพบได้สูงกว่า ในคนที่ขาดการกินผัก ผลไม้


- อาจได้รับฝุ่นละอองจากสารบางชนิดเรื้อรัง เช่น ฝุ่นไม้ หรือ ฝุ่นแร่ใยหิน (asbes tos)


- อาจจากติดเชื้อไวรัสชนิด เฮชพีวี (HPV, Human Papilloma Virus) ชนิดเดียวกับที่เป็นสาเหตุมะเร็งปากมดลูก แต่คนลสายพันธุ์ย่อย


อนึ่ง โรคมะเร็งทุกชนิด ไม่ใช่โรคติดต่อ รวมทั้งมะเร็งกล่องเสียง ไม่สามารถติดต่อได้จากทางใดๆทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นจากการหายใจ การคลุกคลี การสัมผัสสารคัดหลั่ง หรือ การสัมผัสเลือดผู้ป่วย เพียงแต่ โรคมะเร็งบางชนิดอาจถ่ายทอดได้จากทางพันธุกรรมของคนในครอบครัว


 


อาการของโรคมะเร็งกล่องเสียง


ไม่มีอาการเฉพาะของโรคมะเร็งกล่องเสียง แต่เป็นอาการเหมือนมีกล่องเสียงอักเสบจากสาเหตุทั่วไป ซึ่งอาการที่


บ่อยได้แก่


- เสียงแหบ


- เจ็บคอ


- ปวดหู


- ไอมีเสมหะ อาจมีเสมหะปนเลือด


- เมื่อ ก้อนเนื้อโตมาก จะอุดกั้นทางเดินหายใจ ทำให้หายใจไม่ออก หายใจติดขัด หายใจลำบากเมื่อโรคลุกลาม จะคลำได้ต่อมน้ำเหลืองลำคอโต ไม่เจ็บ อาจคลำได้เพียงข้างเดียว หรือ ทั้งสองข้างของลำคอ อาจมีเพียงต่อมเดียว หรือ หลายๆ ต่อมได้พร้อมกัน


 


ระยะของโรคมะเร็งกล่องเสียง


โรค มะเร็งกล่องเสียงแบ่งเป็น 4 ระยะเช่นเดียวกับโรคมะเร็งอื่นๆ ซึ่งในแต่ระยะยังแบ่ง ย่อยได้อีก เพื่อแพทย์โรคมะเร็งใช้เป็นข้อบ่งชี้ทางการรักษา และเพื่อการศึกษาต่างๆ ดังนั้นในที่นี้ จะกล่าวถึงเฉพาะ 4 ระยะหลักเท่านั้น


ระยะที่ 1ก้อน/แผลมะเร็ง ลุกลามอยู่เฉพาะในกล่องเสียงเพียงตำแหน่งเดียว


ระยะที่ 2ก้อนมะเร็งลุกลามเข้ากล่องเสียงตั้งแต่สองตำแหน่งขึ้นไป


ระยะที่ 3ก้อน/แผลมะเร็ง ลุกลามจนสายเสียงไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ และ/หรือ มีต่อมน้ำเหลืองลำคอขนาดเล็กไม่เกิน 3 ซม. เพียง 1 ต่อม


ระยะ ที่ 4ก้อน/แผลมะเร็ง ลุกลามเข้าผิวหนัง และ/หรือ ต่อมไทรอยด์ และ/หรือ หลอดอาหาร และ/หรือ มีต่อมน้ำเหลืองลำคอโตหลายต่อม และ/หรือ ต่อมน้ำเหลืองลำคอขนาดโตมากกว่า 6 ซม. และ/หรือ มีโรคแพร่กระจายเข้ากระแสโลหิตไปยังอวัยวะอื่นๆ ที่พบบ่อย คือ เข้าสู่ปอด


 


วิธีการรักษามะเร็งกล่องเสียง


                การรักษาหลักในโรคมะเร็งมีอยู่ 3 วิธีคือ


1. การผ่าตัด


2. การฉายรังสี


3. การให้ยาเคมีบำบัด


 


การผ่าตัด


Vocal cord stripping: เป็น การผ่าตัดเอาเฉพาะเยื่อบุผิวชั้นนอกของเส้นเสียงออก ใช้ในการรักษาโรคมะเร็งระยะแรกเท่านั้น ผู้ป่วยสามารถพูดได้ตามปกติหลังการผ่าตัด


การผ่าตัดโดยใช้เลเซอร์: อาจใช้ในการรักษาโรคมะเร็งระยะแรก


การตัดเส้นเสียง (Cordectomy): อาจผ่าตัดเส้นเสียงออกทั้งสองข้างซึ่งอาจทำให้เสียงแหบหลังการผ่าตัด


การผ่าตัดกล่องเสียงออกบางส่วน: ก้อนมะเร็งขนาดเล็กที่กล่องเสียงสามารถรักษาโดยการผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งร่วม กล่องเสียงออกเพียงบางส่วนได้ทำให้มีโอกาสที่จะพูดได้หลังการผ่าตัด


การผ่าตัดกล่องเสียงออกทั้งหมด: ใช้ในกรณีก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่หรือลุกลามอวัยวะข้างเคียง หลังการผ่าตัดต้องมีการเจาะคอเพื่อใส่ท่อช่วยหายใจร่วมด้วย และจะไม่สามารถพูดได้หลังการผ่าตัด ผลข้างเคียงหลังการผ่าตัดที่อาจ


พบคือ ภาวะเลือดออก การเกิดรูรั่ว การตีบตัน การสำลักอาหารเข้าสู่ปอด


การผ่าตัดคอหอย: มีทั้งการผ่าตัดออกเพียงบางส่วนหรือผ่าตัดออกทั้งหมดจะใช้ในการรักษามะเร็ง คอหอยส่วนล่าง ต้องผ่าตัดเอากล่องเสียงออกไปด้วย และมีการผ่าตัดตกแต่งเพิ่มเติมเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถกลืนได้หลังการผ่า ตัด


การผ่าตัดตกแต่ง: อาจใช้กล้ามเนื้อและผิดหนังบริเวรหน้าอกเพื่อตกแต่งแผลผ่าตัดที่ลำคอ นอกจากนี้ยังอาจใช้เนื้อเยื่อจากอวัยวะอื่นๆ เช่น ลำไส้ แขน


การผ่าตัดเนื้อเยื่อ และต่อมน้ำเหลืองที่คอ: เนื่องจากโรคมะเร็งมักมีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองที่คอ จึงต้องผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองออกไปด้วยการผ่าตัดมากน้อยเท่าใดขึ้นกับระยะของ โรค


การเจาะคอ: ถ้าก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่มาก หรือมีการอุดตันของท่อลมผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการเจาะคอแล้วใส่ท่อช่วยหายใจเพื่อช่วยระบบการหายใจ


การใส่สายให้อาหารทางหน้าท้อง: เพื่อให้ผู้ป่วยได้สารอาหารที่เพียงพอผู้ป่วยที่กลืนไม่ได้ควรเจาะผนังหน้า ท้องเพื่อใส่สายให้อาหาร และสามารถเอาสายออกได้ถ้าผู้ป่วยสามารถรับประทานอาหารเองทางปากได้




 


การฉายรังสี


เป็นการใช้รังสีที่มีพลังงานสูง เช่น รังสีเอ็กซ์ มาใช้ในการฆ่าเซลล์มะเร็ง


หรือทำให้ก้อนมะเร็งมีขนาดเล็กลง


การฉายรังสีจากภายนอก คือ ใช้เครื่องฉายรังสีฉายไปยังตัวมะเร็ง หรือใช้วัตถุที่อาบรังสีวางไว้ตรงก้อนมะเร็งเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง


การ ฉายรังสีจากภายนอกเป็นการรักษาหลักในมะเร็งกล่องเสียงและคอหอยส่วนล่าง ซึ่งอาจใช้รักษาแทนการผ่าตัดในก้อนมะเร็งขนาดเล็กหรือใช้ในผู้ป่วยที่ไม่ เหมาะสมในการผ่าตัด นิยมใช้การฉายรังสีร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัด ปกติจะให้การรักษา 5 วันต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 7 สัปดาห์


การ ฉายรังสีสามารถใช้ตามหลักการผ่าตัดเพื่อทำลายเซลล์มะเร็งที่อาจเหลืออยู่ นอกจากนี้รังสียังสามารถช่วยลดอาการของผู้ป่วยได้ เช่น อาการปวดเลือดออก กลืนลำบาก อาการปวดกระดูกจากการแพร่กระจาย


ปัจจุบัน เทคนิคการฉายรังสีและเครื่องฉายรังสีมีความก้าวหน้ามาก ทำให้การฉายรังสีบริเวณที่เป็นก้อนมะเร็งได้แม่นยำขึ้น และลดปริมาณรังสีต่ออวัยวะปกติข้างเคียง เช่น การฉายรังสีแบบปรับความเข้ม


ผลข้างเคียงจากการฉายรังสี


- เจ็บปากและคอ: ทำให้ทานอาหารลำบาก น้ำหนักลด อาการจะทุเลาลงหลังฉายรังสีครบ


- สีผิวหนังบริเวณที่ฉายรังสีเปลี่ยนไป


- ปากแห้ง อาจทำให้มีปัญหาฟันผุตามมาได้


- เสียงแหบ


- กลืนลำบาก


- รับรสชาติอาหารได้ลดลง


- หายใจลำบาก เนื่องจากกล่องเสียงที่บวมมากขึ้นหลังการฉายรังสี


- อ่อนเพลีย


ผล ข้างเคียงส่วนใหญ่จะหายไปหลังจากฉายรังสีครบ การฉายรังสีใกล้กับต่อมน้ำลายอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงระยะยาวได้ อาจทำให้เกิดน้ำลายแห่งถาวรได้ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดฟันผุตามมาได้ ดังนั้น ผู้ที่มีอาการปากแห้งหลังจากการฉายรังสี ควรได้รับการดูแลสุขภาพในช่องปากเป็นอย่างดี ปัจจุบันการฉายรังสีแบบปรับความเข้ม ช่วยให้ภาวะน้ำลายแห้งถาวรลดลง



การให้ยาเคมีบำบัด


อาจให้ยาผ่านทางเส้นเลือดดำหรือทางปากได้ ยาเคมีบำบัดจะกระจายไปทั่วร่างกายผ่านทางระบบไหลเวียนเลือด


ดัง นั้นการให้ยาเคมีบำบัดในโรคมะเร็งกล่องเสียงและคอหอยส่วนล่างยาจะกระจายไป ไกลกว่าบริเวณศีรษะและลำคอ ช่วยลดอาการที่เกิดจากก้อนมะเร็งขนาดที่ใหญ่เกินกว่าการฉายรังสีเพียงอย่าง เดียวจะควบคุมได้และช่วยลดการแพร่กระจายของมะเร็งผู้ป่วยโรคมะเร็งกล่อง เสียงและคอหอยส่วนล่างที่มีก้อนขนาดใหญ่


ปัจจุบัน อาจเลือกการรักษาเป็นการให้ยาเคมีบำบัดร่วมกับการฉายรังสีแทนการผ่าตัดได้ผล ข้างเคียงของยาเคมีบำบัด ขึ้นอยู่กับชนิดของยา จำนวน ระยะเวลาในการให้ยา โดยผลข้างเคียงที่พบได้บ่อย เช่น


- คลื่นไส้ อาเจียน


- เบื่ออาหาร


- ผมร่วง


- เม็ดเลือดขาวต่ำ ทำให้มีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย


- เลือดออก หรือฟกช้ำได้ง่ายเมื่อได้รับการกระทบกระแทก เนื่องจากเกร็ดเลือดต่ำ


- หายใจลำบาก


- อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย


อาการเหล่านี้จะทุเลาลงหลังให้ยาเคมีบำบัดครบแล้ว ถ้าอาการไม่ทุเลาลงควรรีบพบแพทย์




การให้ยาทำลายเซลล์มะเร็งแบบเจาะจง (Targeted therapy)


Targeted therapy เป็น การให้ยาที่ออกฤทธิ์ขัดขวางการทำงานของตัวรับสัญญาณ ส่งผลให้เซลล์มะเร็งไม่สามารถเจริญเติบโตได้ แต่จะไม่มีผลทำลายเม็ดเลือดหรือกดการทำงานของไขสันหลังเหมือนยาเคมีบำบัดและ สามารถใช้


รักษาร่วมกับการรักษาอื่นๆ ได้


ยา Cetuximab (Erbitux) เป็น ยาตัวแรกที่ได้รับการยอมรับมาใช้ในการรักษาโรคมะเร็งกล่องเสียงและคอหอยส่วน ล่าง การใช้ยาร่วมกับการฉายรังสีจะช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามมีชีวิตที่ยืน ยาวมากขึ้น ยาไม่มีผลทำให้คลื่นไส้อาเจียน


หรือ ทำให้เม็ดเลือดต่ำเหมือนการใช้ยาเคมีบำบัด ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อย คือผื่นคัน และที่อาจพบได้บ้าง คือ ผื่นแพ้จากการฉีดยาเข้าเส้นเลือดดำ



การใช้ยาเคมีบำบัดร่วมกับการฉายรังสี


เป็น การให้ยาเคมีบำบัดพร้อมการฉายรังสีในช่วงเวลาเดียวกัน ซึ่งจะสามารถทำให้ก้อนมะเร็งมีขนาดเล็กลงกว่าการให้การรักษาเพียงอย่างเดียว มีงานวิจัยศึกษาผลการรักษาโรคมะเร็งบริเวณหู คอ และจมูก พบว่าการรักษาวิธีนี้อาจช่วยให้สามารถผ่าตัดโดยรักษากล่องเสียงไว้ได้


 

อ้างอิง


http://haamor.com/th/%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87/#article101


http://www.chulacancer.net/newpage/information/Laryngeal%20and%20Hypopharyngeal/treatment.html


http://www.fudacancerthailand.com/index.php/2013-03-10-13-08-53

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น